Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2528
เดลฟายเทคนิคสำหรับนักบริหาร             
โดย ดนัย เทียนพุฒ
 


   
search resources

Research




แนวคิดพื้นฐานของเทคนิคเดลฟายนี้เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการด้วยกันคือ

ประการแรก สิ่งที่เป็นปกติสำหรับนักบริหารก็คือความจำเป็นจะต้องตัดสินใจในการวางแผนล่วงหน้าอยู่เสมอ ภายใต้ทรัพยากรอันจำกัด ให้ทำนายหรือคาดคะเนเกี่ยวกับตลาดสินค้าล่วงหน้า หรือวิธีการเพิ่มศักยภาพในการขาย หรือรับกลยุทธ์ของหน่วยงาน เป็นต้น ซึ่งในเรื่องเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคการวิจัยเข้ามาช่วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นใน 2 ลักษณะคือ การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งต้องอาศัยสถิติที่ยากและสูง เวลาที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่ยาวนาน ค่าใช้จ่ายที่สูง รวมทั้งความซับซ้อนอื่นๆ กับการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งอาศัยสารสนเทศที่ค่อนข้างจะเป็นอัตนัย (subjective information) ซึ่งในปัจจุบันมักจะนิยมใช้วิธีนี้โดยการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือนักบริหารที่มีประสบการณ์และเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ โดยตรงแต่ก็มีปัญหาว่าผู้เชี่ยวชาญหรือนักบริหารที่มีชื่อเสียงและบุคลิกภาพบางอย่างที่ทำให้กลุ่มไม่กล้าแสดงความคิดเห็นกลายเป็นปัญหาว่า ผลการวิจัยที่ออกมาเป็นเพียงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญหรือนักบริหารบางคนเท่านั้น

ประการที่สอง สิ่งที่ผู้บริหารเกี่ยวข้องมากที่สุดคือ เรื่องการตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ในแต่ละวัน ซึ่งจะทำในรูปของการประชุม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานมาก และบางครั้งในการเสนอความคิดเห็นยังต้องมีการเผชิญหน้ากันทำให้เกิดความเกรงอกเกรงใจ ไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น หรือบางครั้งก็ไม่สู้เต็มใจที่จะแสดงความคิดเห็น เพราะจะเกิดการโต้เถียงระหว่างกันและกันขึ้น ซึ่งทำให้เกิดกระทบกระเทือนกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง

เพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการดังกล่าว เทคนิคเดลฟายสามารถใช้ในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี เพราะผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญไม่ต้องพบหน้ากันและไม่ทราบว่าใครเป็นผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญบ้าง ไม่เสียเวลาในการทำงานที่จะต้องเดินทางมาประชุม ทั้งยังทำให้ได้ความคิดเห็นที่ถูกต้องและเชื่อถือได้มากที่สุด

ความเป็นมา

การใช้ข้อมูลจากกลุ่มความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือเทคนิคเดลฟายนี้ ได้เริ่มขึ้นอย่างมีระบบในปี พ.ศ.2495 แต่ได้ถูกปิดเป็นความลับมาตลอดเนื่องจากกองทัพอากาศอเมริกันได้ใช้เทคนิคนี้ในการศึกษาและวิจัยสิ่งต่างๆ (1:2522) และได้รับการพัฒนาโดยนักวิจัยบริษัทแรนด์ (Rand Cooperation) ซึ่งโอลาฟเฮลเมอร์ (Olaf Helmer) และนอร์แมน ดังคี (Norman Dalkey) ทั้งคู่ได้เขียนบทความเรื่อง “An Experimental Application of The Delphi Methold to the Use of Experts” ลงในวารสาร Management Sceince ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 เดือนเมษายน 2506 (2: 2523) ซึ่งทำให้เทคนิคเดลฟายแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง

ความหมาย

เทคนิคเดลฟาย เป็นการมุ่งที่จะรวบรวมข้อมูลด้านความคิดเห็นและการตัดสินใจที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มคน (นักธุรกิจ นักบริหาร นักการตลาด ฯลฯ) ในเรื่องที่เกี่ยวกับเวลา ปริมาณ และ/หรือ สภาพการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปได้ หรือต้องการให้เป็นไปในอนาคต

