Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2527
แม่โขงกับรัฐบาลที่ลืมไปว่าแม่โขงเป็นสมบัติของชาติ             
 

   
related stories

กว่าจะมาเป็นแม่โขง
2522 แม่โขงสีเลือด ศึกศักดิ์ศรีและชื่อเสียงวงศ์ตระกูล
หงส์ดิ้นสุดฤทธิ์ ยุทธการดึงทหารและการเมืองกลับเข้ามา
"สุรามหาราษฎร" หรือ "สุราทิพย์" มาแล้วก็จากไป มีแต่ "แม่โขงกับกวางทอง" เท่านั้น ที่ต้องอยู่ตลอดไปเพราะเป็นของคนไทย

   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงอุตสาหกรรม
โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

สุรามหาราษฎร
กระทรวงการคลัง
กระทรวงอุตสาหกรรม
Alcohol
วีระ สุรสังกาญจน์
อบ วสุรัตน์




ปี 2525 นับว่าเป็นปีที่แม่โขงแทบจะกระอักโลหิตออกมาเพราะโดน “หงส์ทองบินข้ามเขต” ปะทะด้วยราคาที่ถูกกว่า จนทำให้ยอดขายต้องตกลงอย่างฮวบฮาบ

“หงส์ทองเขาได้เปรียบกว่ามาก เพราะฐานภาษีมันไม่เท่ากัน แม่โขงต้องเสียภาษีลิตรละ 60 บาท แต่หงส์ทองเสียจริงๆ สุทธิเพียงลิตรละ 26 บาท เท่านั้น อันนี้เลบเป็นช่องว่างให้หงส์ทองถูกขายข้ามเขต และแม่โขงถูกหงส์ทองเล่นเกมนี้เหมือนถูกผีหลอก เพราะเหล้าที่ขายข้ามเขตมันผิดกฎหมาย แต่ยิ่งประท้วงไปประท้วงมากลายเป็นว่ามีเหล้าหงส์ทองขายอยู่ทั่วราชอาณาจักรไปเสียแล้ว พอจะพูดได้ว่า ในยุคของอธิบดีบัณฑิต ปุณยะปานะ ซึ่งเป็นน้องชายของคุณพงส์ สารสิน หุ้นส่วนของหงส์ทองได้มีการลักลอบขนสุราข้ามเขตไปจำหน่ายในเกือบทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร นับว่าเป็นประวัติการณ์ของการลักลอบขนสุราของเมืองไทยทีเดียว” เอเย่นต์เหล้าต่างประเทศที่รู้เรื่องการขายเหล้าดีเล่าให้ “ผู้จัดการ” ฟังเพิ่มเติม

จะเป็นเพราะแม่โขงและกวางทองเป็นของกระทรวงอุตสาหกรรม และหงส์ทองกับแสงโสมเป็นของกระทรวงการคลัง เลยทำให้เจ้ากระทรวงแต่ละแห่งต้องขยันหามาตรการออกมาฟาดฟันกันอย่างถึงพริกถึงขิง

หรืออาจจะเป็นเพราะสมหมาย ฮุนตระกูล ไม่ถูกกับ อบ วสุรัตน์ ก็เลยทำให้ความขัดแย้งนี้แผ่ขยายลงมาถึงสินค้าที่แต่ละคนถืออยู่

หรืออาจจะเป็นเพราะสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นหลานแท้ๆ ของพระยาศรีวิศาลวาจา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างสนิทสนมกับพจน์ สารสิน พ่อของพงส์ สารสิน หุ้นส่วนใหญ่ของหงส์ทอง

เพราะแม่โขงดูจะไม่ถูกชะตากับกระทรวงการคลังเป็นอย่างยิ่ง!

บทบาทของกระทรวงการคลังทุกอย่างที่ทำลงไปดูเหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาโดยไม่ได้มองข้อเท็จจริง และ ลืมไปว่า “แม่โขง” คือ “ชื่อสินค้า” ของรัฐบาลที่ได้รับการพัฒนามายี่สิบกว่าปีแล้ว และเป็นสินค้าที่นำรายได้เข้ารัฐหลายหมื่นล้านบาท

ส่วน “หงส์ทอง” นั้นเป็น “ชื่อสินค้า” ของเอกชนที่ได้สิทธิ์เช่าโรงงานมาผลิตเมื่อสัญญาหมด “หงส์ทอง” ก็ยังคงเป็นของเอกชนซึ่งอาจจะผลิตเองด้วยโรงงานเหล้าธาราที่นครไชยศรี ส่วนรัฐบาลก็ให้สิทธิ์เอกชนคนอื่นต่อไป ที่ได้แล้วก็จะมีเหล้าชื่อใหม่ออกมาอีก

ข้อแตกต่างระหว่าง “แม่โขง” กับ “หงส์ทอง” ก็อยู่ตรงนี้!!

