Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2527
การใช้คอมพิวเตอร์วางแผนระยะยาวของกิจการขนส่ง             
โดย สหัส พรหมสิทธิ์
 

   
related stories

ประเทศไทยกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ผู้แทนจำหน่าย

   
search resources

Computer
Transportation




ในท่ามกลางการวางแผนทางการเงินที่มีอยู่หลายรูปแบบ การวางแผนการเงินระยะยาวในรูปของ broad financial planning ที่ครอบคลุมการดำเนินงานของทั้งกิจการนั้นจัดเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดกิจกรรมหนึ่ง เพราะได้นำเอาเรื่องของการเติบโตของรายได้ การจ่ายเงินปันผล โครงสร้างของเงินทุน สภาพคล่องและอื่นๆ เข้ามาพิจารณาอย่างครบครันในช่วงเวลาของการวางแผน ซึ่งกำหนดไว้ 5 ปี โดยสามารถใช้ผลของการคำนวณ (optimal plan) เป็นเครื่องกำหนดว่าควรจะดำเนินการอย่างไรบ้างทั้งอนาคตอันใกล้และไกล เพื่อให้กิจการค้าบรรลุเป้าหมายต่างๆ ที่ตั้งเอาไว้

การวางแผนระยะยาวที่มีทั้งข้อจำกัด และเป้าหมายต่างๆ ที่จะนำมากล่าวนี้เป็นผลของการวางแผนด้านการเงินของกิจการขนส่งทางบกขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีรายได้จากการให้เช่ารถบรรทุก และรายได้จากการขนส่งโดยผู้บริหารได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในเรื่องของ

(1) การเติบโตของรายได้

(2) โครงสร้างของเงินทุน และ

(3) การสามารถจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

และให้ถือว่า นโยบายหลักทั้งสามข้อนี้เป็นภาระอันสำคัญที่ผู้บริหารกิจการนี้จะต้องบรรลุให้ได้โดยเริ่มตั้งแต่ปีที่ 2 จนครบกำหนดห้าปีแรก

หัวใจของปัญหาจึงอยู่ที่การมีเงินหมุนเวียนไว้ลงทุนซื้อรถใหม่ๆ ได้ตลอดเวลาเพื่อให้บริการในด้านการให้เช่าและการขนส่งให้เพิ่มมากขึ้นโดยเร็วที่สุด เพราะจะมีผลต่อการเติบโตของรายได้และการจ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้น และให้รางวัลตอบแทนแก่พนักงานในรูปของโบนัส ฯลฯ แต่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ก็ต้องอาศัยโครงสร้างทางการเงินที่ดี ซึ่งต้องการการลงทุนอย่างระมัดระวังและพยายามตัดการรั่วไหลให้มากที่สุด

สรุปแล้ว ผู้บริหารกิจการขนส่งอันนี้ต้อง

(1) สามารถจ่ายเงินปันผลขั้นต่ำสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นให้ได้ทุกปี และกำหนดให้เป้าหมายอันนี้มีความสำคัญมากที่สุด

(2) ให้การเติบโตของรายได้ของแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของรายได้สุทธิอันเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญเป็นอันดับสอง และ

(3) สามารถจ่ายเงินปันผลส่วนพิเศษเพิ่มเติมให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยพยายามจ่ายให้ถึงร้อยละ 50 ของรายได้สุทธิของแต่ละปี

อันนี้เป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญน้อยที่สุดในบรรดาเป้าหมายทั้งสาม

ในทางปฏิบัติเราอาจบรรลุเป้าหมายต่างๆ ที่ตั้งไว้ไม่ได้หมดทุกเป้าหมาย เพราะอาจเกิดเหตุสุดวิสัย (เช่นเกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจ การลดค่าของเงิน ฯลฯ) หรือเกิดจากความบกพร่องในการบริหารงานซึ่งคงต้องแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วเพื่อสวัสดิภาพของผู้บริหารเอง และของผู้ถือหุ้นตลอดจนพนักงานจำนวนพันคนที่ฝากชีวิตไว้กับกิจการแห่งนี้

การเติบโตของรายได้ที่รวมไปถึงกำไรของกิจการขนส่งแห่งนี้ ก็เหมือนการค้าอื่นๆ ที่ต้องขึ้นกับการสามารถลงทุนได้อย่างพอเพียงในช่วงเวลาต่างๆ ที่ต้องการจะลงทุนโดยในกรณีนี้มีแหล่งเงินอยู่สามแหล่งด้วยกันคือ

(1) Equipment Trust Loans (ETL)

