Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2553
จีน: เริ่มคุมเข้มนโยบายการเงิน             
 


   
www resources

The People’s Bank of China Homepage

   
search resources

Banking and Finance
ธนาคารกลางจีน




สัญญาณเชิงคุมเข้มนโยบายการเงินจากธนาคารกลางจีนทยอยปรากฏชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ธนาคารกลางจีนตัดสินใจประกาศปรับขึ้นสัดส่วนเพดานการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ในช่วงเย็นวันที่ 12 มกราคม 2553 ร้อยละ 0.5 โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 มกราคม 2553

อย่างไรก็ตาม การคุมเข้มด้วยเครื่องมือนโยบายการเงินดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ธนาคารกลางจีนได้ส่งสัญญาณการคุมเข้มสภาพคล่องผ่านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั๋วเงินคลังในการประมูลตั๋วเงินคลังช่วง 2 สัปดาห์แรกของปี 2553 พร้อมกับเพิ่มระดับการดูดซับสภาพคล่องผ่านการดำเนินการผ่านตลาดเงิน

ทั้งนี้ สัญญาณการคุมเข้มทางการเงินจากธนาคารกลางจีน ดังกล่าวเป็นทิศทางที่สอดคล้องการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ส่วนใหญ่ หากแต่เกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่เร็วกว่าที่ประเมินไว้เล็กน้อย ซึ่งผลกระทบต่อตลาดการเงินที่เกิดขึ้นก็คือ การร่วงลงของตลาดหุ้นทั่วโลก และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ จากความกังวลว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะถัดไปอาจชะลอลง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินกรณีการคุมเข้มนโยบายการเงินของจีนดังกล่าวว่าเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นเร็วเกินคาด เนื่องด้วย สภาพแวดล้อมทางการเงินที่ผ่อนคลายมาเป็นเวลากว่า 1 ปี ประกอบกับความเสี่ยงต่อแรงกดดันเงินเฟ้อ และการขยายตัวอย่างร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ได้เพิ่มสูงขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ จึงส่งผลให้ธนาคารกลางจีน (The People's Bank of China: PBoC) เริ่มทำการคุมเข้มนโยบายการเงินผ่านหลากหลายช่องทาง/เครื่องมืออย่างต่อเนื่องในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปี 2553

แม้ว่าธนาคารกลางจีนจะต้องการชะลอความร้อนแรงทาง เศรษฐกิจ และลดแรงกดดันในช่วงขาขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ แต่จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ธนาคารกลางจีนเลือกที่จะดำเนินการส่งสัญญาณคุมเข้มทางการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้วยวิธีการดำเนินการผ่านช่องทาง/เครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ที่ไม่ใช่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยล่าสุดในช่วงเย็นวันที่ 12 มกราคม 2553 ธนาคารกลางจีนได้ประกาศปรับขึ้นสัดส่วนเพดานการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 0.5 ซึ่งทำให้ภายหลังวันที่ 18 มกราคม 2553 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก จะต้องดำรงเงินสำรองตามกฎหมายร้อยละ 16.0 และร้อยละ 14.0 ของเงินฝากตามลำดับ

อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางจีนได้ส่งสัญญาณการคุมเข้มสภาพคล่องผ่านช่องทางอื่นๆ ไว้ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปี 2553 ด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากธนาคารกลางจีนได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั๋วเงินคลังในการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 3 เดือน และตั๋วเงินคลังอายุ 1 ปี โดยธนาคารกลางจีนได้ปรับอัตราดอกเบี้ยตั๋ว เงินคลังขึ้นร้อยละ 0.04 สู่ระดับร้อยละ 1.3684 สำหรับตั๋วเงินคลัง อายุ 3 เดือน 1 และปรับขึ้นร้อยละ 0.08 สู่ระดับร้อยละ 1.8434 สำหรับตั๋วเงินคลังอายุ 1 ปี 2 พร้อมกันนี้ ธนาคารกลางจีนยังเพิ่ม ระดับการดูดซับสภาพคล่องผ่านการทำข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตรระยะ 28 วัน เป็นการดำเนินการผ่านตลาดเงิน (Open Market Operations: OMOs) อีกด้วย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การเริ่มดำเนินการคุมเข้มทาง การเงินของธนาคารกลางจีนดังกล่าวมีความสมเหตุสมผล เนื่องจากความเสี่ยงต่อการขยายตัวอย่างร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากข้อมูลล่าสุด (จากหนังสือพิมพ์อิโคโนมิค อินฟอร์เมชั่น เดลี) ที่ระบุว่า ธนาคารพาณิชย์จีนมีการเร่งปล่อยสินเชื่อใหม่สูงถึง 6.0 แสนล้าน หยวนในช่วงสัปดาห์แรกของปี 2553 ซึ่งเป็นระดับการขยายสินเชื่อ ที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของการปล่อยสินเชื่อต่อเดือนประมาณ 3.7 แสนล้านหยวนต่อเดือนในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้กระแสการคาดการณ์การแข็งค่าของเงินหยวนที่เพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี 2553 ซึ่งนำไปสู่การไหลทะลักของเงินทุนจากต่างประเทศ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทางการจีนต้องเผชิญกับโจทย์การดูแลสภาพคล่องที่ยากมากขึ้นไปอีก

แต่จากการที่ทางการจีนสามารถรักษาจุดยืนเชิงนโยบายไว้ได้เป็นอย่างดีในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประคับประคองเศรษฐกิจให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจโลก ทำให้การดำเนินการด้านนโยบายเศรษฐกิจของทางการจีนได้รับการยอมรับ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้

