Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน19 มกราคม 2553
ดัน17มาตรการคลังเน้นจีดีพีโต             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
Economics




คลังเดินหน้า 17 มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศขยายตัวอย่างยั่งยืน มั่นใจ 2 ปัจจัยหลัก คุมเข้มเบิกจ่ายงบแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งได้ตามเป้าและแบงก์รัฐลุยปล่อยสินเชื่อเข้าระบบจะผลักดันจีดีพีของประเทศได้ตามฝัน พร้อมจับตาราคาน้ำมันและการเมืองยังเป็นปัจจัยเสี่ยง

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง แถลงผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาและแนวทางการดำเนินงานในปีนี้ร่วมกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ และนพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง ว่า ในปี 2553 กระทรวงการคลังพร้อมเดินหน้า 17 นโยบายที่บางส่วนเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีก่อนและบางส่วนจะผลักดันให้เป็นรูปธรรมในปีนี้ ประกอบด้วย 1. การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกว่า 1 ล้านรายที่จะเริ่มโอนหนี้เข้าสู่ระบบได้ตั้งแต่ปลายเดือนนี้ 2.การเดินหน้าตามแผนพัฒนาตลาดเงินระยะที่ 2 ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบเพื่อลดต้นทุนจากกฎระเบียบและสินเชื่อและสินทรัพย์ด้อนคุณภาพที่ยังค้างในระบบ

3.แผนการพัฒนาตลาดทุน เพื่อเร่งพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเป็นช่องทางการออมและการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การมีตลาดทุนที่เข้มแข็งจะช่วยลดความผันผวนต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันที่การเคลื่อนย้ายเงินทุนทำได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย 4. การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ รัฐบาลจะผลักดันออกมาภายในปีนี้ เพื่อสร้างรายได้ในรูปบำนาญระดับพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงตลอดอายุขัย

5. การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรูปแบบ PPP 6. การให้สินเชื่อรายย่อยผ่านสถาบันการเงินของรัฐโดยมีออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เพื่อลดปัญหาเงินกู้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงมาก จัดให้มีวงเงินที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพและความสามารถในการชำระเงินเว้นเพื่อใช้กรณีจำเป็นหรือฉุกเฉิน อีกทั้งเป็ฯการเชื่อมโยงแหล่งเงินกู้และเงินฝากที่มีอยู่ในชุมชนและท้องถิ่นเข้ากับสินเชื่อในระบบ 7.การออกกฎหมายควบคุมบริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 8.มาตรการดูแลการทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม

9. มาตรการทางเลือกหลักประกันทางธุรกิจ เป็นการออกพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ในการอนุญาตให้ผู้ประกอบการธุรกิจมีทางเลือกในการนำทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้สามารถให้ผู้ประกอบการเอกชนสามารถใช้ทรัพย์สินต่างๆ ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สามารถนำมาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อได้

10.ผลักดันการบังคับใช้ภาษีทีดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งกระทรวงการคลังจะนำเสนอเข้าครม.ในเร็วๆนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมและไม่กระทบผู้มีรายได้น้อย 11.การปฎิรูปการจัดเก็บภาษีของไทย โดยเฉพาะภาษีศุลกากรเพื่อลดอุปสรรคด้านการค้าและการลงทุน 12. มาตรการภาษีเพื่อการเข้ามาตั้งสำนักงานภูมิภาคในไทย ถือเป็นยุทธศาสตร์ให้ไทยแข่งขันกับสิงคโปร์ได้ 13.การติดตามโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งเป็นงานที่มีความสำคัญที่สุดในการดูแลการใช้เงินให้มีการรั่วไหลน้อยและเบิกจ่ายออกไปเร็ว และเป็นตัวชี้วัดผลสำเร็จของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ เพราะการใช้เงิน 2 แสนล้านบาทช่วยให้จีดีพีขยายตัว 2-3%

14.การปฎิรูปภาษีสรรพสามิต 15.การผลักดันไมโคร อินชัวร์รัน หรือประกันภัยราคาประหยัด 16.การพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ และสุดท้าย 17.การสร้างจริยธรรมในกระทรวงการคลัง ทั้งทางด้านธรรมาภิบาลของผู้บริหารระดับสูง มาตรฐานการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงและรัฐวิสาหกิจ รวมถึงมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของกระทรวงและรัฐวิสาหกิจ

“การดำเนินนโยบายปีนี้ยังมี 3 กลุ่มหลักคือการสานต่อยุทธศาสตร์ฝนตกทั่วฟ้า การส่งเสริมภาคธุรกิจและการเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ แต่ใน 17 นโยบายนั้นให้น้ำหนักการเบิกจ่ายงบและโครงการไทยเข้มแข็งกับบทบาทของแบงก์รัฐมากที่สุดที่มีผลต่อการขยายตัวของจีดีพีในปีนี้ ขณะที่นโยบายอื่นๆมองว่าเป็นการวางรากฐานในอนาคตและมีผลต่อจีดีพีในระยะยาว”นายกรณ์ กล่าวและว่าส่วนความเสี่ยงในปีนี้คงต้องจับตาดูราคาน้ำมันที่ยังมีความผันผวนและมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากที่สุด รวมถึงการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า และการเมืองที่ยังน่าเป็นห่วง.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us