(2) การกู้จากบริษัทแม่ และ

(3) เงินที่ได้มาจากภายในของกิจการขนส่งเอง

การกู้แบบ ETL ยอมให้กู้ได้ถึงร้อยละ 80 ของราคารถใหม่ และจ่ายคืนภายใน 15 ปี

นอกจากนี้จำนวนเงินกู้ได้ในแต่ละปี จะต้องไม่เกินสองเท่าของมูลค่าสุทธิของกิจการและจำนวนเงินกู้จากบริษัทแม่

แหล่งเงินกู้จะเป็นผู้มีส่วนกำหนดโครงการเงินลงทุนในแง่ของการเก็บสำรองรายได้ไว้ส่วนหนึ่งเพื่อเพิ่มฐานในการกู้ยืม

ความต้องการอันนี้จะไปขัดกับการจ่ายเงินปันผลที่อาศัยการเติบโตของรายได้เป็นหลัก ซึ่งมีการเชื่อมโยงกันมากมายจนเหมาะที่จะปล่อยให้กรรมวิธีทางคำนวณเป็นผู้หาความพอเหมาะพอดีออกมา (optimization)

ส่วนการกู้เงินจากบริษัทแม่นั้นให้กู้ได้ในปีที่ 4 โดยจำกัดว่ากู้ได้ร้อยละ 43 ของมูลค่าสุทธิของกิจการ (net worth) โดยหักหนี้ตกค้างอยู่ออกให้หมดเสียก่อน

ผู้บริหารกิจการขนส่งต้องทราบรายละเอียดอันเป็นผลจากการวางแผนการเงิน 5 ปีดังนี้คือ

(1) วงเงินรายได้ที่เกิดจากการให้เช่ารถบรรทุกและการให้บริการขนส่งสินค้า สำหรับแต่ละปี

(2) เงินที่ต้องนำมาลงทุนเพื่อจัดซื้อรถบรรทุกใหม่ๆ ในแต่ละปี

(3) ค่าสึกหรอของรถที่ใช้งานอยู่ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับเงินกู้แบบต่างๆ กำไรก่อนหักภาษี และวงเงินของการกู้แบบ ETL ในแต่ละปี

(4) จำนวนเงินที่ต้องจ่ายเป็นเงินปันผลขั้นต่ำสุด และเงินปันผลพิเศษ (extra dividends) ในแต่ละปี

(5) มูลค่าสุทธิของทั้งกิจการขนส่งสำหรับแต่ละปี และ

(6) จำนวนเงินที่ต้องกู้จากบริษัทแม่ในปีที่ 4 ผู้บริหารต้องการทราบอีกว่า ในกรณีที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทั้งสามที่กำหนดไว้แต่แรกได้หมดนั้น มีการพลาดเป้าหมายแต่ละอันไปในทางสูงกว่า หรือต่ำกว่า คิดเป็นปริมาณเท่าใดในแต่ละปี

ซึ่งการคำนวณจะให้คำตอบข้างต้นได้หมด เพราะได้กำหนดให้เป็นตัวแปรค่าไว้ตั้งแต่แรกแล้วจากนั้น ก็ใช้คอมพิวเตอร์หาคำตอบที่เป็นแผนอันสมบูรณ์แบบออกมาโดยแสดงคำตอบต่างๆ ทีละปีจนครบ 5 ปี

ตัวเลขข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนระยะยาวของกิจการขนส่งจะประกอบด้วย

(1) มูลค่าของรถบรรทุกที่มีอยู่ทั้งหมดในปีแรกของการวางแผน (12,140 ล้านบาท)

(2) มูลค่าสุทธิของกิจการในตอนแรกเริ่ม (2,540 ล้านบาท) และ Target earnings ในปีแรกเท่ากับ 400 ล้านบาท

(3) หนี้บริษัทแม่ที่ตกค้างมาก่อนและปรากฏอยู่ในปีที่ 4 เป็นเงิน 1,000 ล้านบาท ส่วนข้อมูลหลักในช่วงของการวางแผน 5 ปีได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 โดยมีหน่วยเป็นล้านบาท ส่วนข้อมูลประกอบอื่นๆ ก็มี

