บอกก่อนว่านี่ไม่ใช่หนังสือธรรมดา คนเขียนก็จัดเป็นนักวิชาการระดับปรมาจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ที่มีผลงานอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
เป็นที่ยอมรับทั้งด้านหลักวิชาที่ทันสมัยเสมอ ขณะที่ท่านเป็นนักอ่านตัวยงและก็มีความหลากหลายสูงในการอ่านรวมทั้งการนำประยุกต์ข้ามสาขาบ่อยๆ
ก่อนจะพลิกอ่านต้องอ่านคำนำ เหตุผลที่เรียกร้องว่าควรอ่านคำนำเพราะนี่คือ
การบอกถึงความสัมพันธ์ และที่มาของชื่อหนังสือที่ผู้อ่าน โดยเฉพาะคอหนังสือจะคุ้นเคย
นิตยสารชื่อ คล้ายกันคือ โลกหนังสือ คอลัมน์ที่ชื่อ ถนนหนังสือในนิตยสารดังกล่าวคือคอลัมน์ในนิตยสารฉบับนั้น
แสบคันกล่อมอารมณ์ดีแท้ที่ หนังสือเล่มนี้อาจารย์อุทิศให้คนที่ไม่สำคัญในบรรณพิภพไทย
ชื่อสุชาติ สวัสดิ์ศรี แต่คุณสุชาตินั้นคือ มิตรร่วมรบในโลกแห่งปัญญาของอาจารย์เอง
สุชาติกับผู้วิจารณ์ก็เช่นกัน เราร่วมสังฆกรรมด้านปัญญามายาวนานเขาสนับสนุนให้เรามีหนังสือดีๆ
อ่าน อ่านแล้วคิดเขียน ผ่านเวทีที่เขาไม่สำคัญ แต่ถามว่าเวทีของสุชาติ สวัสดิ์ศรี
มีน้ำหนักกว่าปริมณฑลของตลาดหนังสือขายดี เอามากองรวมกันวัดตาชั่ง ก็ย่อม
เอียงเข้าหาน้ำหนักที่เวทีสุชาติยืนอยู่
คราวนี้ ผู้วิจารณ์อยากแนะนำมากกว่าวิจารณ์ เพราะอะไรหรือ ก็เพราะแค่แนะนำให้คอหนังสืออ่านกันมากๆ
ก็สนุกแล้ว นี่กล่าวสำหรับนักอ่าน โดยเฉพาะ หากกล่าวสำหรับคนอ่านโดยทั่วๆ
ไป อาจจะมีมุมใหม่ๆ ได้ความ รู้ชนิดที่นึกไม่ถึง และก็ทำให้เห็นว่าโลกและถนนหนังสือมีเรื่องน่าสนใจมากมาย
สารบัญของหนังสือก็แปลกตรงที่มีรายการที่เรียกว่า เบิกโรง และนำให้ผู้อ่านรู้จักกับความต่างระหว่างหนังสือดี
กับหนังสือขายดี ยุคนี้กลไกตลาดมันท่วมโลก หนังสือขายดี ก็คือ สินค้าในตลาดที่กว้างขวางมาก
มีคุณภาพระดับหนึ่งแน่ แต่ก็สะท้อนรสนิยมของกระแส ในตลาดแข่งขัน
ภาคที่สองเป็นเรื่องบุคคล หมอปลัดเล, ไอน์สไตน์ และสุดยอดแห่งความอร่อยในการเสพหนังสือคือ
เรื่องราวของเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ ที่น่าทึ่งและเป็นเรื่องส่วนตัวจริงๆ จนใครที่สติปัญญาล้ำเลิศคงต้องมองตัวตนว่า
ทำได้ แค่ครึ่งของรัสเซลล์หรือไม่ อ่านเอาเองเรื่องเดียวก็คุ้มนี่ ขอบอกจริงๆ
