Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2527
"คนใส่เสื้อสีฟ้า" คนโต บัญชา ล่ำซำ             
 

   
related stories

ทีเอฟบี แถลง ทีซีดี มีทเดอะเพรสของกสิกร

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
บัญชา ล่ำซำ
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
ณรงค์ ศรีสอ้าน
สรชัย พิศาลบุตร
บรรยงค์ ล่ำซำ
สงบ พรรณรักษา




บัญชา ล่ำซำ (รายละเอียดเรื่อง สายสัมพันธ์ตระกูลล่ำซำ โปรดพลิกอ่านหน้าสุดท้ายในคอลัมน์ “หน้าสุดท้าย” ในฉบับนี้) ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทยเป็นคนที่รักศิลปวัฒนธรรมอย่างสูงคนหนึ่ง

“ในบรรดาทอปแท็งเกอร์ทุกวันนี้ ต้องยกให้คุณบัญชาเพราะเขาเป็น BANKER ที่มี CULTURE สูงคนหนึ่ง” คนที่รู้จักบัญชาดีเล่าให้ฟัง

“สมัยหนุ่มๆ คุณบัญชาจะชอบสะสมแผ่นเสียง เวลาว่างๆ สมัยนั้นจะเห็นแกไปนั่งเลือกซื้อแผ่นเสียงตามร้านต่างๆ และพอจะดูได้ว่า COLLECTION ทางแผ่นเสียงของแกจะมากที่สุดก็ว่าได้ แต่พอแก่ตัวลงก็เลิกซื้อ”

“แกเป็นคนละเอียดอ่อนมาก เรื่อง DETIAL นั้นต้องยกให้รถเบนซ์ที่นั่งถ้ามีเสียงรบกวนหน่อยเป็นต้องลงมาดูรอบรถดูบนดูล่าง และต้องเอาเข้าอู่จนกว่าเสียงจะเรียบร้อยไป”

ตอนนี้บัญชา ล่ำซำ ก็เท่ากับเป็นหัวหน้าตระกูลล่ำซำไปโดยปริยาย และพี่น้องในแต่ละสายก็ให้ความเคารพและเชื่อฟังพอสมควร

บัญชา ล่ำซำ ไม่ได้จบมาทางธนาคาร แต่เรียนมาทางวิศวกรรมศาสตร์ เคยทำงานอยู่ในเมืองไทยประกันชีวิต

ตอนเกษม ล่ำซำ เครื่องบินตกเสียชีวิต ก็มีการสรรหาคนมาบริหารธนาคารกสิกรไทยแทนเกษม ล่ำซำ ที่ประชุมกรรมการเดิมทีจะเอาสุรพันธ์ พิศาลบุตร ซึ่งเป็นฝ่ายเขยของล่ำซำมา แต่จุลินทร์ ล่ำซำ ซึ่งเป็นอาของบัญชายืนยันจะเอาบัญชามานั่งแทน ว่ากันว่า จุลินทร์ถึงกับตบโต๊ะถึงจะตกลงกันได้ว่าให้บัญชามาบริหาร

บัญชา ล่ำซำ นิยมการสร้างนักบริหารของตนเองมากกว่าการดึงตัวมาจากที่อื่น และธนาคารกสิกรไทยก็เป็นสถาบันธนาคารแห่งแรกที่ให้ทุนไปเรียนปริญญาโทต่างประเทศ ซึ่งมาช่วงหลังนี้ผู้บริหารระดับสูงหลายคนก็เป็นผลพวงมาจากการส่งคนไปเรียนต่อ

“แต่กสิกรไทยก็ถูกซื้อตัวไปมากเหมือนกัน ซึ่งถ้ามองกันอีกแง่แล้ว ก็ไม่ผิดหรอกเพราะคุณให้เขามากกว่า แต่มันผิดจรรยาบรรณ เพราะแสดงว่าบริษัทคุณไม่ได้มีการวางแผนด้าน HUMAN RESOURCE เลยใช้วิธีดึงเอามา ซึ่งที่ถูกคือขโมยตัว” แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดธนาคารกสิกรไทยให้เหตุผล

แต่บางครั้งก็มีคนออกเพราะทางข้างหน้ามันตัน และตัวเองจะไม่มีโอกาสแสดงความสามารถ เช่น สงบ พรรณรักษา ซึ่งเมื่อถูกย้ายไปคุมคอมพิวเตอร์ก็ลาออก และมาแสดงฝีไม้ลายมือที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยาจนขึ้นมาอยู่ชั้นแนวหน้าได้ทุกวันนี้

”คุณบัญชาเป็นคนดุ คนที่ทำงานด้วยกลัวทุกคน ทุกวันนี้ก็ยังเป็นคุณบัญชา ซึ่งเป็นคน RUN อยู่ คุณบรรยงค์ก็เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน”

บัญชา ล่ำซำ กลัวมากเรื่องที่คนภายนอกจะมองว่าธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารของล่ำซำ

บัญชาเคยให้สัมภาษณ์นิตยสารดอกเบี้ยไว้ครั้งหนึ่งว่า เขาต้องการให้พนักงานกสิกรไทยมีความรู้สึกว่าถึงจะไม่ใช่ล่ำซำก็มีโอกาสขึ้นไปสูงสุดได้เหมือนกัน

ณรงค์ ศรีสอ้าน ก็คงเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ขึ้นมาได้เพราะฝีมือ “แต่คุณณรงค์เองในที่สุดแล้วก็คงต้องอยู่ตรงนี้ เพราะสูงกว่านั้นไปติดคุณบรรยงค์ ล่ำซำ และกว่าคุณบรรยงค์จะเกษียณก็คงต้องเลิกคิดได้” แหล่งข่าวในกสิกรไทยออกความเห็น

ก็คงจะต้องเป็นยุคหลังบรรยงค์ ล่ำซำ กระมังที่คนนอกพอจะวัดดวงได้!

แต่ตอนนี้ก็มี “อุ๋ย" หรือ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล น้องภรรยาบัญชา และบัณฑูร ลูกชายบัญชา อยู่ในกสิกรด้วย

บัญชา ล่ำซำ เป็นคนสนใจในเรื่องโครงการที่จะให้ประโยชน์กับสังคมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา

มีน้อยคนที่รู้ว่า สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ของจุฬา (GRADUATED INSTITUTE OF BUSINESS ADMINISTRATION) ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษโดยร่วมกับ WHARTON SCHOOL แห่งมหาวิทยาลัยเพนน์ซิลเวเนียกับมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น นั้นเริ่มขึ้นมาจากความคิดของบัญชา ล่ำซำ โดยที่วันหนึ่งก่อนเข้าประชุมสภามหาวิทยาลัยจุฬาฯ บัญชา ได้พูดกับ ดร.สุธี คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และกับประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ รองอธิการบดีจุฬาฯว่า จุฬาฯ น่าจะมีสถาบันผลิตบัณฑิตปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจที่สอนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อจะได้ออกมารองรับการเจริญเติบโตทาง INTERNATIONAL BUSINESS ของประเทศไทย และจากจุดนั้นไปอีกไม่กี่ปี GIBA ก็เริ่มต้นขึ้นมาและธนาคารกสิกรไทยก็เป็นหนึ่งใน 7 รายที่ให้เงินอุดหนุนกับสถาบันนี้ โดยให้ปีละ 500,000 บาท เป็นเวลา 2 ปีตามที่ GIBA ได้ขอมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us