Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2527
เอ็นซีอาร์กับตลาดสินค้าใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้าแต่ยังต้องจับตามองกันอีกนาน             
 


   
www resources

โฮมเพจ NCR Corp.

   
search resources

Telecommunications
Computer
NCR Corp.
WILLIAM G.BOWEN
CHARLES E. EXLEY JR
WILLIAM S. ANDERSON




การพยายามดึงลูกค้าใหม่ๆ ไว้ในมือย่อมเป็นหัวใจหลักของการขยายตัวสำหรับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ระดับรองของสหรัฐฯ ซึ่งจำเป็นต้องหาทางหนีทีไล่จากยักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็ม หรืออีกนัยหนึ่ง บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล บิสสิเนสเมชีนส์ (INTERNATIONAL BUSINESSMACHINES CORP) ทั้งบริษัทเบอร์โรห์ (BURROUGHS CORP) และเอ็นซีอาร์ (NCR CORP) ต่างก็เป็นผู้ริเริ่มที่จะพยายามขยายขอบข่ายลูกค้าของตน แต่ดำเนินนโยบายที่ต่างกันออกไป กล่าวคือ ในขณะที่เบอร์โรห์พยายามเน้นหนักไปในเรื่องการขยาย และปรับปรุงแนวทางสินค้า

เอ็นซีอาร์กลับแตกแขนงออกไปสู่ตลาดใหม่ๆ ทั้งนี้ ขณะนี้ก็ยังออกจะเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า นโยบายของผู้ใดจะประสบความสำเร็จยิ่งกว่ากัน แต่จากการดูในแง่ของตลาดหุ้นเมื่อไม่นานมานี้ นักธุรกิจในนิวยอร์กคิดว่า เอ็นซีอาร์ดูจะมีภาษีดีกว่า

ตลาดเก๊ะเงินอิเล็กทรอนิกส์

ในราวๆ ต้นทศวรรษ1970 นี้ เอ็นซีอาร์ต้องสูญเสียความเป็นเจ้ายุทธจักรในการค้าเครื่องมือที่เรียกกันว่า เครื่องมือบันทึกเงินสด เมื่อไม่อาจจะหมุนตัวได้ทันท่วงทีที่จะเปลี่ยนมือจากระบบที่เรียกว่า กลไกอิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิมของตนมาเป็นระบบการป้อนหน่วยขายแบบอิเล็กทรอนิกส์

หลังจากนั้น บริษัทสาขาเดย์ตันก็หันมาสนใจในเรื่องการผลิตระบบป้อนข้อมูลและเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ได้กลายมาเป็นสินค้าหลัก ผลที่ได้รับก็คือ รายได้จากสินค้าทั้งสองชนิดนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ต่อปีในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา แต่จากการสำรวจของบริษัทวิจัยตลาด อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า ( INTERNATIONAL DATA CORP ) กลับพบว่า อัตรานี้เป็นอัตราที่ต่ำที่สุดเมื่อนำไปเทียบกับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่อื่นๆ ของสหรัฐฯ โดยเทียบเคียงในระยะเวลาเดียวกันนี้ อัตราการขยายของทั้งไอบีเอ็มและเบอร์โรห์ต่างก็เกินร้อยละ 14 เสียด้วยซ้ำ

ด้วยแนวโน้มที่ต้องการจะปรับปรุงระบบการทำงาน เอ็นซีอาร์ได้พยายามพัฒนาสินค้าชนิดใหม่ๆ เพื่อขายให้กับแหล่งซื้อใหม่ๆ ทั้งนี้เพราะต้องการที่จะไปให้ถึงจุดที่เรียกว่า เหนือกว่าระดับพื้นๆ ของลูกค้าทั่วๆ ไปในตอนนี้ และเมื่อไม่นานมานี้ บริษัทก็เปิดเผยนโยบายที่แสดงให้เห็นว่า จะเน้นหัวหอกไปในเรื่องของการขายอุปกรณ์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะครอบคลุมไปในเรื่องของการจ่ายเงิน การถอนเงิน และการประกอบการอย่างอื่นๆ ทันทีที่มีการทำกิจกรรมนั้นๆ กันขึ้น เพื่อนำไปใช้กับระบบธนาคาร ร้านค้าย่อยๆ และลูกค้าวงอื่นๆ แต่ในปีที่แล้ว เอ็นซีอาร์ได้เริ่มนำสินค้าชนิดอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไปสู่ท้องตลาดทั้งในเรื่องของการขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเวิร์ดโพรเซสเซอร์ และสารกึ่งตัวนำ รวมไปถึงข่ายงานการติดต่อทางโทรศัพท์