คุณลักษณะของเทคนิคเดลฟาย

1. เทคนิคนี้มุ่งแสวงหาข้อมูลด้านความคิดเห็นจากกลุ่มนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญใน
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่ได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบจากลักษณะเด่นของนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญบางคนในการตัดสินใจ กล่าวคือ นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญบางคนในการตัดสินใจ กล่าวคือ นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

2. เทคนิคเดลฟายนี้ได้ข้อมูลมาจากการตอบแบบสอบถาม ดังนั้น นักบริหารหรือผู้
เชี่ยวชาญที่ได้รับการคัดเลือกในการวิจัยหรือเข้าร่วมประชุม่ต้องตอบแบบสอบถามตามที่กำหนดครบทุกขั้นตอน ซึ่งปกติแบบสอบถามจะมี 3-4 รอบ โดยรอบที่ 1 มักจะเป็นแบบสอบถามปลายเปิด และในรอบต่อๆ ไปจะเป็นแบบสอบถามในลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) อาจจะเป็น 1-5 สเกล หรือ 1-6 สเกล เป็นต้น

3. เพื่อให้นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนตอบแบบสอบถามด้วยความคิดเห็นที่กลั่น
กรองอย่างละเอียดรอบคอบ และเพื่อให้คำตอบที่ได้รับมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันยิ่งขึ้น ผู้วิจัยหรือทีมงานที่รับผิดชอบจะแสดงความคิดเห็นที่นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันในคำตอบ แต่ละข้อของแบบสอบถามที่ตอบไปในครั้งก่อนและความคิดเห็นที่สอดคล้องกันจะแสดงในรูปสถิติ โดยจะส่งกลับให้นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนว่าจะตัดสินใจคงคำตอบเดิมหรือปรับปรุงแก้ไข (ถ้าปรับปรุงต้องระบุเหตุผลด้วย) ดังนั้น การตอบแบบสอบถามแต่ละครั้งนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนนั้นจะทราบว่าความคิดเห็นของเขาเป็นอย่างไร ต่างกับคนอื่นหรือไม่ อย่างไร (2 : 2523)

4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่สถิติเบื้องต้น ซึ่งง่ายแก่การคิดคำนวณ คือ การวัด
แนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ฐานนิยม (Mode) มัธยฐาน (Median) หรือค่าเฉลี่ย (Mean) ซึ่งบางครั้งอาจใช้ร่วมกับค่าพิสัยระหว่างควอไตล์ (Interquartile Range)

ขั้นตอนการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย

รายละเอียดในเรื่องนี้จะกล่าวถึงกระบวนการที่สำคัญของเทคนิคเดลฟาย การเลือกและจำนวนผู้เชี่ยวชาญหรือนักบริหารที่เข้าในโครงการ จุดเด่นและจุดด้อยของเทคนิคเดลฟาย และการนำเทคนิคเดลฟายไปใช้

กระบวนการที่สำคัญของเทคนิคเดลฟาย

เทคนิคเดลฟายจุดสำคัญอยู่ที่การใช้ชุดของแบบสอบถาม เนื่องจากเทคนิคนี้เป็นกระบวนการวิจัยที่ใช้ความคิดเห็นของนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์สำคัญ ดังนั้นเพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่ถูกต้อง แน่นอน จึงต้องมีการถามย้ำกันหลายครั้ง โดยใช้ชุดของแบบสอบถามดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะดังนี้

แบบสอบถามฉบับแรก มักจะเป็นคำถามปลายเปิด ซึ่งให้ผู้ตอบตอบในสองประเด็นกว้างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายของการถามแบบถามปลายเปิดนี้ เพื่อจะเก็บรวบรวมความคิดเห็นของกลุ่มนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

