Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2553
สิ่งที่หายไปในนโยบายต่างประเทศใหม่             
 


   
search resources

Political and Government
บารัค โอบามา




สหรัฐฯ ยึดมั่นในการเผยแผ่คุณค่าของประชาธิปไตยตลอดมา แต่พันธะที่อยู่คู่กับสหรัฐฯ มาตลอดประวัติศาสตร์นี้กำลังเลือนหายไปในยุคของ Obama

แม้ Obama จะยกเหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติมาสนับสนุนการใช้กำลังทหารในอัฟกานิสถาน แต่เขากลับไม่เอ่ยถึงแม้แต่คำเดียวถึงการที่อเมริกาเป็นชาติมหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลกที่เชื่อใน "ความถูกต้องคืออำนาจ" เป็นเหตุผลในการสนับสนุนการตัดสินใจเพิ่มทหารในอัฟกานิสถาน รวมถึงเหตุผลในด้านศีลธรรมที่ต้องปราบปรามกลุ่ม Taliban ซึ่งมีอุดมการณ์อันชั่วร้าย

การที่ Obama ละเว้นการอ้างเหตุผลด้านศีลธรรมไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หากแต่เป็นสิ่งที่สะท้อนทิศทางนโยบายต่างประเทศของเขา ตลอดปีที่ผ่านมาซึ่งนโยบายต่างประเทศใหม่ของ Obama เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้น รัฐบาลของเขาแทบไม่เคยเอ่ยอ้างถึงหลักการแห่งคุณค่าของประชาธิปไตยเลย ในระหว่างที่เร่งรีบเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ เพื่อกอบกู้ภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ ที่เสียหายไปในยุคของ Bush

ในช่วงปีแรกของการเป็นผู้นำสหรัฐฯ ของ Obama มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งในสาระและรูปแบบเกี่ยวกับนโยบาย แก้ปัญหาโลกร้อน การปิดคุก Guantanamo และการปฏิบัติต่อนักโทษ การเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ และการยกเลิกแผนการติดตั้งขีปนาวุธในยุโรปตะวันออก ทำให้สหรัฐฯ ได้รับการสนับสนุนและความนิยมกลับคืนมาในหมู่ชาติพันธมิตร และรัฐบาล Obama ยังประสบความสำเร็จในการฟื้นความเป็นหุ้นส่วนกับนานาชาติ เพื่อจับมือกันแก้ปัญหาที่ซับซ้อนต่างๆ ในโลก

แต่การที่สหรัฐฯ เพิ่มการฟังมากขึ้นและลดการพูดให้น้อยลง การหันมาอยู่กับความจริงมากขึ้น กำลังทำให้ใครๆ รู้สึกว่า สหรัฐฯ กำลังจะเลิกสนับสนุนการเผยแผ่คุณค่าของประชาธิปไตย ซึ่งอยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ตลอดมา

James Rubin อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ ในสมัยของอดีตประธานาธิบดี Bill Clinton ซึ่งมาจากพรรคเดโมแครตส์เช่นเดียวกับ Obama เห็นว่า การสนับสนุนคุณค่าของประชาธิปไตย ซึ่งอยู่คู่กับพรรคเดโมแครตส์มาตลอด ไม่ควรจะถูกละทิ้ง และรัฐบาล Obama ควรพยายามเดินสายกลางระหว่างหลักการกับการปฏิบัติ แม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่นับตั้งแต่ยุคประธานาธิบดี John F. Kennedy ที่เรียกร้องให้อเมริกาแบกรับภาระในการแสวงหาเสรีภาพเป็นต้นมา ประธานาธิบดีที่มาจากพรรคเดโมแครตส์ทั้งหมด นับตั้งแต่ Carter จนถึง Clinton ต่างก็พยายามที่จะทำเช่นนั้น