กระทรวงการคลังนอกจากจะเก็บภาษีเหล้าไม่เท่ากันแล้ว ยังได้มีมาตรการหาเงินเข้าคลังจากภาษีสุรา ซึ่งเป็นมาตรการของการฆ่าแม่โขงทางอ้อมเช่น

...ได้มีการเสนอให้เพิ่มภาษีแม่โขงจากเดิมลิตรละ 60 บาท เป็นลิตรละ 80 บาท แต่ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลไม่เห็นด้วยก็ตกไป

...ปลายปี 2525 กระทรวงการคลังเกิดอยากจะให้องค์การสุรากรมสรรพสามิต ผลิตเหล้าปรุงพิเศษ เพื่อขายทั่วราชอาณาจักรเหมือนแม่โขงของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยจะเปิดให้มีการประมูลผู้ขายส่ง และผู้ประมูลได้จะต้องสร้างโรงงานเพื่อผลิตเหล้านี้ แต่รัฐบาลยังไม่คล้อยตามเพราะยังมีคนเห็นว่าจะต้องคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของโรงงานสุราบางยี่ขัน เรื่องก็ถูกระงับไป

...ปลายปี 2525 กระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงฉบับที่ 80 เปลี่ยนแปลงการเรียกเก็บภาษีสุราใหม่ โดยเรียกเก็บเป็น “หรือร้อยละ 32 ของมูลค่า” ซึ่งมาตรการ นี้หงส์ทองเสียภาษีจริง 26 บาท จึงไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด มีแต่แม่โขงซึ่งเจอเข้าหนักก็ตรงชนิดขวดแบน 350 ซีซี และ 187 ซีซี ซึ่งเป็นเหล้าของคนเบี้ยน้อยหอยน้อย ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก และก็เป็นหมากกลที่วางไว้ ถ้าแม่โขงขึ้นราคา จะต้องแบกภาษีถึง 2 ทาง คือค่าสิทธิ์ที่คิดจากร้อยละ 45.67 ของราคาขายปลีก และค่าภาษีที่คิดจากร้อยละ 32 ของมูลค่าจำหน่าย (ซึ่งหมากตัวนี้เกือบจะเป็นผลในภายหลังเมื่อรัฐมนตรี อบ วสุรัตน์ สั่งให้แม่โขงขึ้นราคา)

กระทรวงอุตสาหกรรมเอง ซึ่งเป็นเจ้าของแม่โขง เคยเสนอให้แก้ไขภาษีสุราให้ยุติธรรมระหว่างแม่โขงกับหงส์ทอง ถึงขนาด อบ วสุรัตน์ จะเอาเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี แต่

“กำลังภายในของกลุ่มหงส์ทองเขาแข็งน่าดู เพราะเขาเล่นการเมืองกับการค้าแบบถึงลูกถึงคน ดูง่ายๆ ซิ อบ วสุรัตน์ ออกมาทำเสียงแข็งว่าต้องปรับภาษีหงส์ทองกับสุราผสมให้ใกล้เคียงกับภาษีแม่โขง เห็นเสียงดังว่าจะเอาเข้าคณะรัฐมนตรี พอวันต่อมา อบ วสุรัตน์ ก็ขอถอนกะทันหัน แล้วจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ไม่ให้เหตุผลอะไรเลยว่าทำไมถึงถอนแม้แต่แอะเดียว ทั้งๆ ที่ข่าวที่แกปล่อยไปว่าจะปรับลงหนังสือพิมพ์กันโฉ่งฉ่างไปหมด ไม่ทราบว่ามีอะไรไปอุดแกไว้" นักหนังสือพิมพ์ที่ติดตามข่าวแม่โขง หงส์ทอง ออกความเห็น

และจากวันนั้นจนถึงวันนี้ท่าทีของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเคยปกป้องผลประโยชน์ของแม่โขง ในฐานะเป็นสินค้าของกระทรวงอุตสาหกรรมก็เปลี่ยนไป

