Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2528
ธนาคารสยามยุคใหม่จะไปรอดไหม เบื้องหน้าดูแข็งแกร่งแต่ยังคงมีปัญหาที่ต้องตอบอีกหลายประการ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารสยาม
เกษม จาติกวณิช
Banking




“ธนาคารสยามเพิ่งจะแก้วิกฤตการณ์ของความอยู่รอดไปได้ เมื่อไม่นานมานี้เอง มาวันนี้ธนาคารสยามก็ต้องมานั่งถามตัวเองว่า แล้วจะเดินไปทางไหน เพราะจะเดินไปทางไหนก็เดินไม่ได้แน่ๆ ถ้า...”

เกือบ 1 ปีแล้ว ที่รัฐบาลได้เข้ามายึดธนาคารเอเชียทรัสต์แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารสยาม

ถ้าดูจากผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นรัฐบาลและดูจากประธานกรรมการคือ เกษม จาติกวนิช แล้วทุกอย่างก็น่าจะดูเรียบร้อยดี

แต่ถ้าจะคิดว่าทุกอย่างเรียบร้อยไปหมดนั้นก็คงจะพูดเกินข้อเท็จจริงไป

“ในช่วงปีแรกของเรานี้มัวแต่วุ่นวายกับภาวะการแก้ปัญหาเก่าตลอดเวลาจนแทบจะไม่มีเวลามานั่งมองว่าจะทำอย่างไรก็ต่อไป” ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารสยามพูดให้ฟัง

ปัญหาเก่าที่ว่านี้คือหนี้เก่าที่ค้างอยู่ประมาณ 3,000 ล้านบาท ที่กลุ่มผู้บริหารเก่าได้ร่วมกันสร้างไว้ในการปล่อยกู้ในหมู่กันเอง โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือมีหลักทรัพย์ที่ไม่พอ

“ในบรรดา 3,000 ล้านนี้ โชคจะดีเอามากๆ ถ้าสามารถเรียกคืนได้ถึง 1,000 ล้านบาท” แหล่งข่าวในธนาคารสยามกล่าว และใน 1,000 ล้านนี้ ก็คงจะได้มาจากช่อง 3 และโรงงานน้ำตาลราชบุรีเท่านั้น

นอกนั้นก็คงมีแต่บริษัทเปล่าๆ ที่ล้มละลายไปแล้ว ก็มีแต่โต๊ะและเก้าอี้

“เราเพิ่งไปจ่ายค่าประกันไฟโรงงานน้ำตาลราชบุรีหยกๆ นี่เอง เดี๋ยวไฟเกิดไหม้ขึ้นมา เดี๋ยวหนี้จะสูญเสีย” เจ้าหน้าที่ติดตามหนี้ของธนาคารสยามพูดให้ฟัง

ธนาคารสยามก็คงต้องเอาอกเอาใจโรงงานน้ำตาลราชบุรีพอสมควร เพราะเป็นหนึ่งในสองลูกหนี้ที่มีสิทธิ์จะคืนเงินประชาชนออกมาได้

“เราจำเป็นต้องเลี้ยงเขาไว้ นี่ขนาดเราต้องเอาเงิน 40 ล้านบาทไปเคลียร์หนี้กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพื่อเขาจะได้เป็นลูกหนี้เราคนเดียว” เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าวต่อ

“โรงงานน้ำตาลนี่มีมูลค่าดีมากเพราะตอนนี้เปิดใหม่ไม่ได้อีกแล้ว และเป็นโรงงานใหญ่ที่ดีมากโรงหนึ่ง” เกษม จาติกวนิช พูดกับ “ผู้จัดการ”

เกษมพูดให้ฟังต่อว่า จนถึงทุกวันนี้ธนาคารสยามได้เอาเงินใส่เข้าไปช่วยโรงงานนี้เกือบ 70 ล้านบาทแล้ว

นอกจากหนี้ของโรงงานน้ำตาลและช่อง 3 แล้ว ธนาคารสยามยังมีหนี้ประเภทที่ฟังดูแล้วเวียนหัวเอามากๆ

“ส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งบริษัทขึ้นมาแล้วเปิดบัญชีเดินสะพัดโดยไม่มีอะไรค้ำประกัน และมีเพียงสัญญาว่าจะยินดีใช้ให้ในจำนวนที่เกิน ทีนี้แต่ละบัญชีมันเกินเป็นสิบๆ หรือร้อยๆ ล้าน และก็มีอย่างนี้หลายบัญชี” เจ้าหน้าที่ติดตามหนี้สินชี้แจงวิธีการให้ฟัง