(1) ค่าสึกหรอและอัตราดอกเบี้ยคิดเป็นร้อยละ 4 และ 5 ต่อไปโดยลำดับ

(2) อัตราการจ่ายหนี้คือบริษัทแม่ และ ETL ร้อยละ 2.8 และ6.7 ต่อปี และ

(3) รายได้จากการให้เช่าและการขนส่งเมื่อหักค่าดำเนินงานออกแล้วคิดร้อยละ 14

จุดมุ่งหมายในเวลาคำนวณเพื่อหาแผนระยะยาวนี้มุ่งไปที่การหาค่าเบี่ยงเบน (deviation)จากเป้าหมายแต่ละอันที่กำหนดไว้ให้มีค่าน้อยที่สุด คือถ้าไม่มีการพลาดจากเป้าหมายที่วางไว้เลย ก็จะดีที่สุด ส่วนจะเป็นได้สักแค่ไหนนั้นต้องให้ผลของการคำนวณเป็นเครื่องตัดสิน หรืออาจต้องแก้ไขและปรับแผนจนเห็นว่าพอปฏิบัติตามได้ งานวางแผนประเภท broad financial planning เช่น ของกิจการขนส่งนี้มีตัวแปรค่า 61 ตัว และมี 56 สมการจึงจัดเป็นปัญหาขนาดย่อมที่อยู่ในวิสัยของผู้จัดการส่วนใหญ่ การวางแผนเตรียมการได้ล่วงหน้าแบบนี้จะชี้ให้เห็นอะไรๆ ได้มาก และช่วยให้เห็นความเป็นไปได้ในด้านการงาน (รายได้) กำไรที่คาดว่าจะมี หนี้สินที่ทวีขึ้นในอนาคต และอื่นๆ อันจำเป็นแก่การกำหนดนโยบายให้การดำเนินงานต่างๆ สามารถนำรายได้มาสู่กิจการโดยบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ด้วยในเวลาเดียวกัน การวางแผนนั้นไม่สามารถเอาชนะความผันผวนไม่แน่นอนในโลกของการค้าได้หมดก็จริง ในทางตรงข้ามนักธุรกิจบางท่านกลับเห็นว่ายิ่งมีความไม่แน่นอนมากเท่าใด การวางแผนระยะยาวก็ยิ่งจำเป็นในแง่ของการผ่อนแรงมากเท่านั้น เพราะนักยุทธศาสตร์ด้านการค้าจะได้สามารถใช้เวลาที่เหลือจากการไม่ต้องเป็นห่วงปัญหาระยะยาวมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือวางแผนระยะสั้นที่ต้องการการตัดสินใจอย่างฉับพลันได้

การวางแผนระยะยาวโดยเริ่มด้วยตัวเลขในปัจจุบัน และอาศัยการคาดคะเนสำหรับอนาคตที่ค่อนข้างแน่นอน โดยไม่ได้นำเอาความผันผวนหรือวิกฤตการณ์มาพิจารณาก็เพราะเป็นงานในอันดับแรกๆ ที่ต้องการจะทราบผลของการวางแผนในบรรยากาศการลงทุนที่เป็นปกติธรรมดาเสียก่อน เพื่อให้มีแนวทางในการดำเนินงานอย่างคร่าวๆ ในชั้นต้น

ชั้นต่อไปจึงเริ่มผาดแผลงงานวางแผนด้วยการแปรตัวเลขข้อมูลบางอันที่เป็นเครื่องสะท้อนสภาพทางเศรษฐกิจ โดยจะกำหนดให้มีค่ามากน้อยแค่ไหนในแต่ละปี ก็ทำได้

ตัวเลขอันสำคัญที่จะนำมาจำลองสภาพเศรษฐกิจให้แปลกจากสภาวะปกตินั้น อาจอาศัย

(1) อัตราดอกเบี้ย

(2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานบางรายการหรือตัวเลขอื่นใดที่เห็นว่าจะมีผลทำให้ เหมือนการเกิด

(1) ภาวะเงินเฟ้อ

(2) วิกฤตการณ์พลังงาน หรือ ฯลฯ ก็นำมาใช้กับ model เช่น กิจการขนส่ง ได้ทั้งสิ้น เพราะการวางแผนโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ (เช่นในกิจการขนส่งนี้) ใช้เวลาคำนวณสำหรับแผนแต่ละแผนเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น จึงเห็นได้ว่า หากรู้จักการแปรผันตัวเลขโดยอาศัยประสบการณ์ด้านการค้าให้มากเท่าใด การใช้คอมพิวเตอร์มาวางแผนก็จะประสบผลดีมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าสภาพของเศรษฐกิจจะแน่นอนหรือปั่นป่วนสักเพียงใด เพราะพ่อค้าที่ดีนั้นมักมีแผนเป็นสิบๆ แผนไว้คอยตั้งรับการจู่โจมทางเศรษฐกิจได้สารพัดแบบ จึงทำให้ผ่านพ้นมรสุมได้เกือบทุกครั้ง การวางแผนด้วย optimization techniques ที่กล่าวมามากพอสมควรนั้นไม่ได้เป็นวิธีการเพียงอันเดียว คือยังมีกรรมวิธีอื่นๆ อีก เช่น management systems dynamic ฯลฯ ซึ่งล้วนต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และตัวโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาไว้ให้พร้อมที่จะใช้ได้ทันที

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us