มันสมองของบริษัท

วิลเลียม จี. โบเวน (WILLIAM G.BOWEN) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และเป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการบริหารของเอ็นซีอาร์กล่าวว่า “สิ่งที่เราประจักษ์ก็คือบริษัทได้พยายามทำประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทุกๆ ด้านที่บริษัทได้คิดค้นขึ้น”

นโยบายของเอ็นซีอาร์จะสำเร็จได้แค่ไหน หรือไม่นั้นย่อมจะขึ้นอยู่กับการที่ ชาร์ลส์ อี. เอ็กซ์ลีย์ จูเนียร์ (CHARLES E. EXLEY JR.) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการมานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 และได้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเมื่อต้นปีนี้ จะสามารถทำรายได้จากสินค้าชนิดใหม่ๆ ได้มากน้อยเพียงไร ถึงแม้ว่าในระยะเก้าเดือนแรกของปี 1983 จะมีการตัดต้นทุนในการประกอบการกันอย่างมาก และพยายามปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจะช่วยเสริมให้รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เป็นจำนวน 173.2 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กำไรที่ได้จากช่วงเวลาเดียวกันนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5 เป็นจำนวน 2.59 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปีก่อนกำไรเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3 เป็นเงิน 3.5 พันล้านเหรียญ ในขณะที่จำนวนเงินได้เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 12.5 คือเงิน 234 ล้านเหรียญ เอ็กซ์ลีย์เองยอมรับกับนักวิเคราะห์การเงินในนิวยอร์กว่า “จากที่ผ่านๆ มาแสดงให้เห็นว่า เรารู้วิธีที่จะหารายได้ในระดับที่จำเป็น แต่ก็ยังแสดงให้เห็นอีกเช่นกันว่า เราไม่รู้เลยว่าจะเพิ่มกำไรในระดับสูงได้อย่างไร”

ตามที่ประธานของบริษัทคือ วิลเลียม เอส. แอนเดอร์สัน (WILLIAM S. ANDERSON) ได้แถลงไว้ว่า “นโยบายอย่างหนึ่งของเราก็คือการดำเนินระบบนั้นต่อไป เราคิดว่าเราเป็นผู้ผลิตเครื่องมือประกอบธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทุกวันนี้” ย่อมจะแสดงให้เห็นชัดว่า เอ็นซีอาร์ยังคงไม่ยอมละทิ้งนโยบายเรื่องการผลิตสินค้าประกอบการธุรกิจ อย่างไรก็ตาม แอนเดอร์สันก็มองเห็นส่วนสำคัญเช่นกันว่า ธุรกิจในอนาคตของตนจะต้องมาจากสินค้าชนิดใหม่ๆ “นโยบายหลักอีกอย่างหนึ่งของเราก็คือสินค้าที่ให้ข้อมูลซึ่งมีผลกระทบกันและกัน เช่น การที่คุณถามคำถามกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วมันสามารถตอบคุณได้” ยกตัวอย่างเช่น การขายเกี่ยวกับระบบการป้อนข้อมูลให้แก่ธนาคารและร้านค้าย่อย ซึ่งตอนนี้ก็จะมียอดถึงร้อยละ 42 ของกำไรทั้งสิ้นของบริษัทซึ่งจะตกลงไปเหลือเพียงร้อยละ 30 ในระยะห้าปี ในขณะเดียวกันแอนเดอร์สันก็คาดว่า เอ็นซีอาร์จะสามารถเพิ่มการขายในด้านระบบการสื่อสารและสินค้าที่ใช้ในระบบธุรกิจจากที่ไม่มีเลยไปถึงร้อยละ 10 ของกำไรทั้งสิ้น