ซึ่งการเริ่มส่งสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคาร กลางจีนในระยะนี้และอาจมีความต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ก็น่าจะส่งผลจิตวิทยาในเชิงบวกได้ เนื่องจากการดำเนินการอย่างรวดเร็วนั้นจะสามารถสกัดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจและจำกัดความเสี่ยงฟองสบู่ พร้อมๆ กับช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ และลดโอกาสการเกิดภาวะการชะลอตัวอย่างรุนแรงลง ทั้งนี้มีการประเมินว่าการปรับสัดส่วนการดำรงเงินสำรอง ตามกฎหมายเพียงร้อยละ 0.5 นั้น สามารถดูดซับเม็ดเงินได้เพียง ครึ่งเดียวของยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของปี 2553 ขณะที่ธนาคารพาณิชย์จีนมีการดำรงเงินสำรองส่วนเกินไว้ในระดับที่สูงกว่าสัดส่วนการกันสำรองตามกฎหมายอยู่แล้ว นั่นหมายความว่า ผลสุทธิของการส่งสัญญาณคุมเข้มทางการเงินของธนาคารกลางจีนน่าที่จะเป็นเพียงการลดการผ่อนคลายทางการเงินลงเท่านั้น

ดังนั้น ภายใต้สถานการณ์ที่แรงส่งต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนค่อนข้างมีความแข็งแกร่ง (Economic Momentum) ขณะที่ความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ ตลอดจนแรงกดดันเงินเฟ้อจะยังคงเป็นโจทย์ท้าทายของธนาคารกลางจีนในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าธนาคารกลางจีนยังคงจำเป็นต้องคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่องต่อไป

แต่จะมีลักษณะการดำเนินการที่ระมัดระวังและค่อยเป็นค่อยไป โดยช่องทาง/เครื่องมือที่ธนาคารกลางจีนอาจนำมาใช้ส่งสัญญาณคุมเข้มทางการเงิน ประกอบด้วยการปรับขึ้นสัดส่วนการดำรงเงินสำรองตามกฎหมายต่อเนื่อง การตรวจสอบ/จำกัดการขยายตัวของสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ การเข้าดูดซับสภาพ คล่องผ่านตลาดเงิน ตลอดจนการส่งสัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้นผ่าน การประมูลตั๋วเงินคลังและพันธบัตร

แม้ว่าธนาคารกลางจีนจะใช้ช่องทางการประมูลตั๋วเงินคลังและพันธบัตรในการส่งสัญญาณคุมเข้มทางการเงิน (ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสำหรับตราสารทั้ง 2 ประเภท) แต่สำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์นั้น คาดว่าธนาคารกลางจีนจะนำมาใช้เป็นลำดับท้ายๆ เนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง มีความเป็นไปได้ที่เงินหยวนจะขยับแข็งค่าขึ้นในทิศทางที่สอดคล้องการแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินเชิงคุมเข้มของธนาคารกลางจีน ทั้งนี้ คาดว่า ทางการจีนไม่น่าที่จะปิดโอกาสของการขยายกรอบการเคลื่อน ไหวรายวันของค่าเงินหยวน แต่ในขณะเดียวกันทางการจีนก็คงดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพื่อมิให้กระแสการคาดการณ์ต่อทิศทางการแข็งค่าของเงินหยวนเป็นไปอย่างรุนแรง และเพื่อให้เหมาะสมกับภาคการส่งออกของจีนที่ยังคงต้องการระยะเวลาในการปรับตัว/ประคองตัวก่อนสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จะมีความมั่นคงมากขึ้น สัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางจีนอาจจำกัดแนวโน้มขาขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ได้ในระดับหนึ่ง แม้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะยังคงดำเนินต่อไปในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า

แต่คาดว่าตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงินของประเทศผู้ส่ง ออกสินค้าโภคภัณฑ์ ตลอดจนตลาดหุ้นในหลายๆ ภูมิภาคของโลก (ที่ได้ปรับตัวขึ้นมาแล้วค่อนข้างมากบนการคาดการณ์ว่า แนวโน้มการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจเอเชียซึ่งนำโดย จีน จะเป็นผู้นำการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก) น่าที่จะมีความอ่อน ไหวและอาจต้องเผชิญกับการปรับฐานท่ามกลางข่าวการคุมเข้มนโยบายการเงินของจีนเป็นระยะๆ

โดยการปรับฐานของสินทรัพย์ดังกล่าวข้างต้น อาจมีความรุนแรงมากขึ้นหากภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน กดดันให้ธนาคารกลางจีนจำต้องเลือกเครื่องมือด้านอัตราดอกเบี้ย มาใช้ในการคุมเข้มนโยบายการเงิน แนวโน้มเงินบาทยังคงเป็นทิศทางแข็งค่า (พร้อมความผันผวน) ทั้งนี้ คาดว่า เงินบาทยังคง มีโอกาสแข็งค่าขึ้นทดสอบระดับ 32.70 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทอาจจะอยู่ที่ระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงครึ่งแรก ของปี 2553 (ประมาณการโดยสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย) โดยได้รับแรงหนุนที่สำคัญจากกระแสความแข็งแกร่ง ของสกุลเงินในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งธนาคารกลางหลายๆ แห่งในเอเชียน่าที่จะทยอยส่งสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินเช่นเดียวกับธนาคารกลางจีนในช่วงเวลาดังกล่าว

จากนี้ไปคงต้องติดตามพัฒนาการของข้อมูลทางเศรษฐกิจ และสัญญาณการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางจีนอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ แม้ธนาคารกลางจีนจะดำเนินการคุมเข้ม ทางการเงินเพื่อชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจและลดแรงกดดัน เงินเฟ้อ ควบคู่ไปกับมาตรการสกัดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหา ริมทรัพย์ แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจีนจะยังคงมีอัตราการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจในปี 2553 สูงกว่าร้อยละ 9.0 ซึ่งดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 8.5 ในปี 2552   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us