|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย แจงตัวเลขส่งออก-ลงทุนอุตสาหกรรมไทยเดือนธ.ค.52สะท้อนภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งเกินคาด คาดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปี53ไต่รนะดับสูงกว่า 3.5% หลังตัวเลขการขยายตัวเดือนสุดท้ายของปี52 สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่2.3% นับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจเดือนธ.ค.52 ที่ผ่านมา สะท้อนการขยายตัวในภาพกว้างดีดตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจหลายๆตัว มีปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นสอดคล้องกัน โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน บ่งชี้ว่ามีอัตราการขยายตัวในเดือนธ.ค.52เพิ่มขึ้น 1.3% จากเดือนพ.ย. ที่ขยายตัว 0.1% เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของรายได้ภาคการเกษตร และภาวะการจ้างงาน
นอกจากนี้ การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนยังสอดคล้องกับทิศทางของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคซึ่งปรับตัวขึ้นมาที่ระดับ 77.7 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 76.5 ในเดือนพ.ย. ทั้งนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี51การบริโภคภาคเอกชนมีการขยายตัว 3.9% ในเดือนธ.ค. ใกล้เคียงกับที่ขยายตัว 4.0% ในเดือนพ.ย. สำหรับองค์ประกอบสำคัญที่ชี้วัดถึงการขยายตัวได้ต่อเนื่อง คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัว 8.3% ภาคการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัว15.5% ขณะที่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์ขยายตัว 35.5% หลังได้รับแรงกระตุ้นจากการเร่งทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย การนำเสนอรถรุ่นใหม่ และอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่อง
ส่วนยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ประมาณ15.7% เนื่องจากได้รับแรงหนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้ภาคเกษตรกร นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี สังเกตได้จากดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ที่ขยายตัวจากเดือนพ.ย.52เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน โดยขยายตัวอยู่ที่ 1.4% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่ขยายตัว 2.2% ในเดือนพ.ย. โดยการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ
ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจปรับสู่ขึ้น สะท้อนความเชื่อมั่นที่เพิ่มสูงกว่าค่ากลาง (มากกว่า 50.0) โดยปรับตัวมาอยู่ที่50.4 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย. อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะกลับมาขยายตัวเท่ากับช่วงก่อนวิกฤต เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังคงอ่อนไหวต่อปัจจัยลบ อาทิ ความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศ การขยับขึ้นของต้นทุนการผลิตและราคาน้ำมัน ประเด็นทางการเมือง และการยืดเยื้อของปัญหาการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี51การลงทุนภาคเอกชนถือว่าชะลอการหดตัวมาแล้ว 8 เดือนติดต่อกัน โดยหดตัวเพียง2.3% ลดลงต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับการหดตัว 6.5% ในเดือนพ.ย. ซึ่งองค์ประกอบที่สะท้อนการฟื้นตัวต่อเนื่องของการลงทุน ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.4% ตามทิศทางของภาคการก่อสร้าง ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัว13.2% เพราะได้รับแรงกระตุ้นจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย ขณะที่ การนำเข้าสินค้าทุน กลับมาขยายตัวที่ 2.3% หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี และมูลค่าการส่งเสริมลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ขยายตัวสูงถึง 2,245.8% ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและอานิสงส์จากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
อุตฯ-เกษตรกรกลับมาขยายตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานต่อว่า สำหรับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม มีขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าสูงถึง 10.4% หลังจากที่มีการหดตัว 0.3% ในเดือนพ.ย. เนื่องจากอุตสาหกรรมส่งออกมีการเร่งขยายการผลิตค่อนข้างมาก โดยอัตราการผลิตสินค้าส่งออกมีสัดส่วนมากกว่า 60% ของการผลิตรวม หรือมีการขยายตัว 16.8% จากเดือนพ.ย.52 ขณะที่ สัดส่วนการส่งออกอยู่ระหว่าง30-60% ของการผลิตรวม ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.0% จากเดือนพ.ย.เช่นกัน ทั้งนี้ การที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเร่งตัวสูงขึ้นส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นแตะระดับ69.1% จากเดิมที่ในเดือนพ.ย.มีการใช้กำลังการผลิตรวมที่ 67.0%
