|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธุรกิจทีวีดาวเทียมที่เติบโตขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา กลายเป็นการเติบโตที่เหมือนเบี้ยหัวแตก จำนวนผู้ชมรายการทีวีดาวเทียมที่เพิ่มขึ้น สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่ารายการของฟรีทีวีในหลายช่วงเวลา แต่ในด้านของช่องทางการรับชม กลับมาจากช่องทางที่มากถึง 3 ช่องทาง ทั้งเคเบิลทีวี, จานสีไซส์เล็ก KU-Band และจานดำไซส์ใหญ่ C-Band แต่ช่องทางไหนจะเป็นช่องทางที่มีอนาคตมากกว่ากัน เบิร์ด-กุลพงศ์ บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลฟ์ ทีวี จำกัด ผู้ผลิตรายการบนทีวีดาวเทียมรายแรกๆ ในเมืองไทย กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ในอดีตการแข่งขันของทีวีดาวเทียมอยู่ที่คอนเทนต์ และวันนี้คอนเทนต์ก็ยังมีการแข่งขันกันอยู่ แต่ที่รุนแรงขึ้นกลับเป็นการแข่งขันของแพลตฟอร์ม ที่มีอยู่ทั้งจาน KU-Band, C-Band รวมไปถึงทางสายเคเบิล ปัจจุบันภาพที่เห็นอาจดูเหมือนว่า คอนเทนต์ต่างๆ วิ่งเข้าหาช่องทาง C-Band กันมาก แต่เชื่อว่าในระยะยาวจาน C-Band จะไม่เติบโตไปมากกว่านี้ โอกาสจะไปอยู่ที่จาน KU-Band และเคเบิลทีวีมากกว่า
“ในมุมมองของผมที่เคยทำงานอยู่ที่สตาร์ทีวีมากกว่า 2 ปี เห็นธุรกิจทีวีดาวเทียมมาตั้งแต่ 15 ปีก่อน มองสภาพตลาดบ้านเราเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ดูว่าอะไรคือความเหมาะสม พบว่าจาน C-Band คงไม่โตมากไปกว่านี้ เพราะระหว่างการติดจาน KU-Band ที่มีขนาดเล็ก จะมีความสะดวกกว่า และเหมาะสมกับพฤติกรรมคนเมืองที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม ที่แทบไม่มีโอกาสติดจาน C-Band ได้เลย ในต่างประเทศเหลือเพียงแพลตฟอร์ม KU-Band และเคเบิลทีวี ที่เติบโต ยกเว้นในประเทศจีน อินเดีย หรืออินโดนีเซีย ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ การยิงรอบเดียวให้พื้นที่ครอบคลุมที่มากกว่า แต่ในขณะที่ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน หรือประเทศไทย ไม่มีความจำเป็น รับสัญญาณด้วยจาน KU-Band ก็เพียงพอ”
กุลพงศ์กล่าวว่า การที่ C-Band ชูจุดขายว่าเป็นจานดาวเทียมที่สามารถรับช่องสัญญาณได้มากช่อง ถือเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น เพราะในความเป็นจริงต้องพิจารณาว่า มีช่องรายการที่มีคอนเทนต์ที่น่าสนใจใน C-Bandอยู่กี่ช่อง และมีอยู่ใน KU-Band กี่ช่อง เชื่อว่าในอนาคตผู้ผลิตรายการถ้าไม่อยากเอ็นคริปต์ช่องของตน จะต้องไปออกอากาศทาง KU-Band เพราะสามารถทำธุรกิจเปย์เปอร์วิวที่ช่วยสร้างรายได้จากคอนเทนต์ที่มีมูลค่าสูงได้ แทนที่จะหารายได้จากการโฆษณาเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม จนถึงวันนี้เกมการแย่งชิงผู้บริโภคของแพลตฟอร์มต่างๆ ยังไม่จบ การแข่งขันยังมีต่อไป แต่หากเทียบกับในสหรัฐอเมริกา วันนี้ไม่มีจาน C-Band อยู่แล้ว แต่เคเบิลทีวีกลับมีการเติบโตมากขึ้นเพราะการมีบริการเสริม เป็นอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงถึง 100 Mb. การแข่งขันไม่ได้อยู่ที่คอนเทนต์ หากแต่อยู่ที่บริการ และเชื่อว่าอนาคตตลาดในประเทศไทยก็คงเดินไปในทางนี้เช่นเดียวกัน
ในด้านการแข่งขันของคอนเทนต์ กุลพงศ์กล่าวว่า ตนเคยกล่าวไว้ว่า ธุรกิจทีวีดาวเทียมจะเติบโตได้ จำเป็นต้องมีผู้ผลิตโดดลงมาสู่ธุรกิจ ถ้าทุกคนมีส่วนแบ่งอยู่ 10-15% ทำอย่างไรจะให้ 10-15% นั้นมีมูลค่ามากขึ้น ก็ต้องทำให้ตลาดเติบโตขึ้น ซึ่งการจะทำให้ตลาดเติบโตขึ้น ก็ต้องมีผู้สนใจเข้ามา ตั้งแต่ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, อาร์เอส, ช่อง 7, เวิร์คพอยท์ ถ้าเข้ามาสู่ธุรกิจนี้จะถือเป็นเรื่องดี คุณภาพของงานที่บริษัทเหล่านี้ทำกันอยู่ เมื่อเข้ามาสู่ธุรกิจทีวีดาวเทียม ก็จะทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นพัฒนาคอนเทนต์ของตนให้ดีขึ้น เมื่อคอนเทนต์ดีขึ้น ผู้ชมทางบ้านก็มีความพอใจมากขึ้น มีความต้องการติดตั้งจานดาวเทียมมากขึ้น ตลาดก็ต้องเติบโตขึ้นตาม แต่หากปล่อยให้คอนเทนต์ยังไร้คุณภาพเหมือนเมื่อ 3 ปีก่อน มีแต่หนังอินเดีย หนังจีนเกรดต่ำ คงไม่มีลูกค้าสนใจ เงินที่จะเข้ามาหมุนเวียนสร้างธุรกิจก็จะมีอยู่เพียงแค่นั้น
ในส่วนของไลฟ์ทีวี ที่วันนี้ออกอากาศแบบเอ็นคริปต์เฉพาะทางช่องเคเบิลทีวีเท่านั้น กุลพงศ์กล่าวว่า เป็นเพราะความเชื่อมั่นว่าคอนเทนต์ของไลฟ์ทีวีมีคุณภาพที่จะดึงดูด วางตัวเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องอยู่เสมอ ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะดีกับตนเองหรือไม่ จึงสามารถขายโฆษณาสร้างรายได้ได้ เหมือนดังเช่นแพลตฟอร์มที่เลือกใช้ ไลฟ์ทีวี จะอยู่ตรงกลาง ไม่ได้เลือกฝั่งในวันแรกที่ออกอากาศ แต่กลับมาถูกขีดเส้นให้ไปอยู่รวมกับเคเบิลทีวี แต่ท้ายที่สุดหากแพลตฟอร์มเริ่มกระจัดกระจาย สมาคมเคเบิลทีวี เริ่มคุมตลาดไม่อยู่ จาน KU-Band เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ตนก็อาจต้องกลับมาพิจารณาดูธุรกิจของตนเอง ว่าไปต่อไปคงไม่ไหว ต้องปลดเอ็นคริปต์หันไปออกอากาศทาง KU-Band ก็เป็นไปได้ในอนาคต
|
|
 |
|
|