แม้กระทั่งอดีตประธานาธิบดี Bush ซึ่งไม่ได้มาจากพรรคเดโมแครตส์ก็ยังยกระดับคุณค่าของประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนให้สูงขึ้นไปอีกขั้น การสร้างประชาธิปไตยในตะวันออกกลางเป็นเหตุผลหนึ่งที่ Bush ยกขึ้นมาสนับสนุนการบุกยึดครองอิรัก ในการแถลงหลังสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 Bush ประกาศให้เสรีภาพและประชาธิปไตยเป็นหนึ่งในภารกิจหลักด้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การเผยแผ่ประชาธิปไตยด้วยการรุกรานของ Bush ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า เนื่องจากทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในอิรัก การพยายามส่งเสริมประชาธิปไตยของ Bush ยังสร้างความเสียหายมากขึ้นไปอีก เมื่อเขายืนกรานจะให้มีการเลือกตั้งในดินแดนปาเลสไตน์ แม้ว่าทั้งอิสราเอลและรัฐบาลปาเลสไตน์เองจะคัดค้าน ผลก็คือ กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ Hamas ซึ่งเป็นศัตรูทั้งกับอิสราเอลและรัฐบาลปาเลสไตน์ เป็นฝ่ายชนะเลือกตั้ง และกลายเป็นก้างชิ้นใหญ่อันใหม่ของกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง

การที่สหรัฐฯ ต้องสูญเสียทั้งเลือดเนื้อของทหารอเมริกัน งบประมาณ แม้กระทั่งเกียรติภูมิ ไปกับการบุกยึดครองอิรัก ทำให้เดโมแครตส์ไม่ได้มองเห็นการส่งเสริมเสรีภาพในต่างประเทศ ด้วยสายตาที่เหมือนเดิมอีกต่อไปและการส่งเสริมประชาธิปไตย กลายเป็นเหยื่อของมรดกอันขมขื่นที่รัฐบาลเดโมแครตส์ได้รับต่อมาจากรัฐบาล Bush สะท้อนให้เห็นได้จากการที่ Obama ไม่ยอมพบกับองค์ Dalia Lama และการที่สหรัฐฯ ไม่คว้าโอกาสที่จะพูดส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ในระหว่างที่ Obama เยือนจีนเมื่อไม่นานมานี้ และยังไม่กดดันให้จีนปล่อยตัวนักโทษการเมือง รัฐบาล Obama เลือกที่จะใช้นโยบายที่อยู่กับความเป็นจริงมากขึ้นในความสัมพันธ์กับจีน ด้วยให้ความสำคัญกับปัญหาเศรษฐกิจภายใน ประเทศกับปัญหาโลกร้อนมากกว่า

ส่วนในกรณีพม่า รัฐบาล Obama เปลี่ยนไปใช้การเจรจากับรัฐบาลทหารพม่า ทั้งยังมีทีท่าว่าจะประสบความสำเร็จด้วย ตรงข้ามกับนโยบายโดดเดี่ยวพม่าของรัฐบาล Bush ที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เช่นเดียวกับนโยบาย ส่งเสริมประชาธิปไตยในตะวัน ออกกลางของ Bush ที่ล้มไม่เป็นท่า ถ้าเช่นนั้น ทำไมถึงไม่ลองเพิ่มความสัมพันธ์กับประเทศอาหรับที่เดินสายกลางอย่างเช่นอียิปต์ โดยที่ไม่ต้องสนใจการปราบปราม ฝ่ายค้านอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในอียิปต์ หรือในกรณีซูดาน ในเมื่อการสังหารหมู่จำกัดวงอยู่ที่เมือง Darfur เท่านั้น ทำไมถึงไม่ลองทำงานร่วมกับรัฐบาลกลาง ซูดานดูเพื่อให้รัฐบาลซูดานช่วยปรับปรุง สถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนใน Darfur โดยไม่ต้องคำนึงถึง ว่าประธานาธิบดีซูดานเองกำลังถูกศาลโลกพิจารณาความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงคราม

แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะบิดเบี้ยวที่สุด คือปฏิกิริยาของรัฐบาล Obama ต่อการชุมนุมประท้วงของฝ่ายค้านในอิหร่าน ในเมื่อสามารถอ้างได้ว่าไม่ต้องการแทรกแซงกิจการภายในประเทศของอิหร่าน รัฐบาล Obama จึงไม่ต้องการเสี่ยงที่จะทำให้ปัญหานิวเคลียร์อิหร่านที่ยุ่งยากซับซ้อนอยู่แล้ว ต้องยุ่งยากมากขึ้นไปอีก เพราะปัญหานิวเคลียร์อิหร่านสำคัญต่อเสถียรภาพในอ่าวเปอร์เซีย มากกว่าปัญหาการเมืองภายในอิหร่าน และหลังจากที่รัฐบาล Bush ตราหน้าอิหร่านเป็นชาติหนึ่งในกลุ่มชาติ "อักษะแห่งความชั่วร้าย" หวังจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของอิหร่าน จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายเลยที่สหรัฐฯ ในยุครัฐบาล Obama จะยังคงส่งเสริมประชาธิปไตยในอิหร่านต่อไป ด้วยการแสดงว่ายืนอยู่ในฝ่ายเดียวกับฝ่ายค้านในอิหร่าน อย่างไรก็ตาม เพียงแค่การกล่าวว่า โลกกำลังจับตามองการปราบปรามผู้ประท้วงของอิหร่าน ในขณะที่ผู้ประท้วงชาวอิหร่านกำลังเสี่ยงชีวิตของตัวเองอยู่นั้น ยังไม่เพียงพอ

