Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน15 มกราคม 2553
ธปท.ชี้เงินไหลเข้าดันบาทแข็ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
บัณฑิต นิจถาวร
Currency Exchange Rates




ธปท.เผยเงินบาทแข็งค่าขึ้นผลจากเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นและพันธบัตร แนะภาคเอกชนปรับตัวรองรับความผันผวนจากเงินทุนไหลเข้าและเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ชี้ดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นภายในปีนี้เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจและนโยบายทางการเงินปี 53" จัดโดยบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ว่า ตลอดปี 52 ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้น 5% จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก และนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆจากเงินทุนไหลเข้า โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเม็ดเงินเข้าในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรมากขึ้น

โดยกระแสเงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทยมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองของนักลงทุนในการพิจารณาศักยภาพเศรษฐกิจเป็นสำคัญ รวมถึงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และทิศทางนโยบายการเงิน ในการสร้างแรงจูงใจด้านผลตอบแทน โดยผลของเงินทุนไหลเข้านอกจากกดดันให้เงินบาทแข็งค่าแล้ว อาจส่งผลให้ราคาสินทรัพย์สูงขึ้น และสภาพคล่องในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งหากเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปอาจสะสมความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจได้ ดังนั้น ธปท.จะให้ค่าเงินเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดและดูแลไม่ให้กระทบภาคธุรกิจ

นายบัณฑิตกล่าวอีกว่า ในปีนี้ความผันผวนตลาดการเงินโลกมีมากขึ้นจากความไม่ชัดเจนและการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ ทำให้ภาคเอกชนต้องมีการวางแผนที่ดีในการปรับตัวรับสิ่งที่เกิดขึ้นมากขึ้น โดยช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนโยบายการเงินมีการผ่อนคลายมาตลอด เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยสู่ภาวะปกติและเกิดขึ้นได้ภายในปีนี้ ส่วนจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าเป็นไปตามการพิจารณาของกนง.สะท้อนเห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวเข้มแข็งแล้วและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อภาคเอกชน

โดยจากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนพ.ย. พบว่า เศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยการฟื้นตัวเศรษฐกิจเริ่มมีการกระจายสู่ภาคต่างๆ มากขึ้นทั้งภาคการส่งออก อสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว และการบริโภค อย่างไรก็ตาม แม้การเบิกจ่ายภาครัฐที่มีมากขึ้น แม้เม็ดเงินสู่ระบบไม่มากนักเมื่อเทียบกับยอดการเบิกจ่าย โดยโครงการไทยเข้มแข็งระยะที่ 2 มียอดสะสมการเบิกจ่าย 11% จึงเชื่อว่าหากการใช้จ่ายภาครัฐเป็นไปตามเป้าจะเป็นปัจจัยสำคัญช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยในปีนี้

ขณะเดียวกันในส่วนของธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็งมากขึ้นสะท้อนได้จากผลกำไรในไตรมาส 3 ของปี 52 เงินกองทุนที่มีสัดส่วนสูง และหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ไม่ได้เร่งตัวมากนัก แม้เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ในปีนี้ธนาคารพาณิชย์กลับมาแข่งขันการปล่อยสินเชื่อและระดมเงินฝากมากขึ้น หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 52 เป็นต้นมา

สำหรับเศรษฐกิจต่างประเทศ ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจไทยเช่นกันนั้น ขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นจากความสามารถฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักอย่างสหรัฐ สหภาพยุโรป ญีปุ่น และอังกฤษอย่างต่อเนื่อง แต่กลุ่มประเทศเหล่านี้ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่ทั้งจากอัตราการว่างงานที่มีสัดส่วนสูง โดยขณะนี้สหรัฐมีสัดส่วน 10% อังกฤษ 7.9% ญีปุ่น 5.2% สหภาพยุโรป 10% ขณะที่ฐานะการคลังมีผลให้เกิดความขาดดุลมากขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวในต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนระยะยาวเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ แม้ภาพรวมหนี้เสียของกลุ่มสถาบันการเงินเหล่านี้ปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีปัญหาอยู่ จึงอาจเป็นข้อจำกัดต่อความสามารถปล่อยกู้ได้

สำหรับค่าเงินบาทวานี้ นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เปิดตลาดที่ระดับ 32.96-33.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เคลื่อนไหวระหว่างวันที่ระดับ 32.80-32.94 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 32.88-32.94 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us