ที่สนุกคอการเมืองและเติมความรู้เทวาลัยของขบวนการก้าวหน้า แห่งลอนดอนสกูล
ออฟอีโคโนมิค ก็ตื่นเต้นดีแท้เพราะมีการเคลื่อนไหวซ้อนในความเคลื่อนไหวของสำนักนี้อย่างเหลือเชื่อ
ภาคที่สาม เน้นลงไปยังเฉพาะทางเศรษฐศาสตร์ แต่ง่ายชัดและเกี่ยวพันกับยุคที่เศรษฐศาสตร์โลกานุวัตรกินการเมืองโลกแบบไม่ยั้งมือ
ตามด้วยภาคที่สี่ และภาคที่ห้า
โอ….สนุกกับ Sexual McCar-thyism และยุคหมอผี (จริงๆ) ครองเมือง ก็แมคคาร์ธี
ต้นตำรับขวาจัดก็ว่าได้ ทำ เอาพวกขวาจัดไทยมีสถานะแค่เด็กประถม ภาค 6 เรื่องจีน
และภาค 7 เรื่อง อินโดจีน ภาคแปดเป็นเรื่องเกี่ยวกับนิยาย
หนังสือดี อ่านส่วนนี้แล้วหายคิด ว่าตัวเองน่าจะมีอะไรผิดปกติ เพราะในข้อเขียนนี้
หนังสือดีที่ถูกคัดออกมาจากหนอนหนังสือ พบว่าหนอนอ่านพจนานุกรมกันมาก ผมเองใช้เวลามากกับการอ่านพจนานุกรมบริตานิกา
แต่ต้องชุดเก่าๆ ที่ยังอยู่ในระบบอังกฤษ ยิ่งอ่านยิ่งมันอ่านทุกวันก็ตั้งประเด็น
ได้เยอะ
หนังสือขายดี ส่วนใหญ่ไม่เคยได้ รางวัลหนังสือดี ยิ่งนิยายขายดียิ่งไม่ได้รางวัลหนังสือดีเท่านั้น
อาจเป็นเพราะรางวัลจากการขายดีน่าจะพอ แต่ลึกลงไปหนังสือดี ย่อมอยู่กันคนละเวที
มีข้อมูลท้ายบท อ่านแล้วก็ร้องอ๋อสำหรับพวกกิ๊บเก๋ ที่มักชอบอ่านหนังสือธุรกิจที่ดังๆ
ก็สมควรเอาหัวโขกเสียค่าโง่ เพราะ อยากโก้หรือมีคนสัมภาษณ์แล้วดูดี
สำหรับบทความที่สะท้อนกลิ่นอาย ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แก่
เรื่องตลาดหนังสือหลังตุลาคม 2516 น่าสนใจต่อมุมมอง ที่ถือเป็นบทความสะท้อนกระแสของแวดวงการตื่นตัวของวงการหนังสือ
ที่สังคมไม่เคยเห็นมาก่อน เหมือนเปิดทำนบแห่งการกระหายปัญญา หนังสือเหล่านี้หลายเล่ม
ส่วนใหญ่ขายหมื่นถึงหลายหมื่นขึ้นไปทั้งนั้น
อย่าลืมงานชีวิตรักของเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ ที่คุณอ่านแล้วจะต้องรักงานทางปรัชญาของเขาไปมากกว่าเดิม
เพราะความสละสลวยและความเฉียบคม ในแต่ละมุมมองเกี่ยวกับประวัติปรัชญาการเมืองนั้น
และหนังสือยากๆ หลายเล่มนั้น มีฉากรักและคบชู้สู่สาวเป็นแรงผลักดันที่หลายคนคงอิจฉาในอีกมิติหนึ่ง
บทที่ว่านี้แหละ คุ้มแล้วที่ได้อ่าน ตามมาด้วยเรื่องราวของนักเศรษฐศาสตร์
ที่ชื่อ เคนส์ (John Maynard Keynes) อย่างน้อยแวดวงของเคนส์ เช่น โจน โรบินสัน