Rubin ชี้ว่า ปัญหาของรัฐบาล Obama ไม่ใช่การคิดคำนวณผลได้ผลเสียของนโยบายต่างประเทศที่สำคัญ แต่ปัญหาคือรัฐบาล Obama คิดคำนวณผลได้ผลเสียไปเสียหมดทุกเรื่อง ไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ บางครั้งการส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยก็สามารถทำให้ฐานะของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เข้มแข็งขึ้นได้ แต่ขณะนี้การถูกมองว่าเป็นผู้นำที่อยู่กับความเป็นจริง กลับกลายเป็นการเมืองที่ฉลาดในยุคสมัยนี้ Rubin ชี้ว่า นี่คือเรื่องเศร้าอย่างแท้จริง ที่เดโมแครตส์กำลังยอมให้ความล้มเหลวของ Bush ที่มาจากพรรครีพับลิกัน มาสร้างความมัวหมองให้แก่การส่งเสริมคุณค่าของประชาธิปไตย ซึ่งเคยเป็นยี่ห้อ ของเดโมแครตส์ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่นโยบายต่างประเทศ ของเดโมแครตส์มาตลอด

อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศชี้ว่า อำนาจของสหรัฐฯ และคุณค่าที่สหรัฐฯ ยึดถือ ไม่อาจ แยกออกจากกันได้ สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ยึดมั่นในหลักการในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ มากกว่าประเทศอื่นใดในโลก ทั้งหลักการแห่งสันติภาพ สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และการค้าเสรี ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ปัญหาการเหยียดผิวไปจนถึงปัญหาสันติภาพในตะวันออกกลาง แม้แต่สถาบันด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ อย่างธนาคารโลก IMF และองค์การการค้าโลก ก็ไม่อาจตั้งขึ้นได้ หากปราศจากการนำของสหรัฐฯ แท้จริงแล้ว อำนาจของสหรัฐฯ ที่มีอยู่ในโลก ล้วนแต่สะท้อนหลักการที่สหรัฐฯ ยึดถือ การปฏิเสธคุณค่าของหลักการเหล่านั้น จึงเท่ากับสหรัฐฯ กำลังทำให้ตัวเองอ่อนแอลง และกลับเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายตรงข้าม ที่จะมองสหรัฐฯ ไม่ต่างอะไรกับประเทศธรรมดาๆ ประเทศหนึ่งบนเวทีโลกเท่านั้น

Rubin แนะนำว่าสหรัฐฯ ต้องเริ่มแก้ไขวิถีทางดำเนินนโยบาย ต่างประเทศที่กำลังเป็นอยู่ โดยเริ่มที่อิหร่าน การเพียงแต่กล่าวสนับสนุนสิทธิในการชุมนุมของฝ่ายค้าน และประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอิหร่าน คงไม่ทำให้อิหร่านรู้สึกถึงขนาดว่า สหรัฐฯ กำลังพยายามโค่นล้มรัฐบาลอิหร่าน กุญแจในการดำเนินนโยบายอิหร่านคือ สหรัฐฯ ไม่ควรกดดันอิหร่านแต่เพียงชาติเดียว แต่ควรระดมการกดดันจากนานาชาติ เช่น เรียกร้องให้สหประชาชาติส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบสวนการละเมิดนักโทษการเมืองในอิหร่าน สหรัฐฯ ยังสามารถกดดันอิหร่านในด้านเทคโนโลยี โดยสกัดรัฐบาลอิหร่าน ไม่ให้ตามล่าฝ่ายต่อต้านบนอินเทอร์เน็ตได้ แต่ต้องระวังอย่าล้ำเส้น เหมือนที่เคยให้ CIA เข้าไปเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลอิหร่านเมื่อปี 1953 Rubin เชื่อว่า สหรัฐฯ ยังคงสามารถส่งเสริมประชาธิปไตยในอิหร่าน พร้อมๆ ไปกับยังคงเจรจาปัญหา นิวเคลียร์กับอิหร่านต่อไปได้

