Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน3 กุมภาพันธ์ 2553
ส่งออกเย้ยธปท.คุมบาทแค่จิตวิทยา             
 


   
search resources

Economics
Import-Export




นายแบงก์หนุนแบงก์ชาติผ่อนเกณฑ์ลงทุนนอกดูแลค่าเงินบาท "กรณ์" หนุน ชี้ความเชื่อมั่นต่างชาติกลับมา
ด้านผู้ส่งออกอ้างมาตรการลดผันผวนแค่จิตวิทยา ชะลอความผันผวนได้ระดับหนึ่ง แนะให้รัฐออกแพคเกจทางด้านสิทธิประโยชน์ภาษี ระบุค่าเงินบาทที่เหมาะสม 31.5 บาทต่อดอลลาร์

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการผ่อนคลายนโยบายในการดูแลเงินทุนไหลออกในระยะสั้นมากขึ้นนั้น เชื่อว่าจะส่งผลให้กลไกในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนที่ไหลเข้าและไหลออกของประเทศไทยมีความสมดุลเพิ่มมากขึ้น โดยการผ่อนคลายนโยบายดูแลเงินทุนไหลเข้าและไหลออกนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานของเศรษฐกิจและธุรกิจเป็นหลัก รวมทั้งจะต้องสามารถช่วยลดแรงกดดันเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทที่อาจจะมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้น และจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังมากพอสมควรจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะสามารถทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพหรือไม่นั้น คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป

สำหรับแนวโน้มการลงทุนในต่างประเทศของธนาคารกสิกรไทยนั้น ธนาคารจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายที่ธนาคารวางไว้ แต่สำหรับลูกค้าของธนาคารในปัจจุบันมีสัดส่วนไปลงทุนในต่างประเทศค่อนข้างสูง ซึ่งธนาคารพร้อมที่จะให้การสนับสนุนลูกค้าที่ต้องการลงทุนในต่างประเทศ ในด้านการบริหารจัดการและดูแลความเสี่ยงของลูกค้า

ด้านนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เชื่อว่าจะไม่ทำให้สภาพคล่องภายในประเทศที่มีอยู่ในขณะนี้เป็นจำนวนมากหายไป เนื่องจากแม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวดีขึ้นแต่ผลตอบแทนของการลงทุนในภูมิภาคเอเชียน่าจะยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจมากกว่าในแถบยุโรปและสหรัฐฯ ขณะเดียวกันภาพรวมการลงทุนภายในประเทศไทย ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ จึงเชื่อว่าจะยังคงสามารถดึงดูดเม็ดเงินบางส่วนไม่ให้ไหลออกไปได้

อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือในเรื่องการเคลื่อนไหวของค่าเงินและในอีกมุมหนึ่งก็ถือว่าเป็นผลดีต่อนักลงทุน ที่สามารถขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังคงมีความเปราะบางและมีความผันผวนมากพอสมควร แม้จะมีมาตรการออกมาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่มีความสำคัญ คือ ภาคธุรกิจต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับความผันผวน ขณะเดียวกันต้องพัฒนาศักยภาพตนเองอีกด้วย

"แม้ ธปท.จะมีการผ่อนเกณฑ์ดังกล่าว แต่ธนาคารยังคงยึดหลักการทำกำไรจากการให้บริการลูกค้า ไม่ใช่จากการไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งไม่ถือเป็นเป้าหมายของธนาคาร แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะสนับสนุนลูกค้าที่ต้องการไปลงทุนในต่างประเทศ พร้อมทั้งให้คำแนะนำทางด้านการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม" นายบุญทักษ์กล่าว

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า เห็นด้วยที่ ธปท.ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ เชื่อว่าจะไม่กระทบภาพรวมของเศรษฐกิจและช่วยสร้างความเชื่อมั่นของต่างชาติกลับมา

นักค้าเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ โดยเช้าวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 33.11-33.16 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.12-33.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.16 -33.17 บาทต่อดอลลาร์ และปิดตลาดในช่วงเย็นที่ระดับ 33.13-33.15 บาทต่อดอลลาร์ โดยแนวโน้มวันนี้คาดว่าค่าเงินบาทจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ที่ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์

ส.อ.ท.มาตรการธปท.แค่จิตวิทยา

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า มาตรการที่ออกมามีผลในแง่ของจิตวิทยามากกว่าเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังไม่ได้ฟื้นตัวมากนักทำให้การออกไปลงทุนยังต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่ายนักอาจจะมีเหลือเพียงประเทศไม่กี่แห่งที่ยังมีโอกาสเช่น จีน และเวียดนาม แต่ก็ยังมีอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องระวังความเสี่ยงเช่นกัน

“เป็นการชะลอความต้องการเงินบาทลงเพราะขณะนี้เงินสกุลดอลาร์สหรัฐเข้ามาในภูมิภาคมากรวมถึงประเทศไทย เพราะเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ฟื้นตัวมากตามที่หลายฝ่ายคิดไว้ ขณะเดียวกันยังมีแนวโน้มเงินยูโรที่จะเข้ามาอีกเพราะมีการวิตกว่าอาจเกิดฟองสบู่ก็จะมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า”นายธนิตกล่าว

ในแง่ของผู้ส่งออกภาวะค่าเงินบาทที่เหมาะสมคือต้องสะท้อนกับภูมิภาคแต่ที่ผ่านมาพบว่าค่อนข้างแข็งกว่าแต่ทางธปท.ระบุว่าไม่ได้แข็งค่ากว่าเพราะธปท.ใช้แนวคิดการนำสกุลเงินทั้งหมดมาคิดเฉลี่ย(Neer) ขณะที่เอกชนต้องการเทียบค่าเงินบาทกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ(Reer)ที่ขณะนี้ ควรจะอยู่ที่ระดับ 33.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า มาตรการของธปท.คงจะช่วยลดความผันผวนของค่าเงินบาทได้ระดับหนึ่งเพราะจะมีการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้สะดวกกว่าอดีตแต่จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดคงจะต้องขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนจะนำเงินออกไปลงทุนยังต่างประเทศมากน้อยเพียงไรเป็นสำคัญหากเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศไม่มากขึ้นก็อาจไม่ทำให้นโยบายดังกล่าวมีประสิทธิภาพได้เต็มที่นัก

หากมองระยะยาวในการส่งเสริมให้ธุรกิจไทยนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศอย่างเสรีรัฐบาลควรจะออกแพคเกจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้ลดหย่อนภาษีรายได้จากการลงทุนกลับเข้ามาในประเทศ สิทธิประโยชน์ทางด้านการส่งออกแรงงาน ฯลฯ เพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนในทุกส่วนอย่างแท้จริงไม่ใช่เฉพาะรายใหญ่เท่านั้นเนื่องจากรายใหญ่จริงได้มีการออกไปลงทุนต่างประเทศบ้างแล้วการมีมาตรการดังกล่าวเพียงแต่จะทำให้ธุรกิจคล่องตัวขึ้น

“ขณะนี้กลุ่มที่ออกไปลงทุนจะเป็นพวกกองทุนต่างๆ แต่กลุ่มที่จะไปลงทุนในภาคธุรกิจหรือReal Sector )ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีค่อนข้างมีความเสี่ยงควรจะมีมาตรการสิทธิประโยชน์โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอน่าจะออกเป็นแพคเกจพิเศษในเรื่องนี้ด้วย”นายสันติกล่าว.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us