เอ็นซีอาร์ดูจะพอใจที่เริ่มวางเป้าหมายไปที่ธุรกิจที่มีระดับการขายสูง เพราะผลตอบแทนคือที่อาจเป็นไปได้นั้นดูมีค่า แม้ว่าอาจจะจับฉวยได้เพียงรายเดียว และแม้ว่า เอ็นซีอาร์อาจจะไม่สามารถหาลูกค้าใหม่ๆ ได้มากนัก นักวิเคราะห์ธุรกิจนิวยอร์กก็ยังคิดว่า สินค้าใหม่ๆ ที่ผลิตออกมาจะสามารถส่งเสริมยอดขายในระยะสั้นๆ ในกลุ่มลูกค้ารายเก่าๆ และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ตลาดหุ้นของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ เช่น เบอร์โรห์และคอนโทรล ดาต้ามีแนวโน้มตกต่ำลง เอ็นซีอาร์กลับพุ่งขึ้นเป็นเพดานเกือบสูงสุด คือในระยะช่วง 12 เดือนจากที่เคยอยู่ในช่วงราคาต้นๆ ของ 40 เหรียญ พุ่งพรวดมาเป็นช่วงกลางๆ 130 เหรียญในปี 1982

แต่คู่แข่งก็ยังคงต้องสงสัยว่า เอ็กซ์ลีย์จะยอมทุ่มเงินจำนวนมหาศาลที่จำเป็นต่อการเปิดตลาดใหม่ๆ ละหรือ และผู้ที่ถือหางข้างเอ็นซีอาร์เองก็ออกจะกังวลว่า การที่บริษัทเข้ามาสู่ข่ายวงสินค้าที่ต้องการจะบุกช้าเกินไปแทบทุกๆ ชนิดเช่นนี้ อาจจะทำให้เป็นการขยายตัวเกินกำลังของตน นักวิเคราะห์รายหนึ่งจากซาโลมอน บราเดอร์ส (SALOMON BROS.) คือ สตีเฟน ที. แมคคลีแลน (STEPHEN T.MACCLELAN) กล่าวว่า “ผมคิดว่าเป็นการเสี่ยงอย่างเหลือเกิน และอาจเป็นการท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่เกิดได้เพียงครั้งเดียวสำหรับพวกเขา” และในขณะนี้ที่ดูเหมือนว่า เอ็กซ์ลีย์พร้อมเต็มที่ที่จะทุ่มทุนใดๆ ที่คิดว่าจะเป็นต่อการแสวงหาตลาดใหม่ๆ และเขาได้เพิ่มเงินสดราว 527 ล้านเหรียญ เพื่อใช้ในการปรับปรุงภายในบริษัทและจากการที่หนี้ของบริษัทลดลงเหลือเพียงร้อยละ 16 ของเงินทุนทั้งหมด คือลดจากตัวเลขร้อยละ 27 ในปี 1980 ก็ต้องบอกว่า งบดุลในขณะนี้ของเอ็นซีอาร์แข็งมากทีเดียว

ข่ายงานของเอ็นซีอาร์

ด้วยการก้าวไปอย่างอาจหาญ เอ็กซ์ลีย์ได้เข้าไปสู่ธุรกิจการสื่อสารด้วยการขายระบบโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพเยี่ยมของตนเองออกขายแก่บุคคลภายนอก นอกเหนือไปจากการลดการบริการโทรศัพท์ทางไกลเมื่อเร็วๆ นี้ เอ็นซีอาร์ก็ยังได้วางแผนที่จะขายข่ายงานเรื่องเสียงและข้อมูลโดยจะเริ่มขึ้นในปี 1986 ที่จะถึงเร็วๆ นี้ โดยจะเรียกระบบนี้ว่า เนชั่นแนลเน็ต (NATIONNAL NET) ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในเขตรัฐต่างๆ เชื่อมโยงกัน และบริษัทก็ยังได้ประกาศอีกว่า จะทำการบริการระบบการสื่อสารระหว่างเมืองแก่ลูกค้าโดยการติดตั้งอุปกรณ์เก็บข้อมูลในสถานที่ต่างๆ กัน

