|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์กสิกรไทยตั้งเป้าขายเอ็นพีเอปี 53 ไว้ที่ 4 พันล้านบาท จากพอร์ตสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท หนุนธปท.จะปรับเกณฑ์ระยะเวลาการถือครองอสังหาฯที่เป็นเอ็นพีเอแบงก์พาณิชย์ ระบุเป็นประโยชน์สามารถป้องกันความเสื่อมของทรัพย์ได้
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ในปี 2553 นี้ธนาคารตั้งเป้าหมายจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย (เอ็นพีเอ) ไว้ที่ประมาณ 4 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่ฐานทรัพย์เอ็นพีเอของธนาคารอยู่ที่ราว 1 หมื่นล้านบาท โดยคาดการณ์ว่าการไหลเข้าของจำนวนทรัพย์เอ็นพีเอใหม่ในปีนี้จะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ธนาคารจำหน่ายออกไปได้ ดังนั้น จึงมองว่าฐานเอ็นพีเอของธนาคารจะอยู่ในอัตราที่ทรงตัว ทั้งนี้ ในปี 2552 ธนาคารคาดว่าจะสามารถจำหน่ายเอ็นพีเอออกไปได้ประมาณ 3-4 พันล้านบาท ตามเป้าหมายที่ธนาคารวางไว้ ซึ่งมูลค่าดังกล่าวถือเป็นระดับทั่วไปในการจำหน่ายทรัพย์ต่อปี
"ราคาเอ็นพีเอของธนาคารกสิกรไทยที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นราคาประมาณ 80% ของราคาตลาดโดยรวม ซึ่งธนาคารก็ต้องประเมินราคาใหม่กันทุกปี เพราะธนาคารเองก็มีความต้องการอยากขาย คนซื้อก็จะได้ซื้อของในราคาที่ถูก ส่วนถ้าเป็นทรัพย์ประเภทที่ดินที่อยู่กับธนาคารมานั้น ส่วนใหญ่พวกผู้ประกอบการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ (ดีเวลลอปเปอร์) มาซื้อไปพัฒนาก็จะได้ต้นทุนที่ถูกลง แต่แปลงใหญ่ๆที่ดีเวลลอปเปอร์ใหญ่อยากได้ก็ถูกขายไปหมดแล้วตั้งแต่ปี 2540 มาเรื่อยๆ ซึ่งเรียกว่าเหลือแต่ที่ดินแปลงย่อยๆ ที่เหมาะกับลูกค้ารายย่อยซึ่งเขาก็จะไม่ค่อยสนใจกัน เพราะคิดว่าเสียเวลาที่จะต้องนำไปพัฒนาและปรับปรุง"นายชาติชาย กล่าว
สำหรับกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งสัญญาณปรับเกณฑ์ระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเอ็นพีเอของธนาคารพาณิชย์นั้น นายชาติชายกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวถือเป็นประโยชน์กับธนาคารทั้งหมด เพราะการกำหนดระยะเวลาการถือครอง ทำให้ต้องรีบขายออกไปเพราะกลัวว่าจะต้องเสียค่าปรับ ซึ่งอาจต้องยอมขาดทุนบางส่วนไปบ้าง แต่ขณะเดียวกันการเก็บเอ็นพีเอเอาไว้กับธนาคารนานจนเกินไป ก็จะเป็นสร้างภาระทางต้นทุนในการรองรับความเสื่อมของทรัพย์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับธนาคารเองแล้วก็อยู่ในระดับที่รับได้
"ถ้าธปท.มีการออกกฎเกณฑ์ผ่อนคลายก็ถือว่าดี เพราะตอนนี้พอถึงเวลาก็เหมือนบังคับให้ขาย ถ้าไม่ขายก็ต้องยอมเสียค่าปรับไป ขายก็ขาดทุน แต่กฎก็ควรออกควบคุมไว้ว่าควรถือได้กี่เปอร์เซ็นต์ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งตอนนี้ธนาคารเองมีสินทรัพย์รวมเป็นแสนๆล้าน แต่ในส่วนของเอ็นพีเอ มีแค่ราวหมื่นล้านเท่านั้นเอง"นายชาติชาย กล่าว
|
|
 |
|
|