Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
From Third World to First the Singapore Story: 1965-2000             
 





เป็นเล่มสองของหนังสือกึ่งอัตชีวประวัติและกึ่งประวัติทางการเมืองของสิงคโปร์ โดย นายลีกวนยิว อดีตนายกรัฐมนตรี และปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีอาวุโส หนังสือนี้พิมพ์โดย Harper Collins หนา 729 หน้า เนื้อความ 691 หน้า

ลีกวนยิวได้เล่าประวัติของตนในภาพของพัฒนาการเมืองภายในและระหว่างประเทศของสิงคโปร์ และในเล่ม สองนี้เป็นส่วนของยุคหลังจากที่สิงคโปร์ ถูกเตะออกมาจากประเทศมาเลเซีย เพราะการส่งผู้สมัครของพรรคกิจประชาคมลงรับเลือกตั้งบนแผ่นดินใหญ่ มาเลเซีย อันเป็นการผิดข้อตกลงที่ลีกวน ยิวเคยมีกับอับดุลเลาะห์มาน อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงนี้ ลีกวนยิวไม่ได้เอ่ยถึง และยังมีข้อเท็จจริงอีกหลายเรื่องที่หนังสือนี้ไม่ได้กล่าวไว้ชัด เช่น การปิดมหาวิทยาลัยหนันหยางที่ใช้ภาษาจีน เพราะเกรงกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ.1975 อันเป็นปีเดียวกับที่เวียดนาม ใต้แตก การอ้างเรื่องประสิทธิภาพการเรียนการสอนต่ำนั้น เป็นแค่เพียงการแก้ เกี้ยว เมื่อมหาวิทยาลัยนี้ก็สอนมาแต่ ค.ศ.1953 และลีกวนยิวก็มีอำนาจมาแต่ปี ค.ศ.1959 การที่ลีกวนยิวไม่ยอมใช้พู่กันจีนเขียนสมุดที่ระลึกเมื่อไปเยี่ยมประเทศจีน ลีกวนยิวก็อธิบายว่าตนไม่ถนัดกับการใช้พู่กัน แท้ที่จริงอาจเป็นได้ ว่าเขาไม่สามารถเขียนอักษรจีนได้ถูกต้อง ตามวิธีเขียนอักขระซึ่งต้องมีลำดับการเขียนที่แน่นอน ซึ่งรอยพู่กันจะเป็นเครื่อง ฟ้องว่าผู้เขียนนั้นรู้วิธีเขียนหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ต้องนับว่าหนังสือ นี้เป็นหนังสือชั้นนำในทางประวัติทางการ เมืองของสิงคโปร์บุคคลสำคัญๆ ทั่วโลก รวมทั้งของประเทศไทยได้รับการกล่าวถึง แต่ด้วยท่าทีและสำนวนแคะไค้ของลีกวน ยิว แสดงว่าบุคคลเหล่านี้ถูกมองจากสายตาวิเคราะห์ที่มองโลกในแง่ร้าย

อาจกล่าวได้ว่าหลังจากหนังสือเล่มนี้แล้วยังไมรู้ว่าสิงคโปร์ยังมีมิตรประเทศเหลืออีกกี่ประเทศ เคราะห์ดีก็คือ บุคคลสำคัญที่ลีกวนยิวกล่าวถึง มักเป็น ผู้ที่ปรากฏอยู่ในช่วงก่อน ค.ศ.1990 ซึ่งเป็นปีที่เขาลงจากอำนาจ แต่ยังกุมบัง- เหียนของประเทศอยู่แม้จนทุกวันนี้ก็ตาม

ในตอนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ได้ กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ร่วมแสดงนั้น ซึ่งในประเทศไทย และที่อื่นทั่วโลกเขาเรียกกันว่า The Ugly American แต่ในหนังสือเรียกภาพยนตร์เรื่องเดียวกันว่า The Quiet American เป็นไปได้ว่าที่สิงคโปร์เจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์กระทั่งชื่อภาพยนตร์เพื่อเอาใจอเมริกัน

ประเทศสิงคโปร์นั้น เอาใจสหรัฐ อเมริกามาตลอดเพื่อความอยู่รอดของสิงคโปร์ในปี ค.ศ.1974 มีมติพิเศษสหประชาชาติว่าด้วยแผนปฏิบัติการสำหรับกฎบัตรว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของ รัฐในทางเศรษฐกิจ ดูเหมือนราชารัตนัม อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศในสมัยนั้น ประกาศว่าสิงคโปร์ขอยืนอยู่ข้างฝั่งประเทศที่เจริญแล้ว คือ ลงมติไม่ออกเสียงในมติฉบับดังกล่าว แต่ในหนังสือนี้มีหลายตอนที่ลีกวนยิวโอดโอย เกี่ยวกับการตัดสิทธิพิเศษ GSP ทั้งที่เป็นเหตุการณ์หลัง ค.ศ.1974 อาจกล่าวได้โดยสรุปว่าเป็นเรื่องกล้าได้กลัวเสียตามวิสัยของสิงคโปร์

หนังสือนี้ยังมีการพิมพ์ผิดพลาด อยู่พอสมควร เช่น หนังสือนี้กล่าวถึง ห้องที่นายพลญี่ปุ่นใช้วางแผนบัญชาการ ใน ค.ศ.1943 แล้ว นับจนถึงปีที่เกิดเหตุ การณ์ที่กล่าวถึงในปี ค.ศ.1983 ก็คงกิน เวลา 40 ปี แต่เนื้อความพูดว่า 10 ปี ซึ่ง นับว่าเป็นการผิดพลาดที่ให้อภัยยาก ถ้าคิดว่าลีกวนยิวมีคนช่วยทำหนังสือเล่มนี้เป็นจำนวนนับสิบ

ในอีกที่หนึ่งก็มีการพูดในเชิงตัวเลขกล่าวถึงจำนวนหกสามครั้ง ซึ่งควรได้ยอดสิบแปด แต่ในหนังสือกล่าวถึงแปด แปดกับสิบแปดใกล้กันมากทาง ภาษาอังกฤษคือ Eight กับ Eighteen เข้าใจว่าคนนับสิบที่ช่วยไม่ได้เอาใจใส่ในการพิสูจน์อักษรมากนัก ข้อผิดพลาด นี้จึงยังคงค้างจากพนักงานพิมพ์ต้นฉบับ มาจนถึงขั้นเรียงพิมพ์

ราคาปกของหนังสือเล่มนี้ คือ 35 เหรียญสหรัฐอเมริกา แต่ราคาจริงในท้องตลาดประเทศไทย ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท และควรรู้ด้วยว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่พูดในหนังสือเล่มนี้ถูกต้องแท้จริง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us