นักสังเกตการณ์อุตสาหกรรมผู้หนึ่งคิดว่าในระยะยาวเอ็นซีอาร์อาจกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในด้านข่ายงานเสียงและข้อมูล เพราะถือไพ่ใบสำคัญไว้สองใบในมือ นั่นคือ เอ็นซีอาร์คอมเทน (NCR's COMTEN INC) เป็นผู้ขายอุปกรณ์ที่เชื่อมเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์และผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อมูลโดยการโทรทางไกล และยังถือหุ้นอีกร้อยละ 19 ในบริษัทซเทิล (ZTEL INC) ในเมืองแอนโดเวอร์ ซึ่งเป็นผู้ติดตั้งระบบแลกเปลี่ยนสายย่อยส่วนบุคคล ซึ่งจะสามารถส่งเสียงเรียกทางโทรศัพท์และข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ไปได้พร้อมๆ กันในตึกเดียวกัน จอห์น เอฟ. มาโลน จูเนียร์ (JOHN F. MALONE JR.) ผู้อำนวยการของกลุ่มอีสเทอร์น เมเนจเมนท์ (EASTERN MANAGEMENT GROUP)

อันเป็นบริษัทให้การปรึกษาด้านระบบการสื่อสาร ในรัฐนิวเจอร์ซีย์กล่าวว่า “เอ็นซีอาร์จะกลายเป็นคู่แข่งที่ร้ายกาจในด้านการสื่อสาร”

กำไรที่เร็วกว่าจะมาจากเครื่องทาวเวอร์ 1632 (TOWER 1632) อันเป็นคอมพิวเตอร์ประกอบธุรกิจขนาดเล็กซึ่งสามารถใช้งาน 16 จุด และจะเป็นสินค้าชนิดแรกของเอ็นซีอาร์ที่จะขายผ่านผู้ผลิต ซึ่งจะเป็นทั้งผู้ซื้อเครื่องให้การสนับสนุนจัดรวบรวมเป็นระบบ และขายใหม่ เพราะเหตุที่ราคาของเครื่องทาวเวอร์นี้ถูกกว่าสินค้าของคู่แข่งและยังใช้ระบบการใช้งานที่เรียกว่า ยูนิกซ์ ที่ออกแบบโดยบริษัทอเมริกัน เทเลโฟน แอนด์เทเลกราฟ (AMERICAN TELEPHONE & TELEGRAPH CO.) อันเป็นแบบมาตรฐานสำหรับวงการ นักสังเกตการณ์จึงคิดว่า เอ็นซีอาร์ย่อมตัดเชือกคู่แข่งรายย่อย ซึ่งไม่อาจเทียบเคียงได้เลยในเรื่องของการสั่งสมเรื่องชื่อเสียง และองค์การให้การบริการที่ใหญ่โต และนี่เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งของเอช. ไมเคิล คันนิงแฮม (H.MICHAEL CUNNIGHAM CO.) แห่งบริษัทเซาท์เวสท์ โมดูลาร์ ซีสเตมส์ (SOUTHWEST MODULAR SYSTEMS INC., ) ซึ่งเป็นผู้ขายซอฟต์แวร์ในเทกซัส “ในจำนวนสินค้าสองชนิดที่ผมขาย ทาวเวอร์ขายได้ดีกว่า ไม่ใช่เพราะเป็นเครื่องชนิดที่ดีกว่าหรืออะไรหรอก แต่เพราะมันเป็นของเอ็นซีอาร์เท่านั้นเอง”

