|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผ่อนคลายมาตรการลงทุนนอกอ้าซ่า ธปท.เลิกคุมวงเงินลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ ยกเลิกสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าได้ หวังสกัดการเก็งกำไรค่าบาท รับมือเงินทุนไหลเข้าผันผวน เผยหากมีการผ่อนคลายเพิ่มเติมจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ภาคธุรกิจปรับตัวได้ ศูนย์วิจัยกสิกรชี้สร้างสมดุลในระยะยาว
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงมาตรการผ่อนคลายระเบียบควบคุมแลกเปลี่ยนเงินตราเพิ่มเติม 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.อนุญาตให้นิติบุคคลหรือบริษัททั่วไปของคนไทยสามารถลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ รวมถึงให้กู้ยืมแก่บริษัทแม่หรือกิจการในเครือในต่างประเทศได้ไม่จำกัดวงเงิน จากเดิมที่กำหนดให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ลงทุนไม่จำกัดจำนวน และให้กู้ยืมไม่เกิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ขณะที่บริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์การลงทุนหรือการกู้ยืมไม่เกิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันธุรกิจไทย และลดความแตกต่างระหว่างบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์
"ขณะนี้มองว่าเสถียรภาพในต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ จึงคาดว่าจะมีเงินทุนไหลเข้าในภูมิภาคเอเชียมากขึ้นในปีนี้ทำให้ ธปท.ต้องออกมาตรการเพิ่มเติม เพื่อให้บุคคลธรรมดาและภาคธุรกิจมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการธุรกิจ เพิ่มโอกาสและทางเลือกใหม่ๆ"
ธปท.ได้ขยายวงเงินลงทุนหลักทรัพย์ในต่างประเทศให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ไปจัดสรรให้แก่ผู้ลงทุนเป็น 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมให้ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในจำนวนนี้ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.52 มียอดคงค้างการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศไปแล้ว 20,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันเพิ่มขึ้น 61.74%
2.อนุญาตให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสามารถยกเลิกธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนค่าสินค้าและบริการได้ทุกกรณี จากเดิมกำหนดให้ต้องมีเหตุผลจำเป็นในจำนวนเกิน 20,000 เหรียญสหรัฐ แต่ถ้าไม่มีเหตุผลจำเป็นต้องขออนุญาต ธปท.เป็นรายกรณี เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจมีความสามารถในการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น รวมถึงช่วยส่งเสริมการพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศให้สามารถสะท้อนปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานเงินตราต่างประเทศมากขึ้น
“ธปท.ไม่ห่วงว่าจะมีการเก็งกำไรค่าเงินบาทเกิดขึ้น เพราะผู้ส่งออก-ผู้นำเข้าสามารถยกเลิกทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้ แต่ต้องมีธุรกรรมรองรับ ขณะเดียวกันแบงก์พาณิชย์ที่ให้บริการก็จะมีการตรวจสอบที่ดี ขณะเดียวกันในปีนี้ทิศทางเงินทุนเคลื่อนย้ายปีนี้จะมีความผันผวนมากขึ้น ทำให้คาดการณ์เงินบาทได้ยาก”รองผู้ว่าการธปท.กล่าว
3.ในการประกอบธุรกิจศูนย์บริหารเงินเพื่อบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศให้แก่บริษัทในเครือ โดยอนุญาตให้ใช้นิติบุคคลเดิมประกอบธุรกิจบริหารเงินได้ โดยไม่จำเป็นต้องจัดตั้งบริษัทใหม่ อนุญาตให้ศูนย์บริหารเงินสามารถโอนเงินตราต่างประเทศกับบริษัทในเครือในไทยได้ จากเดิมกำหนดเงินบาทเท่านั้น และผ่อนคลายคุณสมบัติของผู้ขอจัดตั้งศูนย์บริหารเงินให้มีบริษัทในเครือที่จดทะเบียนในไทยและต่างประเทศอย่างละ 2 บริษัท จากเดิมที่กำหนดให้มีเฉพาะบริษัทในเครือ 3 บริษัทที่จดทะเบียนในไทย เวียดนาม และประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับไทย เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถจัดการเงินตราต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและสนับสนุนให้บริษัทข้ามชาติที่มีฐานผลิตในไทยย้ายการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศเข้ามาอยู่ในไทย และสนับสนุนให้ใช้ไทยเป็น Regional Operating Headquarter ตามนโยบายภาครัฐ รวมถึงช่วยพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารเงินด้วย
