|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
นีลเส็น เผยผลการสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลกล่าสุดเกี่ยวกับความเชื่อมั่นและความคิดเห็นออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลก ตลอดจนศึกษาพฤติกรรม แนวโน้มการใช้จ่าย ปัจจัยความกังวลของผู้บริโภคทั่วโลก ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยประเมินจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับตลาดงาน สถานภาพทางการเงิน และความพร้อมในการใช้จ่าย จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 17,500 คน ในทวีปยุโรป เอเชียแปซิฟิก อเมริกาเหนือ และประเทศในแถบตะวันออกกลาง
การสำรวจดังกล่าวพบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา ขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นในสถานภาพทางการเงิน และมุมมองในด้านการจ้างงานที่ดีขึ้น
การเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งบราซิล ยังคงสะท้อนให้เห็นสัญญาณของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลก และในบางประเทศมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ผลการสำรวจของนีลเส็นได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในฮ่องกง จีน สิงคโปร์ อินเดีย และบราซิล ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยผู้บริโภคจำนวนมากในประเทศดังกล่าวมีความตั้งใจที่จะจับจ่ายใช้สอยในปี 2553
ทั้งนี้ จากผลการสำรวจพบว่า 10 ประเทศแรกของโลกที่มีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสูงสุดในไตรมาสที่ 4 นั้น มี 8 ประเทศมาจากประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก ซึ่งอันดับ 1 ได้แก่ อินโดนีเซีย (119) ลำดับที่ 2 ได้แก่ อินเดีย (117) ส่วนประเทศที่พบความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่ำสุดในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ประเทศเกาหลี และญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่อยู่นอกเอเชียแปซิฟิก และติดลำดับใน TOP 10 ได้แก่ บราซิล และแคนาดา
ในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก นีลเส็นพบความเชื่อมั่นในฮ่องกงเพิ่มอย่างต่อเนื่องและขึ้นสูงสุดในไตรมาสที่ 4 จากดัชนีความเชื่อมั่นสูงสุดที่ระดับ 93 ในไตรมาสที่สาม มาสู่ระดับ 100 ในไตรมาสที่สี่ ความเชื่อมั่นในฮ่องกงเพิ่มขึ้น 21 จุดเมื่อเทียบกับไตรมาสที่สอง ในปี 2552
สำหรับค่าเฉลี่ยของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5 จุดจากระดับ 82 เป็น 87 ส่วนในประเทศไทยดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น 9 จุดจาก 86 เป็น 95
ผลการสำรวจของนีลเส็นพบว่าผู้บริโภคทั่วโลกในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 เริ่มมีมุมมองที่เป็นไปในทิศทางบวกเกี่ยวกับประเทศของตน เนื่องจากสามารถหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยมีความหวังที่สดใสเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน และสภาวะการเงินของตนที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ในประเทศไทย นีลเส็น พบว่าผู้บริโภคชาวไทยมีมุมมองที่เป็นไปในทิศทางบวกเกี่ยวกับเศรษฐกิจในประเทศดีขึ้น ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 พบว่าผู้บริโภคจำนวน 70% ในไตรมาสที่สี่ ที่คิดว่าเศรษฐกิจในประเทศของตนอยู่ในสภาวะถดถอย ซึ่งลดลงจาก 91% ในช่วงไตรมาสที่หนึ่งของปีเดียวกัน
'ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา นีลเส็นพบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกตกลงต่ำที่สุดตั้งแต่นีลเส็นทำการสำรวจมา ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยก็ลงถึงจุดต่ำสุดในไตรมาสที่หนึ่งในปี 2552 แต่เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2552 โดยเพิ่มจากระดับที่ 81 ในไตรมาสที่หนึ่ง ไปที่ 86 ในไตรมาสที่สอง และ 94 ในไตรมาสที่สาม' แอรอน ครอส กรรมการผู้จัดการ เดอะ นีลเส็น คอมปะนี ประเทศไทย กล่าว
ผู้บริโภคชาวไทยเริ่มมีความหวังที่สดใสกับสถานะทางการเงินของตน โดยมากกว่าครึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (55%) ที่ได้ทำการสำรวจเชื่อว่า สถานะทางการเงินของตนในปี 2553 จะดีและดีมาก ซึ่งดีขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจในช่วงกลางปี 2552 ที่ผ่านมา ที่พบว่าผู้บริโภคประมาณ 45% มีความคิดเห็นดังกล่าว
ในเอเชีย ผู้บริโภคในประเทศจีน ยังติดลำดับที่หนึ่งของโลกในการลงทุนในตลาดหุ้นและกองทุนรวม และซื้อสินค้าเทคโนโลยีใหม่ๆ และยังคงติดเป็นลำดับที่สองของโลกในการใช้จ่ายเรื่องเสื้อผ้าและการใช้เงินท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม นีลเส็นพบว่าผู้บริโภคชาวไทยยังไม่พร้อมที่จะเดินหน้าจับจ่ายใช้สอย โดยพบผู้บริโภค 64% กล่าวว่าช่วงนี้ยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีสำหรับการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มจาก 60% ที่มีความคิดเห็นดังกล่าวจากการสำรวจในไตรมาสที่สามของปี 2552
ขณะที่ความคาดหวังในด้านการงานเชื่อว่าจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทว่าความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจยังคงเป็นปัญหาที่ผู้บริโภคชาวไทยกังวลมากเป็นอันดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การสำรวจพบว่าความกังวลทางด้านความคาดหวังในการงานปี 2553 นี้ลดลงเป็นลำดับ โดยพบผู้บริโภค 40% เชื่อว่าการงานของตนในปี 2553 จะดีถึงดีมาก โดยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในไตรมาสก่อนหน้านี้ ซึ่งในไตรมาสแรกของปีที่แล้วมีเพียง 15% ที่เชื่อว่าการงานจะดีขึ้น ส่วนไตรมาสที่สองเพิ่มเป็น 27% ไตรมาสสามเพิ่มเป็น 38%
ในส่วนของการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคชาวไทย พบว่าผู้บริโภคชาวไทยยังคงระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินหลังจากการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน โดยทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมมาตลอดในช่วงสามปีที่ผ่านมา คือการออม โดยจะเห็นได้จากความนิยมในการออมที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องในปี 2552 ส่วนทางเลือกอื่นๆ ที่นิยมเป็นลำดับต่อมาคือ การท่องเที่ยว (47%) การลงทุนในกองทุนเพื่อยามเกษียณ (30%) การตกแต่งบ้าน (28%) เป็นลำดับ
การสำรวจในครั้งนี้ยังได้ศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อสินค้าและการดำเนินชีวิตใน 1 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่าผู้บริโภคชาวไทยมากถึง 85% มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยพยายามลดรายจ่ายต่างๆ ดังนี้ 64% ลดการซื้อเสื้อผ้าใหม่ 58% ลดสิ่งบันเทิงนอกบ้าน 55% เน้นการประหยัดค่าไฟ 44% เลื่อนการอัปเกรดอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และ 42% ลดการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด
|
|
 |
|
|