ในขณะที่ระบบธุรกิจย่อยๆ ของเอ็นซีอาร์ดูท่าจะไปได้สวย แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคาถูกๆ และเวิร์ดโพรเซสเซอร์ยังคงขายไม่ค่อยออกนัก เอ็นซีอาร์แถลงว่า ต้องการที่จะติดกลุ่มผู้นำห้ารายในโลกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้ได้ แต่เครื่องที่เรียกว่า DECISION MATE ซึ่งนำออกขายมาตั้งแต่เดือนมกราคมปีที่แล้วกลับไม่ติดกลุ่มเอาเสียเลย เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็ไม่อาจเข้าไปแทรกในที่ว่างบนชั้นวางของตามร้านค้าปลีกใหญ่ๆ ของสหรัฐฯเสียด้วยซ้ำ จากการสำรวจร้านค้าทั่วไปในสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดนี้พบว่า สินค้าของเอ็นซีอาร์มีวางขายเพียง 6 ร้าน ต่อ 300 ร้าน ที่สำรวจโดยบริษัท ดัลลัส คอนซัลแทนต์ ฟิวเจอร์ คอมพิวติ้ง (DALLAS CONSULTANT FUTURE COMPUTING INC.) แอนเดอร์สันยอมรับว่า “การขายนั้นดูเชื่องช้ามากสำหรับผม” โดยที่เอ็นซีอาร์ขายเครื่องได้เพียง 25 ล้านเหรียญ แต่บริษัทก็พยายามหาทางขอการสนับสนุนจากลูกค้า และแอนเดอร์สันก็คาดว่า “อาจจะเป็น 200 ถึง 250 ล้านในปีหน้า” แม้ว่าอัตราที่ว่านี้ดูจะสูงเกินไปสักหน่อยในสายตาของนักวิเคราะห์หลายราย

การเจาะตลาดใหม่ ๆ

เอ็นซีอาร์ตั้งเป้าหมายสำหรับตลาดสารกึ่งตัวนำอย่างเป็นกอบเป็นกำอีกด้วย บริษัทซึ่งเคยผลิตชิ้นส่วนสำหรับสินค้าของตนเองมาตั้งแต่ปี 1971 ได้เริ่มนำออกขายให้แก่บุคคลภายนอกนับแต่เดือนมิถุนายน 1981 เป็นต้นมา และด้วยจุดประสงค์ที่จำกัดแนวทาง ธุรกิจก็จะมีทีท่าจะไปได้ดี แอนเดอร์สันกล่าวว่า บริษัทจะได้กำไรจากสารกึ่งตัวนำราว ๆ 70 ล้านเหรียญในปีนี้และอีกประมาณ 100 ล้านเหรียญในปีหน้า และแม้แต่บริษัทคู่แข่งที่เคยคิดว่าเอ็นซีอาร์ไม่มีทางที่จะทำเงินจากการขายสารกึ่งตัวนำได้ บัดนี้ก็เริ่มเชื่อกันแล้วว่า ทำได้สำเร็จ เจ้าหน้าที่ระดับบริหารของคู่แข่งรายหนึ่งกล่าวว่า “พวกเขาจะไม่มีวันเป็นผู้ขายรายใหญ่ในสินค้าชนิดนี้ แต่จะประสบความสำเร็จในขอบข่ายหนึ่ง”

เอ็นซีอาร์รู้สึกตื่นเต้นมากเกี่ยวกับลู่ทางการขายตัวชิ้นส่วนไมโครโพรเซสเซอร์ 32 บิต ที่ออกวางตลาดอยู่ในขณะนี้ โดยอ้างว่าชุดนี้ออกแบบมาใช้ได้กับระบบของเครื่องไอบีเอ็มจะมีแนวทางได้กว้างเพราะ ในวันหนึ่งข้างหน้าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิดอาจจะต้องโยงกับเครื่องไอบีเอ็มก็เป็นได้ แต่คู่แข่งกล่าวว่า ราคาที่สูงลิ่วของชุดนี้จะทำให้การใช้จำกัดอยู่กับข่ายงานด้านวิทยาศาสตร์เฉพาะอย่างเท่านั้น เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เอ็กซ์ลีย์ต้องเน้นไปในด้านตลาดใหม่ๆ หลายๆ อย่างนั้นก็เพราะ สินค้าชนิดเก่าๆ ได้เริ่มเหือดหายไป การขายเครื่องป้อนข้อมูลการเงินและยอดขายเริ่มตายตัวลงในช่วงสามถึงห้าปีที่ผ่านมา และสินค้าชนิดอื่นๆ ก็เผชิญปัญหาการชะงักงัน ยอดขายที่ตกต่ำนั้นมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลกในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงสูง และผลก็คือ รายได้จากต่างประเทศซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 49 ของกำไรที่ได้รับในระยะที่ผ่านมาลดลงเหลือเพียงร้อยละ 7 ในช่วงปี 1980 ถึง 1982 เป็นตัวเงินถึง 231.3 ล้านเหรียญ