แบบสอบถามรอบที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่พัฒนามาจากคำตอบในการสอบถามครั้งแรกโดยการนำความคิดเห็นทั้งหมดที่ได้รับจากกลุ่มนักบริหาร หรือผู้เชี่ยวชาญในการตอบรอบแรกมาสร้างให้อยู่ในรูปประโยคหรือข้อความที่เกี่ยวกับปัญหาหรือหัวข้อที่ต้องการจะศึกษา ในการสอบถามรอบที่ 2 กลุ่มนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญอาจต้องลงมติ จัดอันดับความสำคัญ หรือให้เปอร์เซ็นต์ (อัตราร้อยละ) ตามความสำคัญในแต่ละประโยคหรือข้อคำถาม การตอบอาจจะอยู่ในรูปของการให้เปอร์เซ็นต์หรือมาตราส่วนประมาณค่าหรือเป็นคะแนนก็ได้

แบบสอบถามรอบที่ 3 ผู้วิจัยจะพัฒนาแบบสอบถามรอบนี้ขึ้นมาจากการวิเคราะห์คำตอบในแบบสอบถามรอบที่ 2 และแบบสอบถามในรอบนี้จะประกอบไปด้วยประโยคหรือข้อความที่เหมือนกันกับในแบบสอบถามในรอบที่ 2 แต่ได้มีการแสดงถึงตำแหน่งค่ามัธยฐานหรือค่าเฉลี่ยและอาจมีค่าพิสัยระหว่างควอไตล์ของแต่ละคำถาม รวมทั้งตำแหน่งที่นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญคนนั้นๆ ตอบในแบบสอบถามในรอบที่ 2 และส่งกลับไปให้นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญคนนั้นได้ตอบกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

แบบสอบถามในรอบนี้จะแสดงให้เห็นว่า คำตอบเดิมในรอบที่ 2 ของนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนเป็นอย่างไร มีความแตกต่างไปจากค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไตล์ของคำตอบทั้งหมดอย่างไร พร้อมกับให้นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่ามีความเห็นด้วยกับตำแหน่งที่กลุ่มนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องต้องกันหรือไม่ โดยการทบทวนและพิจารณาคำตอบของเขาอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงคำตอบของเขาใหม่หรือจะยังคงยืนยันคำตอบเดิมของตนเองก็ได้ ในกรณีที่คำตอบของนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญคนใดคนหนึ่งออกไปนอกช่วงของกลุ่มที่ตอบมา ก็จะได้รับการขอร้องให้แสดงเหตุผลในการตอบด้วย

ตามปกติเทคนิคเดลฟายนี้จะใช้แบบสอบถาม 4 รอบด้วยกัน แต่ในบางกรณีอาจใช้เพียง 2-3 รอบเท่านั้น เพราะอาจไม่มีหรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในการตอบของนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญกระบวนการวิจัยก็สมควรยุติได้ หรืออาจทำวิธีลัดโดยในคำถามรอบแรก อาจใช้การสัมภาษณ์หรือศึกษาแนวทางต่างๆ มาเป็นกรอบ (Frame) แล้วสรุปเป็นแบบสอบถามในรอบที่ 2 เลยก็ได้ การเลือกและจำนวนนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญ

นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการเลือกให้เข้ามาร่วมในโครงการนี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะศึกษาเป็นอย่างดีจะทำให้ผลการวิจัยถูกต้องและเชื่อถือได้สูง

สำหรับจำนวนนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญนั้นไม่ได้กำหนดแน่นอนลงไปตายตัว แต่โธมัสที แมคคิลแลน (อ้างจาก 1: 2522) ได้เสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับจำนวนนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ 17 คนขึ้นไป อัตราการลดลงของความคลาดเคลื่อนจะมีน้อยมาก ดังตารางต่อไปนี้

ตาราง แสดงการลดลงของความคลาดเคลื่อน

ของจำนวนนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมโครงการ

จำนวนนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญ
ช่วงความคลาดเคลื่อน
ความคลาดเคลื่อนลดลง
1-5
1.20-0.70
0.50
5-9
0.70-0.58
0.12
9-14
0.58-0.54
0.04
14-17
0.54-0.50
0.04
17-21
0.50-0.48
0.02
21-25
0.48-0.46
0.02
25-29
0.46-0.44
0.02

