Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2527
ทีซีดี - ความคิดสร้างสรรค์ของกสิกรไทย แต่คนที่เจ็บเนื้อเจ็บตัวที่สุดคือ บริษัทเงินทุน และแบงก์ทั้งหลาย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Banking




ทีซีดี (TCD) ที่ชื่อเต็มว่า THAI FERMERS TRANSFERABLE CERTIFICATE OF DEPOSIT หรือเป็นภาษาไทย “บริการเงินฝากชนิดโอนได้ของธนาคารกสิกรไทย”

“บริการเงินฝากชนิดโอนได้” (CD) ไม่ใช่ของใหม่ในโลกนี้

บริการนี้ได้มีขึ้นมาในยุโรปนานแล้ว แต่ที่เอามาใช้กันจริงจังเป็นกิจลักษณะจริงๆ ก็ในปี 2504 ที่ CITY BANK ที่นครนิวยอร์กเป็นผู้นำมาใช้

ปรัชญาของ CD ที่แท้จริงน่าจะมีอยู่สองประการคือ:-

1. เป็นการระดมเงินฝากระยะสั้นเข้ามาในภาวะที่ DEMAND DEPOSIT ลดลง และคนหันไปเล่นทางด้านพันธบัตรหรือหลักทรัพย์อย่างอื่นมากขึ้น

2. เป็นการจัดอัตราส่วนทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการบริหารเงินได้มากพอสมควรเมื่อถึงจุดจุด หนึ่งที่เงินฝากแบบ CD มีสัดส่วนมากขึ้น

ในสหรัฐอเมริกานั้นยอด CD ได้สูงขึ้นเรื่อยๆ นับจากปีที่ CITY BANK ได้เริ่มด้วยเงินเพียง 2,700 ล้านเหรียญ และอีก 22 ปี ให้หลังยอด CD ในสหรัฐฯ ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงินกว่า 30,000 ล้านเหรียญ

17 ปีให้หลัง CITY BANK ได้ออก CD ในนครนิวยอร์ก

ในปี 2521 ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้เสนอสมาคมธนาคารไทยในเรื่องการพัฒนาตลาดเงินและ CD ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากมวลหมู่สมาชิก

ในปี 2522 ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าน่าสนใจแต่ต้องขอศึกษาก่อน แล้วเรื่องก็เงียบไป

ทางธนาคารกสิกรไทยก็เดินหน้าไปเรื่อยๆ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาหาทางทำออกมา

ในปี 2526 ธนาคารแห่งประเทศไทยให้คำตอบมาว่า ยังแก้กฎหมายไม่ได้ ถ้าใครจะทำก็ควรทำได้โดยใช้วิธีโอนคล้ายกับวิธีการโอนของพันธบัตร โดยมีธนาคารผู้ออกเป็นนายทะเบียนซึ่งในแง่กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามให้ออก CD ชนิด NEGOTIABLE และ BEARER ยังออกไม่ได้เท่านั้น ในที่สุดกสิกรไทยภายใต้ภาวะสถานการณ์ทางการเงินทั่วไปที่ตึงตัวก็ตัดสินเอาเป็น CD ออกมาเพื่อพัฒนาตลาดการเงินเป็นธนาคารแห่งแรก

TCD ของธนาคารกสิกรไทยนั้นมีลักษณะดังนี้

1. มีสภาพคล่องเหมือนเงินฝากสะสมทรัพย์แต่ให้ผลกำไรในรูปแบบของดอกเบี้ยสูงกว่า และสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ ระยะเวลาไถ่ถอนมีตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 2 ปี (ในระยะแรกจะออกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี)

2. การถือ ทีซีดีที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก มีความปลอดภัยและมั่นคงเช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาล และผู้ถือไว้ยังได้ผลกำไรสูงซึ่งจะทำให้มีผู้หันมาลงทุนซื้อ ทีซีดีในรูปของการลงทุนได้

3. มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากสะสมทรัพย์ธรรมดา

4. สามารถนำไปซื้อขายผ่านสถาบันซื้อลด (DISCOUNT HOUSE) โดยเฉพาะตลาดรองมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นแหล่งซื้อขาย ทีดีซีที่ยังไม่ครบอายุ

5. สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยโอนขายต่อให้ผู้อื่น

6. ผู้ฝากจะกำหนดวันไถ่ถอนตามความต้องการ หรือความจำเป็นใช้เงินในการชำระหนี้จ่ายเงินปันผลหรือจ่ายภาษีของบริษัทผู้ซื้อ ทีซีดี.