การขายยังคงสะดุด

การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นประกอบกับปัญหาอื่นๆ ได้ทำลายตลาดบางส่วนไป ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่เอ็นซีอาร์ยังคงเป็นผู้ขายระดับนำในเรื่องเครื่องบันทึกหน่วยขายแก่ร้านค้าทั่วๆ ไป แต่กลับเสียตลาดซูเปอร์มาเก็ต และเช่นเดียวกัน เอ็นซีอาร์ขายเครื่องป้อนข้อมูลในระบบธนาคารได้เพียงร้อยละ 10.6 เท่านั้นในปี 1982 ทำให้ตามมาเป็นลำดับที่ 4 ในตลาดสหรัฐ

บริษัทยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับการชะงักงันของธุรกิจการโอนทุนแบบอิเล็กทรอนิกส์ การสำรวจแสดงให้เห็นว่า เอ็นซีอาร์ติดตั้งเครื่องมือรายงานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปทั่วโลกมากกว่าบริษัทอื่นๆ แต่กลับเป็นเพียงผู้ที่เติบโตในลำดับที่ 4 ของสหรัฐฯ ซึ่งไอบีเอ็มแถลงว่า จะเพิ่มจากที่มีอยู่เดิม 12,000 หน่วยไปเป็นจำนวน 48,000 หน่วยภายในสิ้นปีนี้

ในที่สุด กำไรจากการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ของเอ็นซีอาร์ก็เพิ่มได้ช้ามาก ในช่วงปีที่ผ่านมา เนื่องจากการถูกบีบจากตลาดหุ้นที่กว้างขวางของไอบีเอ็มและความล้มเหลวของบริษัทในอันที่จะผลักดันเครื่องของตนออกมาอย่างเต็มที่ในตลาดใหญ่ๆ ในต่างประเทศ เคลาส์ เบอร์เกอร์ (KLAUS BIRKER) หัวหน้าหน่วยด้านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ค้าเครื่องฮาร์ดแวร์รายใหญ่ในเยอรมนีตะวันตก คือ CBI HEIMNERKER UND FREIZE

ITBEDARF บอกว่า “เอ็นซีอาร์มีเครื่องนำออกขายก็จริงอยู่ แต่ที่นี่ไม่ค่อยมีใครรู้จักกันนักหรอก”

เป้าหมายแรกในนโยบายของเอ็กซ์ลีย์ก็คือ การขยายตลาดของเอ็นซีอาร์อย่างยิ่งใหญ่และผลักดันบริษัทเข้าไปสู่ข่ายการเติบโตที่กว้างขวางเพื่อขจัดปัญหาที่เคยมีมาในระบบตลาดแบบเดิม แม้ว่าจะต้องรอจนถึงปีหน้าจึงจะมีกำไรเพิ่มพูนได้จากการดำเนินนโยบายของเอ็กซ์ลีย์ในขณะนี้ สัญญาณยอมรับอันดับแรกจากภายนอกก็แสดงให้เห็นชัดแล้วจากการไต่สูงขึ้นของราคาหุ้นเอ็นซีอาร์ แต่ถ้าจะให้ผู้ถือหุ้นมีความสุขในระยะยาวล่ะก็ บริษัทก็จะต้องคอยนำสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเพื่อคงระดับความเติบโตที่แข็งแกร่งนี้ไว้ให้ได้”

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us