นอกจากนี้ ธปท.ยังขยายวงเงินให้สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศเป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จากเดิม 5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ส่วนการให้กู้ยืมแก่บริษัทในต่างประเทศที่ไม่ใช่บริษัทในเครือที่ไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีไม่ต้องขออนุญาตเป็นรายกรณี จากเดิมทุกรณีต้องอนุญาต ขณะเดียวกันเพิ่มยอดคงค้างในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศที่เปิดกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศเป็น 500,000 เหรียญสหรัฐ สำหรับนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา จากเดิมที่กำหนดให้บัญชีเงินตราต่างประเทศประเภทแหล่งในประเทศแบบไม่ต้องแสดงภาระผูกพันฝากได้ไม่เกิน 300,000 เหรียญสหรัฐ สำหรับนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา 100,000 เหรียญสหรัฐ
สำหรับการอนุญาตให้ยกเลิกธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนกรณีค่าสินค้าและบริการ รวมถึงเรื่องการขยายวงเงินลงทุนหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่อนุมัติให้ก.ล.ต.จัดสรรจะมีผลบังคับใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ.นี้เป็นต้นไป สำหรับการผ่อนคลายเรื่องอื่นๆ ที่เหลืออยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังออกประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดว่าไม่เกินสิ้นเดือน ก.พ.นี้
“ถ้าจะมีการเปิดเสรีการผ่อนคลายเพิ่มเติมในอนาคต แบงก์ชาติจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไปให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวได้และสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ”รองผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว
***ศูนย์กสิกรฯชี้ช่วยสร้างสมดุล
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยกล่าวถึงการผ่อนคลายหลักเกณฑ์ โดยเฉพาะการดูแลเงินทุนไหลออก เพื่อรับมือความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายว่า จะเป็นผลดีต่อภาคเอกชนในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศแล้วแล้วยังเป็นกลไกที่อาจช่วยสร้างสมดุลคอยบรรเทาผลกระทบที่ค่าเงินอาจได้รับในยามที่มีกระแสเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ทิศทางค่าเงินบาทช่วงนี้ คาดว่าจะยังคงถูกกำหนดโดยการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ฯ เป็นหลัก โดยหากเงินดอลลาร์ยังคงได้รับแรงหนุนจากการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นเพราะปัญหาฐานะการคลังและพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของยูโรโซน หรือการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของทางการจีนแล้ว คาดว่าเงินบาทอาจยังคงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันให้อ่อนค่าลง ซึ่งเป็นไปตามกระแสของค่าเงินในภูมิภาค ตลอดจนการปรับตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลก
***บาทปิดอ่อนค่าที่ 33.20
เงินบาทปิดตลาดเย็นวานนี้ (1 ก.พ.) ที่ระดับ 33.18/20 บาทต่อดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากช่วงเช้าที่ระดับ 33.17/19 บาทต่อดอลลาร์ โดยระหว่างวันปรับตัวอ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.23/26 เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าหลังตัวเลขจีดีพีของสหรัฐออกมาค่อนข้างดี และเกิดความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป
ด้านนักบริหารเงินคาดการณ์ วันนี้ (2 ก.พ.) เงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวอ่อนค่าได้อีกเล้กน้อย โดยจะเคลื่อนไหวระหว่าง 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์
|
|
|
|
|