ในกรณีจีน รัฐบาล Obama ควรกดดันจีนเรื่องสิทธิมนุษยชนให้มากกว่านี้ โดยไม่ต้องกลัวว่า จีนจะเลิกซื้อพันธบัตรคลังของสหรัฐฯ เพียงเพราะสหรัฐฯ พูดส่งเสริมประชาธิปไตยหรือสิทธิมนุษยชนในจีน เพราะเหตุผลที่จีนซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน ไม่ใช่เพราะความชอบ หากแต่เป็นการลงทุน แต่การทำให้ฝ่ายต่อต้านจีนที่อยู่ในคุก ได้รู้ว่า พวกเขาไม่ได้ถูกลืม เป็นการส่งสารที่ทรงพลัง

มีหลายเหตุผลที่ทำให้เดโมแครตส์ประกาศว่า สงครามอัฟกานิสถานเป็น "สงครามที่ดี" ไม่เหมือนกับสงครามอิรัก สงครามอัฟกานิสถานได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลก เพราะ Taliban เกี่ยวข้องกับเหตุวินาศกรรม 9/11 อย่างชัดเจน และมีค่านิยมที่ทั่วโลกรู้สึกรังเกียจ อย่างการเห็นคนที่ไม่ใช่มุสลิมเป็นศัตรูทั้งหมด การเหยียดเพศและการสังหารผู้บริสุทธิ์ ภารกิจสกัดไม่ให้ Taliban ซึ่งฝึกชาวอัฟกานิสถานให้กลายเป็นผู้ก่อการร้าย และยอมให้ Osama bin Laden วางแผนก่อวินาศกรรม 9/11 ในสหรัฐฯ หวนคืนสู่อำนาจในอัฟกานิสถาน เป็นภารกิจที่ทั้งสหรัฐฯ และทหารอเมริกันควรภาคภูมิใจ

Rubin เห็นว่า สงครามอัฟกานิสถานมีความหมายมากกว่า เป็นเพียงภารกิจหนึ่งของสหรัฐฯ ในการสกัดไม่ให้ Al Qaeda หวนกลับมาใช้อัฟกานิสถานเป็นฐานฝึกผู้ก่อการร้าย แต่มีความหมายมากกว่านั้นในแง่ของศีลธรรม สหรัฐฯ มีหน้าที่ต้องปกป้องโลกจาก Al Qaeda รวมทั้งต้องปราบกลุ่มมุสลิมสุดโต่งที่ได้ทำลาย ผู้บริสุทธิ์ชาวอัฟกานิสถานและปากีสถาน และสามารถใช้คุณค่าด้านศีลธรรมนี้ระดมการสนับสนุนจากชาติพันธมิตรสำคัญใน NATO อย่างเช่นเยอรมนี ซึ่งอ่อนไหวกับการร้องขอด้านศีลธรรมได้ ทหารที่มาจากนานาชาติในอัฟกานิสถานตระหนักดีว่า หน้าที่ของพวกเขาคือ สกัดการหวนคืนสู่อำนาจของ Taliban แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยคุ้มกันเด็กนักเรียนหญิงตัวน้อยๆ ให้ไปโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย ภารกิจในอัฟกานิสถานมิใช่เพียงแค่การสร้างชาติ หากแต่เป็นการแบ่งปันคุณค่าแห่งเสรีภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจที่คนอเมริกันสามารถภาคภูมิใจได้

ไม่มีสูตรสำเร็จใดสำหรับการเดินสายกลางระหว่างหลักการกับการปฏิบัติในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ บางครั้งเราต้องคิดคำนวณผลได้ผลเสียตามที่เป็นจริง แต่บางครั้งเราก็ควรยึดมั่นในหลักการ โดยไม่คำนึงว่าต้องแลกมาด้วยการสูญเสียสิ่งใด

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค 14 ธันวาคม 2552   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us