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ถือว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างพร้อมเพรียงในทุกหมวด โดยอัตราการการผลิตสินค้าส่งออกมีสัดส่วนสูงถึง60% ของการผลิตรวม ขยายตัวถึง 70.5% ในเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัว11.2% ในเดือนพ.ย. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตในหมวดอาหารทะเลกระป๋อง/แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง แผงวงจรรวม Hard Disk Drive และโทรทัศน์สี ส่วนการผลิตสินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกน้อยกว่า30% ของการผลิตรวมขยายตัวต่อเนื่อง 9.9% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่ขยายตัว10.8% ในเดือนพ.ย. เช่น ปิโตรเคมีขั้นปลาย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และรถยนต์นั่ง ส่วนการผลิตสินค้าที่สัดส่วนการส่งออกอยู่ระหว่าง30-60% ของการผลิตรวม ขยายตัวถึง 14.0% ในเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัว 2.7% ในเดือนพ.ย. โดยเฉพาะการผลิตในหมวดเหล็กแผ่นรีดร้อนและเย็น รถยนต์พาณิชย์ และยางรถยนต์
ภาคเกษตรกรรับอานิสงส์ราคาพืชผลปรับตัว
ด้านรายได้ภาคเกษตรกร นั้นกลับมาขยายตัว 11.8% เมื่อเทียบปีต่อปี หลังจากที่ทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 9 เดือนก่อนหน้า โดยการปรับตัวขึ้นของรายได้เกษตรกร ได้รับอานิสงส์มาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลการเกษตรเป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาพืชผล ขยายตัวสูง11.0% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.4 %ในเดือนพ.ย.
สำหรับการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้นโดยในช่วงเดียวกันปีก่อนมูลค่าการส่งออกขยายตัว 14.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนพ.ย. และขยายตัว 26.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี51 ซึ่งถือมีการขยายตัวต่อเนื่องจากที่ขยาย17.4% ในเดือนพ.ย.ปี52 โดยการส่งออกขยายตัวสูงในเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดที่ใช้แรงงานสูง ที่หดตัว 41.9%
ขณะที่การนำเข้าเร่งตัวขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และช่วงเดียวกันปีก่อนเช่นกัน โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 19.9% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วขยายตัวขึ้น 33.0% โดยเป็นการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญจากที่หดตัว 0.3%ในเดือนพ.ย. ทั้งนี้ เศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องได้กระตุ้นให้การนำเข้าขยายตัวพร้อมกันในทุกหมวด ได้แก่ หมวดสินค้าทุน ซึ่งพลิกจากที่หดตัวมาขยายตัว 4.6% สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัว 17.1% หมวดวัตถุดิบขยายตัว 29.3% และหมวดเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นขยายตัว15.9%
ขาดดุลการค้าในรอบ 13 เดือน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าเร่งตัวสูงขึ้นกว่ามูลค่าการส่งออก โดยดุลการค้าบันทึกยอดขาดดุลที่ระดับ 122 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในเดือนธ.ค.52 เทียบกับที่เกินดุล 1,106 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย.52 ทั้งนี้ ดุลบริการฯ สามารถบันทึกยอดเกินดุลสูงถึง 880 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค. เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 45.2% ดังนั้น เมื่อรวมดุลการค้าที่ขาดดุลน้อยกว่าและยอดเกินดุลของดุลบริการเข้าด้วยกัน จึงส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงบันทึกยอดเกินดุลต่อเนื่องอีก 758 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค. หลังจากที่เกินดุล 1,338 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย.
จากภาพการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่กระจายออกไปในทุกด้าน ทั้งการใช้จ่ายภาคเอกชน รายได้เกษตรกร ผลิตภาคอุตสาหกรรม และการส่งออก ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 52 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยน่าที่จะอยู่ในระดับที่สูงกว่า 3.5% เมื่อเทียบปีต่อปี โดยในช่วงไตรมาสที่ 4/2552 ที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นที่2.3% ทั้งนี้ การพลิกกลับมาขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2552 นี้ นับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส และดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่หดตัว2.8% ในไตรมาส 3/2552 สำหรับภาพรวมในปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของเครื่องชี้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีดังกล่าว น่าที่จะทำให้อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจไทยน้อยกว่าประมาณการเดิมที่ 3.1%
|
|
|
|
|