|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สถาพร พานิชรักษาพงศ์
ในบรรดาแบรนด์ที่ติดตลาดวัยรุ่น ชื่อของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ถือเป็นแบรนด์ชั้นแนวหน้าที่วัยรุ่นไทยให้ความนิยมมารุ่นแล้วรุ่นเล่า สินค้าหรือบริการต่างๆ ที่ค่ายบันเทิงยักษ์ใหญ่แห่งนี้นำเสนอสู่ตลาด แทบจะการันตีความสำเร็จอย่างไม่ยาก
แต่สำหรับจีเอ็มเอ็มทีวี หนึ่งในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์เจาะกลุ่มวัยรุ่น ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สถาพร พานิชรักษาพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จำกัด กลับมีความคิดที่สวนทางว่า หากเลือกกลุ่มเป้าหมายในการผลิตรายการได้ คงไม่อยากเลือกตลาดวัยรุ่น แต่ครั้นจะไปจับตลาดแมส ก็มองหาโอกาสได้ยาก เพราะคู่แข่งที่มีอยู่แต่ละรายล้วนแข็งแกร่ง
ความยากของตลาดวัยรุ่นในรอบหลายปีมานี้ หากมองถึงอุปสรรคในการทำธุรกิจที่นักการตลาดส่วนใหญ่ต้องผจญ คือ สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาทั่วโลก รวมไปถึงความวุ่นวายทางการเมือง ที่ช่วยกัน แต่สำหรับตลาดวัยรุ่น อุปสรรคที่มีมากขึ้นกว่า คือพฤติกรรมไลฟ์สไตล์ที่เคลื่อนที่ไม่หยุด แตกออกเป็นกลุ่มย่อยเล็งลง(Fragmentation)เกิดความหลากหลายที่ทำให้แบรนด์สินค้าต้องไล่ตามให้ทัน
ในรอบปีที่ผ่านมา สถาพร นำจีเอ็มเอ็ม ทีวี ฝ่าคลื่นวิกฤตทางธุรกิจมาได้แบบสะบักสบอม ช่วง 6 เดือนแรกของปี ทำรายได้ลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2551 ถึงกว่า 20% แต่เมื่อผ่านมาถึงครึ่งหลังของปี อุตสาหกรรมโฆษณาเริ่มพลิกฟื้นตัว โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ที่กลับมามีการเดินหน้าในแนวบวกต่อเนื่องหลายเดือน ทำให้จีเอ็มเอ็มทีวี หันมาเดินหน้าได้บ้าง แต่จบปี 2552 ก็ยังต้องแบกรับภาวะรายได้ถดถอยลงจากปี 2551 ถึงกว่า 10%
“เราถดถอยมากในช่วงครึ่งปีแรก จึงมีการปรับกลยุทธ์เพิ่มการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดให้มากขึ้น จากไตรมาสละ 1 งานเป็น 4-5 งาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เสริมกับการบริหารรายจ่ายอย่างรัดกุม ทำให้สรุปรายได้ตลอดปีมีการถดถอยที่ลดลงจากกว่า 20% เหลือกว่า 10% แต่ก็ยังมีกำไรอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทำได้เหนือกว่าที่ค่ายทีวีเกมโชว์ยักษ์ใหญ่ทำได้ตลอดปี” สถาพรกล่าว
สำหรับแผนงานในปีนี้ สถาพรกล่าวว่า จากพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น แตกย่อยไม่ได้เป็นเพียง Segmentation เท่านั้น แต่วันนี้ได้กลายเป็น Fragmentation มีความคิดหลากหลายเป็นกลุ่มก้อนที่เล็กลง จึงต้องสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้นในรายการที่ผลิตขึ้นแต่ละรายการ เพื่อสร้างความชัดเจนในตัวกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มเรตติ้งให้สามารถดึงงบโฆษณาจากสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน
โดยในส่วนของรายการที่จีเอ็มเอ็ม ทีวี มีอยู่ทางฟรีทีวี 11 รายการ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบางรายการให้สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นในหลากหลายเฟล็กเมนต์ โดยรายการสดไฟว์ไลฟ์ ที่ออกอากาศทุกคืนวันจันทร์-ศุกร์ หลังเที่ยงคืน จะแบ่งช่วงเวลาของวันจันทร์ เป็นรายการแมลงมัน ที่มีเนื้อหารายการเจาะกลุ่มวัยรุ่นที่สนใจเพลงร็อกโดยเฉพาะ ขณะที่รายการ O:IC รายการสดภาคกลางวัน วางรูปแบบรายการให้เป็น Sport Entertainment เน้นการจัดกิจกรรมด้าน Sport ของคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น เพิ่มพิธีกรนักดนตรีมืออาชีพที่เป็นไอดอลของกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาเสริม ด้านรายการรถโรงเรียน ก็มีการปรับโฉมใหม่ ด้วยการใช้พิธีกรชุดใหม่ เพื่อสร้างสีสันความสดใหม่
นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนรายการใหม่ในบางช่วงเวลา ประกอบด้วย ทุกบ่ายวันเสาร์ ทางช่อง 5 รายการซิสเตอร์เดย์ วาไรตี้ของสาววัยรุ่นทางทีวีรายการแรก นำเสนอทุกเรื่องราวที่อยู่ในความสนใจของสาววัยรุ่น 15-25 ปี ทั้งแฟชั่น, ไลฟ์สไตล์ กิจกรรม โดยได้ 3 ดาราสาวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คริส หอวัง, โอปอลล์ และเต้ย จรินทร์พร มาร่วมเป็นพิธีกร และอีกรายการคือ เดอะ ฮันท์ ถ้าใช่...ได้เกิดแน่ ช่วงสายของทุกวันเสาร์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เป็นรายการทีน ออดิชั่น ที่จะให้ 2 พิธีกรออกตามล่าหาหนุ่ม-สาว ตามแหล่งราววัยรุ่น เพื่อมาออดิชั่น หาผู้ที่จะได้รับโอกาสเข้าทำงานในวงการบันเทิงจริงๆ
สถาพร เชื่อมั่นว่า การเดินเกมการตลาดทีวีวัยรุ่นที่เน้นการผลิตรายการที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน และยูทิไลซ์ต่อยอดไปในช่องทางต่างๆ เช่นการจัดกิจกรรมการตลาดให้กับลูกค้า จะทำให้จีเอ็มเอ็มทีวี มีโอกาสทางการตลาดที่สูงขึ้น โดยมีเครื่องมือทั้งรายการที่สามารถขายได้ด้วยเรตติ้งผู้ชมที่มีสูง เช่น รถโรงเรียน, เกมวัดดวง และรายการที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เช่น ไฟว์ไลฟ์, O:IC ซึ่งหากสภาพเศรษฐกิจในปีนี้ไม่เดินซ้ำรอยย่ำแย่เหมือนปีก่อน เชื่อว่า อย่างน้อยรายได้ของจีเอ็มเอ็มทีวี จะทำได้อยู่ในระดับเดียวกับรายได้ในปี 2551 กว่า 500 ล้านบาทได้
|
|
|
|
|