|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อีลิทการ์ดยังเคว้ง ครบกำหนด 3 เดือนถ้าเอกชนเมินซื้อกิจการ ก็ยังโอนมาอยู่กับ ททท.ไม่ได้ เผย ป่านนี้ ยังไม่สามารถออกประกาศขายกิจการได้เหตุยังไม่มีคณะกรรมการผ่านร่าง ทีโออาร์ ส่วน ททท. ก็ยังไม่ได้คำสั่งบอร์ดเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติครม. ศึกษาการรับโอนกิจการอีลิท ย้ำถ้าปิดบริษัท พนักงานพ้นสภาพพแน่ แต่ไม่ประกันว่าททท.จะรับมาเป็นพนักงานหรือไม่ ถ้ารับก็ต้องใช้อัตราเงินเดือนพนง.งานไม่อู้ฟู่เหมือนที่อีลิท
นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) อดีตรักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด(ทีพีซี) ดำเนินโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิทการ์ด กล่าวว่า ททท.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อมาศึกษาเตรียมความพร้อมสำหรับการรับโอนกิจการของอีลิทการ์ด เข้ามาอยู่ในความดูแลของ ททท. หากไม่มีเอกชนรายใดสนใจเข้าซื้อกิจการ
ทั้งนี้ยอมรับว่ากระบวนการทำงานต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ซึ่งเป็นไปได้ที่จะไม่ทันกับช่วงเวลาที่ครบกำหนด 3 เดือนของการประกาศขายกิจการอีลิทการ์ดแล้วไม่มีเอกชนสนใจซื้อ เพราะ จากมติ คณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่เห็นชอบ ให้จำหน่ายกิจการของอีลิทการ์ด ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ ครม.มีมติเมื่อเดือน พ.ย. 52 ซึ่งคาดว่าจะครบกำหนดในเดือน ก.พ.53 หากไม่มีเอกชนสนใจเข้าซื้อกิจการ ก็ให้ดำเนินการปิดบริษัท ทีพีซี แล้วโอนธุรกิจมาอยู่ในความดูแลของ ททท.
โดยล่าสุด ยังไม่สามารถออกประกาศขายกิจการอีลิทการ์ดได้ เพราะยังติดที่ประกาศทีโออาร์ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) ต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการขายกิจการอีลิทการ์ดเสียก่อน ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะเป็นผู้แต่งตั้ง
นอกจากนั้นในกระบวนการของ ททท. จะทำโดยพลการไม่ได้ ต้องให้ฝ่ายลงทุนเป็นผู้ศึกษา ทั้งด้านกฎหมายและกฎระเบียบว่า ททท.สามารถรับกิจการของอีลิทการ์ดมาได้หรือไม่อย่างไร อีกทั้งยังต้องให้ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)ททท. เห็นชอบพร้อมออกคำสั่งให้ ททท.ไปดำเนินการตามความเห็นชอบของมติ ครม. ด้วย จึงถือว่ากระบวนการทำงานสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพนักงาน บริษัท ทีพีซี เมื่อต้องปิดกิจการ ถือว่าพ้นสภาพการเป็นพนักงาน ดังนั้นก็มีความเป็นไปได้ และ เป็นไปไม่ได้ ว่า ททท.จะรับพนักงานเข้ามาทำงานเพื่อให้บริการแก่สมาชิกผู้ถือบัตรอีลิทการ์ดต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผลการศึกษา ส่วนอัตราเงินเดือนก็ต้องเป็นไปตามเหรดอัตราค่าจ้างของพนักงานททท.ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องต่ำกว่าเหรดอัตราเงินเดือนของพนักงานบริษัท ทีพีซี
“กระบวนการที่ ททท.จะต้องศึกษา เพื่อเตรียมรองรับการโอนย้ายอีลิทการ์ดในครั้งนี้ น่าจะ 1-2 เดือน เพราะต้องศึกษาให้รอบคอบ โดย ททท.ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นบริษัททีพีซี เพื่อขอมติขายกิจการอีลิทการ์ดด้วย และถ้าขายไม่ได้ก็ต้อง เรียกประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขอปิดกิจการ ก่อนโอนย้ายการดูแลสมาชิกมาให้แก่ ททท. จึงต้องใช้ระยะเวลาการทำงานพอสมควร ขณะเดียวกันตั้งแต่ ครม.มีมติขายกิจการ ก็ยังไม่มีเอกชนรายใดสนใจเข้ามาซื้ออย่างจริงจัง มีเพียงกลุ่มทุนจาก สิงคโปร์ และมาเลเซียเข้ามาสอบถาม“
นายอุดม ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้ในส่วนของ ททท.อยู่ระหว่างการเตรียมจัดทำแผนกลยุทธ์การตลาดประจำปีงบประมาณ 2554 ซึ่งขณะนี้กระบวนการทำงานเพิ่มจะเริ่มต้น ด้วยการเตรียมจัดประชุมคณะกรรมการกระบวนการจัดทำแผนประจำปีงบประมาณ 2554 ซึ่งมีผู้ว่าการ ททท.เป็นประธาน จากนั้นจึงแบ่งจัดประชุมในแต่ละภูมิภาคทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดประชุมโฟกัสกรุ๊ป ระดมความคิดเห็นจากภาครัฐ เอกชน และ นักวิชาการ ก่อนจะมาประมวลผลให้เสร็จทภายในเดือน มิ.ย.54
ในหลักการแล้วปีงบประมาณ 2554 จะต้องเน้นกลยุทธ์การตลาดในรูปแบบอีมาร์เก็ตติ้ง เจาะสัมคมออนไลน์ และ อีโมชันนัล มาร์เก็ตติ้ง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การทำงานของผู้ว่าการ ททท. ที่ได้นำเสนอเป็นพันธกิจไว้กับ คณะกรรมการ ททท. และ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว
|
|
|
|
|