ตัวเลขที่ "ผู้จัดการ" นำมาลงนี้เป็นยอดเงินค่าสิทธิที่บริษัทสุรามหาราษฎร
ได้มอบค่าสิทธิให้แก่กรมโรงงานฯ จากจำนวนแม่โขงที่ผลิตขาย ตั้งแต่มกราคม
พ.ศ.2523-มีนาคม พ.ศ.2527
ข้อที่น่าสังเกตมีดังนี้ :-
1. เมื่อสุราแม่โขงปรับราคาจาก 40 บาท เป็น 52 บาท เมื่อวันที่ 30 มกราคม
2524 ยอดขายของแม่โขงอยู่ในอัตราเฉลี่ยในเกณฑ์ที่พอใช้ได้
2. พอมาเดือนพฤษภาคม 2525 เมื่อกรมสรรพสามิตอนุมัติให้นำสุราหงส์ทองข้ามเขตเพื่อบริโภค
ก็มีการลักลอบขนสุราหงส์ทองข้ามเขตขายไปทั่วราชอาณาจักรอย่างผิดกฎหมาย โดยที่กรมสรรพสามิตไม่สามารถจะดำเนินการอะไรได้
จะเห็นได้ชัดเลยว่าจากวันที่คำสั่งออกในเดือนพฤษภาคม 2525 ยอดขายแม่โขงตกลงมา
50% เป็นเวลา 9 เดือนติดต่อกัน
3. เมื่อสุรามหาราษฎรแก้ด้วยการลดราคาแม่โขงเพื่อให้ใกล้เคียงกับหงส์ทอง
ยอดการขายจึงดีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถูกพนักงานโรงงานที่ 1 นัดหยุดงานในเดือนกุมภาพันธ์
2527 ยอดจึงตกลงไป ซึ่งในมีนาคม โรงงาน 2 ได้เร่งผลิตจึงดีขึ้น
และก็เป็นเดือนมีนาคมนี้ที่สุรามหาราษฎรถูกสั่งให้ขึ้นราคาไปอีก ทั้งๆ
ที่เหล้าหงส์ทองยังบินข้ามเขตอยู่ตลอดเวลา ("ผู้จัดการ" ลองแวะร้านอาหารในกรุงเทพฯ
สั่งเหล้าหงส์ทองก็มีขาย ทั้งๆ ที่เหล้านี้ไม่ควรจะมีขายในกรุงเทพฯ) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นชะตากรรมของแม่โขงก็จะต้องกลับไปอยู่ในช่วงปี
2525 เหมือนเดิม และนั่นคือความสูญเสียของรัฐในฐานะที่เป็นเจ้าของเหล้า "แม่โขง"