“บางบริษัทก็ตั้งขึ้นมาสดๆ ร้อนๆ ในเดือนมกราคม 2527 เพียง 6 เดือนก่อนธนาคารยึดแล้วเอาเจ้าหน้าที่ช่อง 3 มาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ แล้วเปิดวงเงินโอดีไว้ 20 ล้านบาท โดยไม่มีอะไรค้ำประกัน” เจ้าหน้าที่คนเก่าพูดต่อเป็นอันว่าภาวการณ์ทางบัญชีก็คงจะต้องมียอดหนี้สูญไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านอย่างแน่นอน

ธนาคารสยามในสภาพขณะนี้กำลังกระทำผิดกฎหมายอยู่ทุกวัน เพราะได้ปล่อยเงินกู้ไปจนเกินเพดานที่ตั้งไว้

การได้รัฐบาลเข้ามาค้ำจุนบางครั้งก็ไม่ใช่จะเป็นโชคเสมอไป “ในภาวะที่รัฐบาลต้องรีดรายได้จากรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรก้อนใหญ่นี้ ธนาคารสยามก็โดนไปด้วย ปตท. เคยฝากเรา 400 ล้าน ก็ต้องถอน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตก็ถูกรัฐบาลรีดเงินไปถอน” เกษม จาติกวณิช พูดให้เข้าใจ

ในช่วงวิกฤตนั้น เกษมเล่าให้ฟังว่ารัฐวิสาหกิจเอาเงินเข้ามาฝาก 1,500 ล้านบาท การไฟฟ้า 900 ล้านบาท

เกษมคิดว่าถ้ามี SOFT LOAN มาอีก 3,000 ล้านบาท ก็จะสบาย เพราะจะสามารถ OFF SET หนี้ได้ทันที

“แต่ในภาวะการเงินแบบนี้ก็ไม่รู้จะได้หรือเปล่า” อดีตผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตส่ายหัว

แต่ในระหว่างที่รอดูใจรัฐบาลว่าจะเดินหมากอย่างไรต่อไป เกษมคิดว่าธนาคารสยามก็คงจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้แน่ๆ

“ถ้าเราดูผลการทำงานของพวกเราตั้งแต่เข้ามากับเงินที่เราพอมีอยู่ในมือในการทำการค้าเราก็กำไรมา 10 กว่าล้าน แต่ต้องมาจ่ายดอกเบี้ยของหนี้ที่เสียไปหมด พอสิ้นปี 2527 เรายังติดลบอยู่ 300 กว่าล้านบาท” เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งพูดให้ฟัง

สาขาของธนาคารสยามมีอยู่ 28 สาขา แต่ที่เลี้ยงตัวได้จริงๆ มีอยู่ไม่เกิน 6 สาขา และกำไรทุกวันนี้ส่วนมากจะมาจากกำไรแลกเปลี่ยนเงินตรา

อำนาจผู้จัดการสยามถูกมอบให้เพียงพอเฉพาะในการดำเนินธุรกิจพื้นฐาน

“อันนี้เป็นจุดอ่อนของธนาคารสยามเพราะตัวเองเพิ่งพังไปเพราะการปล่อยแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ พอรัฐบาลเข้าคุมทุกคนมัวแต่จ้องจับผิดและระวังตัวกันมากก็เลยทำให้มีโอกาสที่จะ OVER CONSERVATIVE ในด้านสินเชื่อ ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ถ้าจะเลือกแต่ PRIME CUSTOMERS ก็ต้องไปแย่งเนื้อชิ้นเดียวที่มีคนรุมแย่งอยู่ แล้วตัวเองฐานเล็ก บริการด้านอื่นก็สู้เขาไม่ได้ RATE ก็ COMPETIVE มากนักไม่ไหวไอ้จะพึ่ง FOREIGN EXCHANGE อย่างเดียวเพื่อทำกำไรแล้วอีกกี่ชาติถึงจะฟื้น” นายธนาคารพาณิชย์คนหนึ่งวิเคราะห์สถานภาพธนาคารสยามให้ฟัง

แต่เกษม จาติกวนิช ยังมีความเชื่อมั่นสูงเพราะ “คุณต้องอย่าลืมว่า STRENGTH ของธนาคารนี้อยู่ที่คณะกรรมการบริหาร เพราะแต่ละคนมาจากแต่ละสาขาอาชีพ และทุกคนเป็นทั้ง TECHNOCRAT/BUREAUCRAT และ PROFESSIONAL ฉะนั้นการดำเนินงานของเราไม่ใช่ว่าจะ TOO CONSERVATIVE เราก็มีเหตุผลเราอย่างมาก ๆ”

