|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ทหารไทย"ย้ำรู้ผลแนวทางการล้างขาดทุนสะสม-ลดพาร์ภายในไตรมาสแรกนี้ และจะดำเนินการเสร็จสิ้นในไตรมาส 2 ยันเดินหน้าแผนระยะยาว 5 ปีต่อ แม้เปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหม่ หลัง 19 พ.ค.53 จากการแปลงหุ้นบุริมสิทธิของกระทรวงคลัง แย้มสนใจทำธุรกิจลีสซิ่ง อยู่ระหว่างศึกาาทั้งการตั้งบ.ใหม่และซื้อพอร์ต
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เปิดเผยว่า คาดว่าในไตรมาส 1 ปี จะมีความชัดเจนในด้านของรายละเอียดการล้างขาดทุนสะสม รวมทั้งการปรับลดราคาพาร์เพื่อล้างขาดทุนสะสมที่ปัจจุบันอยู่ที่ 10 บาท จากนั้นจะมีการดำเนินการเข้าสู่ประชุมผู้ถือหุ้นและรอระยะเวลาการแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญในส่วนที่กระทรวงการคลังถืออยู่ ดังนั้น จึงมองว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นได้ภายในไตรมาส 2
ส่วนกรณีที่มีนักวิเคราะห์บางแห่งออกมาระบุว่า หากธนาคารต้องการล้างขาดทุนสะสมให้หมด 3 แสนล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการขาดทุนสะสม 1แสนล้านบาท และจากการขายต่ำกว่าพาร์ต้องลดพาร์ให้อยู่ที่ 0.70 บาท นายบุญทักษ์ กล่าวเพียงว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น รวมทั้งยังอยู่ระหว่างการดำเนินการล้างขาดทุนสะสมกับกระทรวงการคลังเพื่อให้งบการเงินของธนาคารสะท้อนความสามารถในการทำกำไรและมีความแข็งแกร่งของสถานะการเงินอย่างแท้จริง
สำหรับการล้างขาดทุนสะสมจะไม่มีผลกระทบต่อเงินกองทุนของธนาคารซึ่งปัจจุบันมีเงินกองทุนอยู่ที่ 63,904 ล้านบาท โดยระดับความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) อยู่ที่ 17.1% และส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 46,490,738 ล้านบาท ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นอาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่กระทรวงการคลังแปลงหุ้นบุริมสิทธิในวันที่ 19 พ.ค.2553
นายบุญทักษ์กล่าวอีกว่า ขณะนี้ธนาคารยังอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางในการดำเนินธุรกิจเช่าซื้อ (ลิสซิ่ง) ซึ่งธนาคารมีความสนใจในการทำลิสซิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องจักร เพื่อตอบสนองความต้องการและให้บริการกับลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ไม่มีแหล่งเงินทุนในการซื้อเครื่องจักร แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนว่าจะมีธุรกิจดังกล่าวเข้ามาเมื่อใด
นอกจากนี้ ปัจจุบันธนาคารมีบริษัทย่อยที่เป็นบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อลิสซิ่งเครื่องจักรและยานพาหนะให้กับกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี 1 แห่ง คือบริษัทไทยโอริกซ์ ลิสซิ่ง โดยธนาคารถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว 46% แต่ในอนาคตธนาคารจะขยายธุรกิจลิสซิ่งในรูปแบบการซื้อกิจการเข้ามาหรือจะตั้งเป็นบริษัทในเครือขึ้นมาเองหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถให้ข้อสรุปได้ เพราะธนาคารยังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจทั้งในเรื่องของเงินฝากและสินเชื่อที่มีอยู่ตามแผนระยะยาวที่วางไว้ 5 ปีก่อน
"แม้ว่าเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารในปีนี้จะตั้งไว้สูงถึง 20% ก็ตาม แต่เป็นก็เป็นตัวเลขที่จะเติบโตได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมากขึ้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับแผนการทำธุรกิจลิสซิ่งแต่อย่างใด ทั้งนี้ในปัจจจุบันยังไม่พบกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีเข้ามาเจรจาขอสินเชื่อลิสซิ่งเครื่องจักรกับธนาคารแต่อย่างไร ดังนั้น ธนาคารจึงมองว่าจะเดินตามแผนธุรกิจที่วางไว้ก่อน เพราะการทำธุรกิจนั้น ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและศึกษารายละเอียดต่างๆให้เหมาะที่สุด ไม่อยากทำธุรกิจแบบไม่มีแนวทางที่ชัดเจน"นายบุญทักษ์ กล่าว
สำหรับแผนการดำเนินงานของธนาคารในปี 2553 นี้ ธนาคารพร้อมเดินหน้าเติบโตอย่างมีคุณภาพบนพื้นฐานการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง โดยตั้งเป้าหมายเติบโตรายเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ไว้ที่ 15% หลังจากที่การดำเนินงานในปีแล้วธนาคารมีกำไรสุทธิเติบโต 400% คิดเป็นมูลค่า 2,044 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างองค์กร ตลอดจนการดำเนินการตามโครงการ TMB Transformation
โดยรายได้จากค่าธรรมเนียมตั้งเป้าเติบโต 20% ส่วนเงินฝากตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 17% และสินเชื่อรวมตั้งเป้าเติบโตประมาณ 10% แบ่งเป็นสินเชื่อเอสเอ็มอี ตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 20% ขณะที่สินเชื่อรายใหญ่ตั้งเป้าจะเติบโต 10% และสินเชื่อรายย่อยตั้งเป้าเติบโตประมาณ 7-8% พร้อมทั้งวางกรอบการพัฒนาคุณภาพสินทรัพย์ นอกจากนี้ในระยะยาวภายในปี 2557 ธนาคารตั้งเป้าสร้างอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ให้เพื่มขึ้นเป็น 14% จากปัจจุบัน ROE ของธนาคารอยู่ที่กว่า 4% ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งที่อยู่ 1%
ทั้งนี้ ธนาคารได้วางกลยุทธ์ 4 ด้าน ได้แก่ การเติบโตอย่างมีคุณภาพ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดโอกาสการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ใหม่ และลดเอ็นพีแอลเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนเอ็นพีแอล Ratioซึ่งอยู่ที่ 12.7% ในปีแล้วให้ลดลงมาอยู่ที่ 9% หรือต่ำกว่า โดยการปรับโครงสร้างหนี้ และการขายออกไปเมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณพ์และบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาว 5 ปีที่วางไว้
"สาเหตุที่ธนาคารปรับแผนระยะยาวเป็น 5 ปีจากเดิมที่วางไว้ 3 ปี เพราะในช่วงเวลานั้นยังไม่มีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น แต่ตั้งแต่ปีที่แล้วเศรษฐกิจทั่วโลกมีปัญหารวมถึงไทยด้วย ธนาคารจึงขยายระยะเวลาออกไปแต่ยังคงเป้าหมายเดิมไว้ทั้งหมด ซึ่งปี 2553-2554 เศรษฐกิจก็ยังมีความเปราะบางและผันผวน แต่อย่างไรก็ตามระยะเวลาไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อแผนการล้างขาดทุนสะสมใดๆเลย เพราะแผนการล้างขาดทุนสะสมเป็นเรื่องของบัญชี และที่ในอดีตปรับปรุงบัญชีไม่ได้เพราะติดปัญหาหุ้นบุริมสิทธิ์ที่กระทรวงการคลังถืออยู่"นายบุญทักษ์ กล่าว
|
|
|
|
|