|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คลังเตรียมเข็นพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตใหม่ 7 หมื่น-1 แสนล้านบาท อายุ 6 ปี เล็งจ่ายดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่างวดก่อน 4 % รองรับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและรีไฟแนนซท์ตั๋วพีเอ็น เน้นคนชราที่พึ่งพารายได้จากการออม ดีเดย์เดือนเมษายนรับวันผู้สูงอายุ
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน.กำลังเตรียมออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ครั้งที่ 2 กำหนดวงเงินเบื้องต้น 70,000-100,000 ล้านบาท เป้าหมายสนองความต้องการของผู้ออมเงินกระจายในทุกกลุ่ม เนื่องจากการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งครั้งที่ 1 ไม่เพียงพอความต้องการและยังไม่ถึงมือกลุ่มองค์กร มูลนิธิ สมาคม
พันธบัตรรอบนี้ จะมีอายุ 6 ปี แตกต่างจากครั้งแรกที่มีอายุ 5 ปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกันหรือไม่ต่ำกว่า 4% กำหนดออกมาจำหน่ายในเดือนเมษายนนี้
"ขณะนี้ดอกเบี้ยปรับลดลงไปบ้างทำให้ต้องดึงดอกเบี้ยขึ้นมาให้เท่าหรือใกล้เคียงกับพันธบัตรรุ่นก่อน ด้วยการออกเป็นพันธบัตรที่มีอายุยาวกว่าอาจจะเป็นรุ่น 6 ปี เพื่อไม่ให้กระจุกตัวในรุ่นอายุใดรุ่นหนึ่งมากเกินไป เช่น อายุ 5 ปีที่ออกไปก่อนหน้านี้และเป็นการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดพันธบัตรด้วย อีกทั้งเพื่อเป็นการจูงใจและให้ผลตอบแทนกลุ่มที่ต้องพึ่งพารายได้จากเงินออม เช่น ผู้สูงอายุ ซึ่งพันบัตรรุ่นใหม่นี้จะเน้นขายให้ผู้เกษียณอายุหรือคนชราก่อนในวันแรก โดยตั้งใจจะขายใกล้ช่วงวันผู้สูงอายุในเดือนเมษายนพอดี" นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
สำหรับเงินที่ได้จากการขายพันธบัตรดังกล่าวส่วนหนึ่งเตรียมไว้รองรับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและงบไทยเข้มแข็งที่น่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ แต่หากยังไม่มีการเบิกจ่ายเข้ามามากก็จะนำไปรีไฟแนนซท์ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้นหรือตั๋วพีเอ็นประมาณ 5 หมื่นล้านบาทก่อน
นายจักรกฤศฏิ์ยอมรับว่าการเบิกจ่ายเงินของงบไทยเข้มแข็งนั้นยังต่ำกว่าเป้าหมายมาก โดยในช่วงเกือบ 4 เดือนที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายแล้วประมาณ 5 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้เดือนละ 2 หมื่นล้านบาทหรือยังล่าช้าไปกว่า 3 หมื่นล้านบาท เชื่อว่าระยะต่อไปจะมีการเร่งรัดเบิกจ่ายมากขึ้น ทำให้ช่วงนี้กระทรวงการคลังไม่จำเป็นต้องเร่งกู้เเงินมากองไว้ให้มีภาระดอกเบี้ย
ส่วนการกู้เงินชดเชยขาดดุลงบประมาณว่าในระยะ 3 ปีนี้รัฐบาลยังจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อกระตุ้นการลงทุน เพราะในแต่ละปีงบประจำจะเพิ่มขึ้น 3-4 % ทำให้งบลงทุนจะลดลงเรื่อยๆ แต่การขาดดุลมากน้อยเพียงใดขึ้นกับรายได้ที่จัดเก็บจริง เป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือจีดีพีของประเทศ เช่นปีงบ 2554 ตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 1.65 ล้านล้านบาท คิดเป็น 17% ของจีดีพีประมาณ 9 ล้านล้านบาท
"หากเศรษฐกิจขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 3-5% ก็จะดันให้จีดีพีขึ้นไปถึง 10 ล้านล้านบาทการจัดเก็บรายได้ก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งมองว่ามีความเป็นไปได้เพราะประเทศไทยมีความได้เปรียบจากการเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่ราคามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การส่งออกปีนี้หรือปีหน้าอาจจะดีกว่าที่คาด และทำให้เศรษฐกิจกลับไปขยายตัวได้ 8-10% เหมือนในอดีต แต่หากไม่เป็นไปตามที่มองไว้ก็คงต้องมาทบทวนตัวเลขอีกครั้งว่างบประมาณจะสมดุลได้ในปีใด" ผอ.สบน.กล่าว
|
|
|
|
|