Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2527
"ศรีมิตร" กับทีมงานคนหนุ่ม งานเลี้ยงฉลองอาคารใหม่ บ.เงินทุนหลักทรัพย์ศรีมิตร             
 


   
search resources

บัณฑูร ล่ำซำ
เภา สารสิน
เทียนชัย ลายเลิศ
สุเทพ วงศ์วรเศรษฐ
Banking and Finance
ศรีมิตร, บง.
ธนาคารเชสแมนฮัตตัน
โชติ จูตระกูล
สุนทร หงส์ลดารมภ์
อนุพร พงษ์สุรพิพัฒน์




“ศรีมิตร” คือชื่อที่ประยุกต์จาก “CMIC” ซึ่งมีชื่อเดิมคือ CHASE MANHATTAN INVESTMENT CORPORATION เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เก่าในเครือของธนาคารเชสแมนฮัตตัน

ความจริงแล้วก่อนจะเป็น CMIC นั้นบริษัทนี้คือบริษัทศรินเวสต์ จำกัด ซึ่งเกิดเมื่อปี 2513 และ 2514 ก็เปลี่ยนเป็นเชสแมนฮัตตันอินเวสต์เมนท์

ในสมัยแรกๆ นั้น ผู้บริหารจะมาจากเครือธนาคารเชสแมนฮัตตัน และธุรกิจหลักที่ทำคือธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ และส่วนกู้กับรับเงินฝาก

มีอยู่พักหนึ่งบริษัทมีการรั่วไหลมากเพราะระบบควบคุมอ่อนเป็นผลให้บริษัทต้องขาดทุนทางเชสฯ เองก็ส่งสุเทพ วงศ์วรเศรษฐ ซึ่งเป็นระดับ VP ในขณะนั้นประจำที่ธนาคารเชสฯ ที่มนิลามาบริหารและสะสางงาน

ประกอบกับพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจการเงิน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ปี 2522 บังคับให้ผู้ถือหุ้นเดิมต้องกระจายหุ้นให้เหลือเพียงไม่เกินร้อยละ 40% ก็ทำให้ธนาคารเชสฯ ตัดสินใจถอนตัวออกไป เพราะขัดกับนโยบายที่ไม่ต้องการถือหุ้นส่วนน้อย

กลุ่มผู้ที่เข้ามาซื้อคือกลุ่มบริษัทยิบอินซอย และธนาคารกสิกรไทย

และชื่อ CMIC ก็เลยกลายเป็น ศรีมิตร

ทีมงานผู้บริหารก็ยังคงเหมือนเดิม และอาจจะดีกว่าเก่า เพราะเป็นทีมคนหนุ่มที่เข้าใจตลาดเมืองไทยได้ดี

สิ้นปี 2526 “ศรีมิตร” ได้ขยับฐานสินทรัพย์จาก 1,068.9 ล้านบาทในปี 25 มาเป็น 1,309 ล้านบาท ในปี 26

หลักการทำงานของศรีมิตรจะเน้นที่คุณภาพของลูกค้ามากกว่าปริมาณ

สำหรับผลดำเนินการในปีที่ผ่านมาปรากฏว่ามีกำไร 27.4 ล้านบาทก่อนหักภาษี เมื่อเปรียบเทียบกับกำไร 14.3 ล้านบาทใน 2525 หรือเฉลี่ยกำไร 470.70 บาท ต่อหนึ่งหุ้น

ในด้านเงินฝากนั้น 2526 มีเงินฝากทุกประเภทมากกว่าปี 2525 ถึง 20% คือเพิ่มจาก 926.2 ล้านบาท เป็น 1,111.8 ล้านบาท

และในปี 2527 ก็เป็นปีที่ “ศรีมิตร” มีสำนักงานของตนเอง คืออาคารศรีมิตร ในซอยอโศก ซึ่งซื้อมาจากไทยวิวัฒน์ประกันภัยในราคา 60 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นสำนักงานใหญ่และเพื่อรองรับขยายกิจการในอนาคต

“ศรีมิตร” มีสาขาอยู่ 5 สาขาดังนี้

1. สาขาสีลม 2. สาขาเชียงใหม่ 3. สาขาขอนแก่น 4. สาขาภูเก็ต 5. สาขาหาดใหญ่ สำหรับประธานกรรมการของ “ศรีมิตร” คือสุนทร หงส์ลดารมภ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ส่วนกรรมการก็ประกอบด้วย:-

พล.ต.ท.เภา สารสิน ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

โชติ จูตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัทยิบอินซอย

เทียนชัย ลายเลิศ กรรมการผู้จัดการบริษัทยิบอินซอย และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของศรีมิตร

บัณฑูร ล่ำซำ บุตรชายบัญชา ล่ำซำ และเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายงบประมาณ และวางแผนธนาคารกสิกรไทย

อนุพร พงษ์สุรพิพัฒน์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสฝ่ายสินเชื่อของ “ศรีมิตร” และอดีตเป็น SECOND VP. ของธนาคารเชสฯ

สุเทพ วงศ์วรเศรษฐ กรรมการผู้จัดการศรีมิตร อดีตเป็น VP ของธนาคารเชสฯ เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อของธนาคารเชสฯ ที่สำนักงานใหญ่ในนครนิวยอร์ก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us