และกลุ่มบลูมสเบอรี่ซึ่งมีด้านขบถ ทำให้เราได้รู้ลึกมากขึ้น เฉพาะอย่าง ยิ่งต่อผู้วิจารณ์เองที่สมัยเรียนเศรษฐ
ศาสตร์และประวัติศาสตร์เศรษฐกิจในนิวซีแลนด์ กลุ่มขบถ และหนังสือของโจน มีอิทธิพลมากในเวลานั้น
(เมื่อโจน โรบินสัน ยืนข้างฝ่ายซ้าย ได้น่าประทับใจของผู้แนะนำหนังสือในช่วงเวลาดังกล่าว)
แถมตามด้วยถนนเศรษฐศาสตร์ การเมืองยิ่งเพิ่มอรรถรสอร่อยอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นการเขียนถึงสกุล
ความคิดระหว่างโครงสร้างการเมืองกับอำนาจ รัฐ และความเกี่ยวเนื่องของพื้นระบบเศรษฐกิจ
ในส่วนเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นจ้าวยุทธด้านทฤษฎี หรือตำรับของนักเศรษฐศาสตร์นี้
น่าจะเป็นวิชาที่ควรจะเรียนวิชาหนึ่งในประเทศไทยด้วยซ้ำ เพราะจะได้เข้าใจประเด็นความคิดที่สะท้อนออกมาได้มากขึ้นของกระบวน
การพัฒนาทางความคิดที่บ่งบอกความสำคัญของยุคสมัยที่กระแสต่อสู้ระหว่าง วิธีคิดของฝ่ายที่ถูกเรียกว่าก้าวหน้าทางวิชาการมากขึ้น
หากท่านผู้อ่าน อ่านมาถึงช่วงแนะนำนี้ จะสังเกตได้ว่า การแนะนำหนังสือของอาจารย์รังสรรค์นั้น
ไม่ได้มีการหยิบยกอะไรมาบอกผู้อ่านมากกว่าแนะนำว่าจะได้อ่านอะไรบ้างมากกว่าในหนังสือมีอะไร
เพราะเชื่อว่าการค้นพบเพชรในงานนั้น ให้เป็นเรื่องของการอ่านหนังสือดี ซึ่งไม่ทราบว่าจะขายดีหรือไม่
แต่ก็เป็นหนังสือที่น่าอ่านและอ่านสนุกในเชิงปัญญามากที่สุดและได้ความรู้ตลอดจนเกร็ด
ระดับวางไม่ลงและใช้เป็นหนังสืออ่านแล้วกลับมาอ่านอีกได้อีกหลายรอบ
แน่นอนว่า อาจารย์เขียนหนังสือเพื่อความเข้าใจที่ง่าย แต่เรื่องที่ผู้อ่านจะต้องมีพื้นเกี่ยวกับเรื่องที่อาจารย์เขียนหรือไม่นั้น
ต้องบอกไว้เลยว่าความ อร่อยในรสชาติการอ่านนั้น ถ้าอยู่ในแวดวงผู้ชอบอ่านหนังสือให้ความรู้ที่สนุก
หนังสือของอาจารย์อ่านแล้ว ลื่นไหลและเห็นภาพในมุมที่ไม่ได้รับรู้อยู่หลายตอน
เสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้คือ ความ หลากหลายและมุมต่างๆ ที่อาจารย์หยิบ ยกขึ้นมาเขียนและเรียบเรียงไว้อย่างเป็นภาคๆ
ไป
ไม่ทราบนักศึกษาที่ชอบอ่านเรื่องราวในวิธีเขียนแบบอาจารย์รังสรรค์ ยังเหลือเล็ดลอดไม่ได้อ่านอีกกี่ราย
จงไปหาอ่านโดยเร็ว เพราะนี่ก็เป็นหนังสือดีที่น่าจะขายได้