มีการย้ายนายวีระ สุสังกรกาญจน์ ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมอย่างสายฟ้าแลบ เพราะไม่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐมนตรี ซึ่งหนึ่งในนโยบายนั้นคือการให้แม่โขงรวมกับหงส์ทอง เพื่อตั้งบริษัทกลางขึ้นมา ซึ่งวีระ สุสังกรกาญจน์ คัดค้าน เพราะจะทำให้แม่โขงซึ่งเป็นของรัฐเสียประโยชน์ เมื่อฮั้วกันไม่ได้ ก็ต้องให้แม่โขงขึ้นราคา

การให้แม่โขงขึ้นราคานั้นเป็นการอ้างเพื่อให้เสียสิทธิกับรัฐมากขึ้น แต่กระทรวงอุตสาหกรรมคงลืมไปว่าเป็นกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งได้อนุมัติให้แม่โขงลดราคาในต้นปี 2526 เพราะกระทรวงเองก็เห็นด้วยว่าแม่โขงกำลังถูกสุราข้ามเขตที่ขายผิดกฎหมายและไม่ต้องเสียสิทธิ เสียภาษีสรรพสามิตที่น้อยกว่าเกือบ 150% มาทำให้แม่โขงขายตก ทำให้จำนวนค่าสิทธิและภาษีรัฐได้น้อยลงเพียงไม่ถึง 120 ล้านบาทต่อเดือน (ตั้งแต่ ต.ค.-ก.พ.26) และหลังจากลดราคาแล้วตั้งแต่มีนาคม 26 จนถึงธันวาคม 26 ค่าสิทธิและภาษีรัฐได้รับเฉลี่ยเดือนละ 300 ล้านบาท (มากกว่าเดิมเกือบ 150%) ซึ่งก็เป็นบทพิสูจน์แล้วว่า แม่โขงทำรายได้ให้รัฐมากกว่าเมื่อลงราคาสู้กับคู่ต่อสู้ มากกว่าสมัยซึ่งขายแพงแล้วขายไม่ออกทำให้รัฐขาดรายได้

และทันทีที่นายวีระ สุสังกรกาญจน์ เข้าสำนักนายกฯ อบ วสุรัตน์ ก็สั่งให้แม่โขงขึ้นราคาจากเดิมทันที!

บทบาทของ อบ วสุรัตน์ ที่เปลี่ยนไปอย่างมากในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยากจะเดาใจได้ เพราะตรรกวิทยาไม่สมพงษ์กันเลยแม้แต่ข้อเดียว ตั้งแต่เคยขอให้ขึ้นภาษีสุราหงส์ทองให้ยุติธรรมแก่แม่โขงมาเป็นถอนเรื่องออกแล้วปิดปากเงียบ จนกระทั่งถึงสั่งให้แม่โขงรวมกับกลุ่มหงส์ทองเพื่อตั้งบริษัทกลาง จนสุดท้ายสั่งให้แม่โขงขึ้นราคา

“ความจริงทางฝ่ายเตชะไพบูลย์เขาก็รู้จักทางคุณอบดี สมัยหนึ่งลูกเขยคุณอุเทนคือ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ก็เคยอยู่พรรคประชาธิปไตย และมีข่าวว่าจะลงสมัครที่ชลบุรี แต่ตอนหลังคุณอุเทนสั่งห้ามเล่นการเมืองเด็ดขาดเพราะกลุ่มนี้เขาเป็นพ่อค้าอยากค้าขายอย่างเดียว ไม่ต้องการเอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ก็เลยอาจจะไม่ดีนัก” แหล่งข่าวทางการเมืองชี้แจงให้ฟัง

ถึงกับมีข่าวภายในว่า มีกลุ่มเหล้ากลุ่มหนึ่งแกล้งทำเงินตกประมาณ 200 ล้านบาท แถวๆ กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้แม่โขงขึ้นราคา

“เท็จจริงแค่ไหนก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าธุรกิจเหล้าเป็นหมื่นล้าน สองร้อยล้านมันแค่ 2% มันเล็กน้อยเหลือเกินแต่สองร้อยล้านก็สามารถทำอะไรในพรรคการเมืองได้เหมือนกัน เช่นซื้อเสียง ส.ส. หรือปิดปากข้าราชการ อย่างว่าเมืองไทยมันเน่าเฟะ มันดูจะดีอยู่พักหนึ่งแต่ดูจริงๆ แล้วมันชักจะเริ่มกลับไประบบเก่า เงินไม่เข้าใครออกใคร มันสามารถทำให้คนลืมหลักการ และอุดมการณ์ได้เหมือนกัน” อาจารย์จุฬาฯ คนเดิมกล่าวเสริม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us