|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังเยี่ยมชมและรับฟังแผนการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับนายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร วานนี้ (18 ม.ค.) ว่า ขณะนี้คณะทำงานอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) ที่หมดอายุในสิ้นปีที่ผ่านมานั้น โดยจะพิจารณาถึงความเหมาะสมในการต่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี ระยะเวลาการต่ออายุ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปได้ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้
สำหรับการเดิทางมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้ เพื่อรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการที่ทางกรมสรรพากรให้การสนับสนุนตลาดหลักทรัพย์ฯที่ผ่านมาประสบความสำเร็จหรือมีปัญหาข้อติดขัดหรือไม่ และในอนาคตต้องการให้กรมสรรพากรช่วยสนับสนุนตลาดทุนไทยอย่างไรบ้าง ซึ่งมาตรการส่งเสริมตลาดทุนขณะนี้จะมีการพิจารณาเรื่องที่อยู่ในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย จากที่มีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานที่ชัดเจน ส่วนมาตรการอื่นๆนั้นจะมีการพิจารณาเป็นมาตรระยะสั้นที่จะช่วยเหลือในช่วงสั้นเพื่อกระตุ้นตามภาวะเศรษฐกิจ
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า อดีตที่ผ่านมาที่กรมสรรพากรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทที่อยู่ในSET เสียภาษี 25% และบริษัทในmai เสีย 20% จากปกติที่จะต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลที่อัตรา 30% ถือว่ามีความเหมาะสม แต่จากที่ในปีที่ 2552 มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯและตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ เพียง 17 บริษัทถือว่าเป็นจำนวนที่ต่ำ ทำให้มองว่าการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะสนับสนุนให้มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
“กรมสรรพากรมีเป้าหมายว่า การออกมาตรการอะไรออกไปนั้นต้องการที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการลดภาษีนิติบุคคลแก่บจ.ต้องการให้มีบจ.เข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น แต่จากการที่ปีที่ผ่านมามีบจ.เพียง 17 บริษัทเท่านั้นถือว่าน้อย แต่จะมีการต่อมาตการให้สิทธิภาษีต่อหรือไม่นั้นต้องรอผลสรุปสิ้นเดือนก.พ.นี้”นายวินัย กล่าว
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้นำเสนอข้อมูล8 มาตการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ซึ่งในแผนนั้นมีการมาตรการในเรื่องภาษี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษีในการควบรวมกิจการ ภาษีการลงทุนในตราสารหนี้ ฯลฯ ที่ต้องเสนอแก่ทางกรมสรรพากรมีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
เล็งรื้อเกณฑ์แคชบาลานช์ใหม่
พร้อมกันนี้ นางภัทรียา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ฝ่ายบริหารตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทบทวนมาตรการดูแลหุ้นเก็งกำไรก่อนที่จะเสนอให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณาต่อไป เนื่องจากมาตรการวางเงินสดทั้งจำนวนก่อนซื้อ (แคช บาลานช์) ในหุ้นที่อยู่ในรายชื่อเทิร์นโอเวอร์ลิสต์ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ใช้มาเป็นเวลา1 ปีครึ่งแล้ว
ส่วนสาเหตุที่เสนอให้มีการทบทวนมาตรการการดูแลหุ้นเก็งกำไรด้วยการกำหนดให้วางเงินสดทั้งจำนวนก่อนซื้อนั้น สืบเนื่องจากเกณฑ์การพิจารณาหุ้นที่จะต้องวางเงินเต็มจำนวนนั้นได้กำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจน เมื่อนักลงทุนลงทุนใกล้ถึงระดับดังกล่าวจึงชะลอการลงทุน ซึ่งส่งผลต่อภาพรวมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงเห็นควรให้มีมาตรการพิจารณาภายในคอยป้องปรามอีกชั้นหนึ่งก่อน เพื่อให้การดูแลการซื้อขายทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย
นอกจากนี้ หุ้นบางตัวเข้าข่ายแคชบาลานช์เพราะปัญหาทางเทคนิคไม่ได้เกิดจากมีปัญหาจากการซื้อขาย เช่น บริษัทจดทะเบียนบางแห่งมีผลขาดทุนในไตรมาส 4 ของปี 2551 เนื่องจากรับผลกระทบจากวิกฤตการเงินของโลก และทำให้อัตราราคากำไรเทียบกับกำไรสุทธิต่อหุ้น(พีอี) เกิน 100 เท่า รวมทั้งเป็นจังหวะที่มีการซื้อขายสูง ทำให้อยู่ในรายชื่อเทิร์นโอเวอร์ลิสต์ของก.ล.ต. และเข้าเกณฑ์แคชบาลานช์ทั้งที่ไม่ใช่เกิดจากความผิดปกติของการซื้อขายหุ้น
“ก่อนหน้านี้การซื้อขายหุ้นจะใช้วิธีการดูแลจากการพิจารณา ทำให้มีเสียงบอกว่าได้กระทบต่อการซื้อขายและเรียกร้องอยากให้เป็นเกณฑ์ที่โปร่งใส แต่พอมีเกณฑ์ที่โปร่งใสมีกติกาชัดเจน เป็นที่ทราบของผู้ลงทุนดังนั้นเมื่อซื้อขายจนเข้าใกล้เกณฑ์ก็จะค่อย ๆ ถอย ดังนั้นทางตลาดหลักทรัพย์จึงอยากหาเกณฑ์มาเพิ่มซึ่งจะเป็นเกณฑ์ที่ใช้จากการพิจารณาเข้ามาใช้ควบคู่ คาดว่าจะพยายามให้ได้ข้อสรุปภายในไตรมาสแรกของปีนี้” นางภัทรียากล่าว
|
|
|
|
|