ประเภท CD ของกสิกรไทย ก็มีระยะเวลาฝากอยู่ 2 ประเภทคือ

1. ระยะเวลาฝาก 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 12.5%

2. ระยะเวลาฝาก 6-12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 13%

หากผู้ฝากมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดก่อนครบกำหนดไถ่ถอนคืนก็สามารถโอนบัตรเงิน

ฝากนั้นเปลี่ยนมือได้ทันที โดยธนาคารกสิกรกสิกรไทยได้เตรียมตลาดรองรับเอาไว้ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ในเครือ เช่น ศรีมิตร ภัทรธนกิจ ทิสโก้ ฯลฯ โดยทั้งผู้โอนยังคงได้รับดอกเบี้ยเต็มตามจำนวน

นอกจากนี้แล้วบัตรเงินฝากชนิดโอนได้นี้ยังใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อได้อีกด้วย

สำหรับตั๋ว TCD มีอยู่ 2 ราคา คือ 100,000 บาท กับ 1,000,000 บาท "ที่แท้จริง TCD ก็คือเงินสดแต่ได้ดอกเบี้ยนั่นเองแหละ” กุณฑล นาคพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเงินกล่าวกับ “ผู้จัดการ”

“เราหวังไว้ว่าปีแรกนี้จะมีคนมาใช้ TCD ประมาณ 10,000 ล้านหรือประมาณ 20% ของเงินฝากประจำที่มีอยู่ เพราะ TCD ใช้คล่องมาก” กุณฑลกล่าวต่อ

ในการบริหาร TCD นั้น กุณฑลต้องติดตามกระแสเงินที่เข้ามาในรูป TCD อย่างกระชั้นชิดทั้งประเทศที่มีสาขาของธนาคารกสิกรไทยอยู่ด้วย

“เราต้องจัด PORT สินเชื่อดีๆ เพราะได้มาก็ต้องปล่อยไปซึ่งเรื่องนี้เราเตรียมไว้แล้วเพราะผมก็ทำด้าน MONEY MARKET อยู่แล้วก็ปล่อยได้ทันทีที่มีเงินเข้ามา” กุณฑลพูดต่อไปอีก

“ถ้ากสิกรไทยเขารุก TCD หนักแล้วให้ลูกค้าเปลี่ยนระบบโอดีมาใช้ TCD ได้นี่ กสิกรไทยจะได้เปรียบในแง่ต้นทุนการบริหารงาน เพราะถึงจุดหนึ่งแล้วเมื่อสัดส่วนของ TCD เพิ่มขึ้นมาจนถึงขั้น 50% ของยอดเงินฝากนี่ก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย” เจ้าหน้าที่ตลาดเงินของธนาคารกรุงเทพออกความเห็น

ธนาคารกรุงเทพเองก็คงจะต้องออกเป็น BBCD มาแน่ แต่ข่าวภายในแจ้งว่ากำลังรอรวบรวมอะไรอยู่ และความรู้สึกของผู้บริหารระดับสูงก็ยังไม่ค่อยจะออกมาในลักษณะของผู้ตามหลัง ซึ่งก็เป็นธรรมดาของธนาคารกรุงเทพกับธนาคารกสิกรไทย ที่มักจะฟาดฟันกันเรื่องใครก่อนใครหลัง ใครเริ่มใครตามเสมอมา

“ตอนนี้ธนาคารกรุงเทพออกแต่เงินฝากบัวหลวงที่ให้ 14% สองปีโดยตั้งใจจะเจาะผู้มีความประสงค์จะได้สินเชื่อในด้านที่อยู่อาศัย แต่มันก็ไม่ใช่ CD คงจะต้องอีกพักหนึ่ง” ผู้สังเกตการณ์ในวงการเงินพูดให้ฟัง

แต่ในที่สุดแล้วก็คงไม่ใช่ธนาคารกรุงเทพที่สะดุ้งหรอกที่กสิกรไทยออก TCD มา “น่าจะเป็นพวกบริษัทเงินทุนต่างๆ กับธนาคารที่จ่ายดอกเพียง 10% กับเงินฝากประจำมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกบริษัทเงินทุนที่เป็นของธนาคาร” แหล่งข่าวในวงการเงินพูดเพิ่มเติม