งานชิ้นแรกนอกจากการล้างของเก่าซึ่งเป็นผลให้ปลดพนักงานออกไป 50˗60 คนแล้ว ก็คือการพัฒนาบุคลากร

ผู้บริหารธนาคารสยามคิดว่าคุณภาพคนของธนาคารดีขึ้นมาก และที่สำคัญที่สุด “พวกเขามีความรู้สึกสำนึกในความรับผิดชอบและก็มีสปิริตสูง เราพยายามให้ค่าตอบแทนเขาเท่าที่เราจะกัดฟันสู้ได้ แต่เราก็ต้องดูฐานะเรา เช่น แทนที่จะตัดโบนัสไปเสีย เพราะเราขาดทุนเราก็ยังให้ 1 เดือน แทนที่จะได้ 2 เดือนเหมือนเก่า”

เกษม จาติกวนิช คิดว่า CORPORATE STRATEGY ของธนาคารมีทางเลือกไม่มากนอกจาก

เรียกหนี้คืนให้มากที่สุดเพื่อเอามาทำตั๋วแต่ก็จะกินเวลามาก

ช่วยตัวเองในเรื่องการทำกำไรโดยไม่ต้องใช้ทุนมาก เช่นการเปิดแอลซีและการแลกเปลี่ยนเงินตรา

ขอความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังและธนาคารชาติ เช่น

ขอเพิ่มทุนอีก 200 ล้านบาท

ขอ SOFT LOAN อีก (ธนาคารเพิ่งได้มา) 1,000 ล้าน ในอัตราดอกเบี้ย 1% แต่ต้องเอาพันธบัตรรัฐบาลไปค้ำ

สำหรับเกษมแล้ว COERPORATE STRATEGY ของธนาคารนั้นจะทำไม่พอก็ต้องมีเงินใหม่ไหลเข้ามา

เพราะในคำพูดของเกษมเอง “ความสามารถเรามันคงไม่ไหว ไม่ว่าเราจะเก่งแค่ไหนก็ตามถ้าเราไม่มีเงิน INJECT เข้ามา”

อนาคตของธนาคารสยามที่อาจจะมีทางถูกกลุ่มเก่าซื้อคืนไปได้ตามสัญญาเดิมนี้ดับวูบไปแล้ว เพราะ

“มีสัญญาว่าซื้อได้จริง แต่เงื่อนไขมีว่าเขาต้องไม่ทำผิดสัญญาแม้แต่ข้อเดียว แต่เวลานี้เขาผิดสัญญาแทบจะทุกข้ออยู่แล้ว ฉะนั้นเรื่องกลุ่มเดิมจะซื้อกลับไปก็เป็นอันหมดไป” เจ้าหน้าที่กฎหมายของธนาคารชี้แจงให้ฟัง

ส่วนถ้าธนาคารสยามทำกำไรขึ้นมาแล้วใช้หนี้คืนหมดแล้ว สถานภาพจะยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจต่อไปหรือขายหุ้นคืนสู่ภาคเอกชนนั้นผู้รู้ท่านหนึ่งยืนยันว่า “ผมคิดว่า STATUS น่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจตลอดไป เพราะได้มีการพูดกันขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้วผู้ใหญ่ที่ใหญ่มากๆ ในกระทรวงการคลังท่านใบ้มาว่า ต้องเป็นรัฐวิสาหกิจตลอดไป”

ธนาคารสยามเพิ่งจะผ่านวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงว่าจะอยู่หรือจะไปเมื่อเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมานี้ และธนาคารสยามก็ได้ผ่านมาแล้ว

ส่วนวิกฤตการณ์ปัจจุบันนี้ ถึงจะไม่ร้ายแรงแต่ก็เป็นวิกฤตการณ์ที่สำคัญมาก เพราะมันกำลังบอกว่าธนาคารสยามจะเดินไปทางไหนหรือจะไม่เดินแล้วหยุดอยู่กับที่ หรือในที่สุดเดินถอยหลังอีก

ทั้งหมดนี้คำตอบคงจะอยู่กับธนาคารชาติและกระทรวงการคลังแล้วล่ะ เพราะไหนๆ ก็เป็นคนผูกเรื่องนี้ขึ้นมาก็ต้องหาทางแก้ให้ดูด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us