จุดเด่นและจุดด้อยของเทคนิคเดลฟาย

จุดเด่น

1. สามารถใช้ในการรวบรวมหาความสอดคล้องของความคิดเห็นของนักบริหารหรือผู้

เชี่ยวชาญได้โดยไม่ต้องจัดให้นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญพบกันซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง และยากที่จะกระทำได้เพราะนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมีภาระหน้าที่การงานมากอยู่แล้ว

2. ความคิดเห็นของนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนเป็นอิสระและไม่มีอิทธิพลหรือผล
กระทบจากนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ทั้งยังไม่มีใครทราบว่ามีใครบ้าง และนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญจะรู้เฉพาะคำตอบของตนเองเท่านั้น

3. เนื่องจากมีการตอบแบบสอบถามหลายครั้ง คำตอบที่ได้รับจึงมีความเชื่อถือได้ของ
ข้อมูลค่อนข้างสูง เพราะผ่านการพิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนมาหลายครั้ง

4. เทคนิคเดลฟายสามารถนำไปปรับใช้ได้กับนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นจำนวนมาก
โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสภาพภูมิศาสตร์

5. ค่าใช้จ่ายในด้านดำเนินการค่อนข้างต่ำ

จุดด้อย

1. ความเชื่อถือได้ของการวิจัยขึ้นอยู่กับวิธีการหรือเกณฑ์ในการคัดเลือกนักบริหารหรือผู้
เชี่ยวชาญเป็นสำคัญ

2. การให้นักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามหลายรอบ อาจทำให้ขาดความ
ร่วมมือ เบื่อหน่าย ซึ่งมีผลต่อความเชื่อถือได้ของข้อมูล

3. ระยะเวลาของแบบสอบถามในแต่ละรอบ ถ้าทิ้งช่วงห่างกันมากหรือนานเกินไป อาจ
ทำให้ข้อมูลขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากนักบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญอาจจะลืมคำตอบในรอบแรกๆ

การนำเทคนิคเดลฟายไปใช้

1. จัดตั้งกลุ่มหรือคณะทำงาน (บุคคลหรือกลุ่มคนที่จะเป็นผู้บันทึกผลข้อมูล) ในการ
ร่วมมือกับผู้ตัดสินใจในการบริหารหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนของแบบสอบถามในตอนเริ่มแรก

2. แบบสอบถามจะถูกส่งไปยัง “กลุ่มผู้ตอบ บางที่จะเป็นตัวแทนบริษัท และผู้จัด
การฝ่าย” ซึ่งเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้ามามีส่วนร่วมโดยเฉพาะ เนื่องด้วยประสบการณ์หรือความรู้ความสามารถในปัญหาซึ่งเขามีความชำนาญอยู่

3. ผู้ตอบมีอิสระอย่างเต็มที่ในการตอบแบบสอบถาม และก็ส่งกลับคืนมายังกลุ่มหรือ
คณะทำงาน

4. กลุ่มหรือคณะทำงานจะพัฒนาแบบสอบถามในรอบที่ 2 ซึ่งได้สรุปผลรวมของคำ
ตอบจากแบบสอบถามในรอบที่ 1 แล้วส่งให้กลุ่มผู้ตอบ

5. ผู้ตอบแต่ละคนจะมีอิสระในการพิจารณาคำตอบของตนเองในครั้งก่อน เมื่อจัด
อันดับในครั้งนี้เสร็จแล้วก็ส่งกลับคืนมายังกลุ่มหรือคณะทำงาน

6. กลุ่มหรือคณะทำงาน สรุปรวมผล และดำเนินการนำเสนอรายงานของผลการตัดสิน
ใจที่ได้มา

ถ้าหากการดำเนินการเพียง 2 รอบ แล้วผลไม่แตกต่างจากความคิดเห็นของผู้ตอบคนอื่น

ก็สมควรยุติขบวนการได้ แต่ถ้าแตกต่างกันมากจึงดำเนินการในรอบต่อไป แต่ปกติมักทำเพียง 2-3 รอบเท่านั้น
   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us