|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธปท.เผยแบงก์ไทยส่วนใหญ่ประเมินปี 53 สินเชื่อโต 9.8% เชื่อมีโอกาสเป็นไปได้ ตามแรงการฟื้นตัวเศรษฐกิจเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีตั้งแต่ปลายปีก่อน คาดแบงก์ใหญ่เน้นกระจายสินเชื่อ ส่วนแบงก์เล็กเจาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งระบบเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยส่วนใหญ่ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อในปี 53 ในสัดส่วน 9.8% หรือประมาณ 10% ซึ่งธปท.เองก็เชื่อว่าเป้าหมายดังกล่าวมีโอกาสเป็นไปได้
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวนับตั้งแต่ปลายปีก่อน ถือเป็นสัญญาณที่ดี ทำให้ปีนี้สามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างเต็มที่ โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่จะมีการกระจายไปสู่ภาคธุรกิจต่างๆ มากขึ้น นอกเหนือจากที่ส่วนใหญ่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ (Corporate Loan)ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางจะเน้นปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจรายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดเล็กก็จะเน้นเจาะกลุ่มเฉพาะ โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย
“ในปีก่อนการปล่อยสินเชื่อก็ไม่เต็มที่เท่าที่ควร ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งระบบมีอัตราการขยายตัวสินเชื่อปี 52 แท้จริงติดลบ 1.78% ซึ่งการขยายตัวที่ไม่มากนี้ก็ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อก็ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ภาคธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง แต่ในปีนี้การขยายตัวสินเชื่อจะดีขึ้นและสภาพคล่องในปัจจุบันมีเพียงพอต่อการขยายตัวสินเชื่อ ส่วนทางการเองก็พร้อมสนับสนุนธุรกิจ SME เป็นนโยบายต่อเนื่องต่อไป”ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าว
**ตั้งเป้าลดNPLต่ำกว่า5%**
นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ยังตั้งเป้าหมายลดยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้ต่ำกว่า 5% จากล่าสุดสิ้นเดือนธ.ค.มีสัดส่วนที่ 5.54%ของสินเชื่อรวม ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ประกอบกับที่ผ่านมาสินเชื่อไม่ได้โตนัก ทำให้ NPL อยู่ในระดับต่ำ และยืนยันว่าขณะนี้ไม่เห็นสัญญาณ NPL เพิ่มขึ้น และปัญหาฟองสบู่แต่อย่างใด ส่วนธนาคารพาณิชย์ไทยเองจะมีหลากหลายวิธีในการลดปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะวิธีเร่งเจรจาระหว่างลูกหนี้ก่อนเกิดปัญหา NPL รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้.
|
|
|
|
|