“ราคาดอกเบี้ยของ TCD สำหรับ 6 เดือน 13.0% อาจจะต่ำกว่าบริษัทไฟแนนซ์ใหญ่ๆ เพียง 1.5% เท่านั้น ซึ่ง SPREAD 1.5% ของเงิน 1 ล้านบาทในเวลาเพียง 6 เดือน ต่างกันแค่ 6 พันกว่าบาท เดือนละพันสองร้อยบาท แต่ตั๋ว TCD คุณเล่นกับมันได้มาก เพราะภาวะการเงินทุกวันนี้มันไม่แน่นอน คุณฝาก 6 เดือนที่ไฟแนนซ์พอคุณร้อนคุณก็สะอึกแล้ว สู้เล่น 6 เดือนหรือ 12 เดือน TCD แล้วเอามาหมุนได้เมื่อร้อน” เจ้าหน้าที่การเงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งหนึ่งพูดขึ้นมา

“เราคิดว่าตั๋ว TCD นั้นจะไม่มีผลกระทบต่อการระดมเงินฝากของบริษัทเงินทุน เพราะหน้าตั๋วเรามี 100,000 บาท กับ 1,000,000 บาทเท่านั้น” ณรงค์ ศรีสอ้าน ได้ตอบคำถามการกระทบบริษัทเงินทุนในงานแถลงข่าว

สำหรับสถาบันเงินทุนที่ไม่มีฐานธนาคารหนุนหลัง คงจะไม่กระทบเพราะข้อแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยในระยะเท่ากันก็ร่วม 3-4% อยู่แล้ว อีกประการหนึ่งพวกบริษัทการเงินอิสระขณะนี้ก็มีปัญหาในเรื่องการระดมเงินฝาก เพราะสถานการณ์การเงินที่บีบบังคับให้ประชาชนไม่ไปฝากเหมือนเดิม ฉะนั้น “จะมี TCD หรือไม่มีพวกนี้ก็ลำบากอยู่แล้ว” แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว

แต่กับสถาบันเช่นธนาคารเอง TCD ก็มีผลกระทบบ้างไม่มากก็น้อย “ลูกค้าแบงก์ผมถอนเงินฝากระยะสั้นไปซื้อบัตรเงินฝากโอนเปลี่ยนมือได้พอสมควร มันได้ผลกว่า ผมให้เขาแค่ 12.5% ใน 3 เดือน กับ 13% ต่อปี แต่ของกสิกรไทยเขาเล่นได้หลายทาง” เจ้าหน้าที่ธนาคารระดับใหญ่ให้เหตุผล

ธนาคารต่างๆ ก็เลยต้องปรับเพดานดอกเบี้ยกันใหญ่เพื่อป้องกันไม่ให้เงินไหลออกไป “ผมอิจฉาพวกกสิกรไทย ถ้าเขาทำได้ดีๆ แล้ว MATCHING FUND ของเขาลด COST ได้ ก็จะลดดอกเบี้ยเงินกู้ของลูกค้าได้เหมือนกัน และสำหรับขนาดเช่นกสิกรไทย ถ้าเขาลดได้สัก 1% ก็มีผลต่อธนาคารใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพแน่ๆ” เจ้าหน้าที่ธนาคารคนเดิมเสริมขึ้นมา

ผลของ TCD จะกระทบสถาบันการเงินมากน้อยแค่ไหนก็คงจะต้องใช้เวลาสักพักดูกันต่อไป แต่ที่แน่ๆ อัตราดอกเบี้ยที่ตายตัวตลอดระยะเวลาหน้าตั๋วของ TCD ก็เป็นสิ่งที่เย้ายวนใจ การฝากมากประการหนึ่ง

จะอย่างไรก็ตาม ก็ต้องยกประโยชน์ให้ทีมงานของธนาคารกสิกรไทยที่บุกเบิก และมีความคิดสร้างสรรค์ในด้านนี้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นธนาคารที่ไม่เคยหยุดนิ่ง และมุ่งที่จะพัฒนาระบบการเงินจริงๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us