|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
จับกระแสมาแรงอาหารพร้อมกินตอบโจทย์ด้านความสะดวสบาย ที่เก็บรักษาในตู้เย็นได้นานกว่า 20 วัน จุดชนวนแบรนด์หน้าใหม่ เพิ่มทัพสินค้าใหม่เพื่อมาเปิดเกมรบกับผู้เล่นรายหลักของตลาดคือ ซีพีเอฟ พรานทะเล และเอสแอนด์พี ในสังเวียนรบของโฟรเซ่นฟู้ด และชิลด์ฟู้ด ทั้งกลุ่มพร้อมกินและพร้อมปรุง
เมื่ออาหารแช่แข็งติดอันดับเป็นธุรกิจ 1 ใน 10 ธุรกิจดาวรุ่งปี 2553เนื่องจากเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบายและใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภคในยุคใหม่นั่นเอง ทำให้หลายๆธุรกิจที่อยู่นอกตลาดอาหารแช่แช่แข็ง และแช่เย็น ต้องรีบพลิกปรับตัวให้เข้ากับทิศทางใหม่เพื่อช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจ โดยนอกจากการต่อสู้กันของแบรนด์หน้าเดิมๆที่อยู่ในสังเวียนรบนี้แล้ว ยังมีแบรนด์หน้าใหม่ซึ่งเป็นผู้เล่นต่างธุรกิจเห็นวี่แววโอกาสทางการตลาดนี้โดดเข้ามาร่วมวง เสริมทัพสินค้ากลุ่มอาหารแช่แข็งจับเทรนด์ใหม่ที่มาแรงนี้ด้วย
ในสังเวียนรบ โฟรเซ่นฟู้ด และ ชิลด์ฟู้ด Reddy to Eat : RTE พร้อมกิน และ Reddy to Cook : RTC พร้อมปรุง นอกจากการประกบคู่ชกมวยคู่เด็ดระหว่าง 3 ยักษ์ใหญ่ผู้เล่นรายหลักของตลาดคือ พรานทะเล และเอสแอด์พี ที่ช่วงที่ผ่านมานั้น ต่อกรกันด้วยสงครามราคา และการขยายช่องทางการขายกันอย่างดุเดือดแล้ว ในปีนี้ยังมีหน้าใหม่ๆ ที่สยายปีกเข้ามาร่วมรบในสังเวียนนี้ด้วย
รุกจากช่องทางขายดี
สร้างแต้มต่อรายใหม่
แม้ว่าจุดเด่นในการตลาดจากทางด้านรสชาติ และเมนูอาหาร จะเป็นสิ่งสำคัญทำให้ ผู้นำตลาดอย่าง ซีพีเอฟ พรานทะเล และเอสแอนด์ พี ครองความเป็นผู้นำตลาดมาจนถึงลปัจจุบัน
ทว่าการเข้ามาชิงเค้กในตลาดอาหารแช่เย็นพร้อมกินรายใหม่ๆที่มาท้ารบในตลาดนี้ ส่วนใหญ่จะอาศัยจุดแข็งจากช่องทางขายด้วยการวางสินค้าให้จำหน่ายเอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะช่องทาง โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น ที่สามารถเข้าถึงและเกาะติดกับไลฟ์สไตล์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบายได้ทุกพื้นดูจะเป็นช่องทางขายที่หลายค่ายใช้เป็นแต้มต่อในการทำตลาด
นับตั้งแต่ค่ายเครื่องดื่มที่มีจุดแข็งจากช่องทางขายหลักๆผ่านเซเว่น อีเลฟเว่น อย่างที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ ผู้ผลิตเครื่องดื่มชาเขียวเซนย่านั้น และโก๋แก่ เตรียมขยายธุรกิจลงสนามชิลล์ฟู้ด ประเดิมด้วย ถั่วต้ม ผ่านช่องทางจำหน่ายเข้าร้านสะดวกซื้อเซเว่นในกลางปีนี้ ส่วนชาเขียวเซนย่าที่หันมาให้ความสำคัญกับตลาดอาหารแช่เย็นพร้อมกิน โดยทุ่มกว่า140 ล้านบาท ปั้นแบรนด์ใหม่ "แฮปปี้ เชฟ" ลงสู้ศึกอาหารแช่เย็นพร้อมกินในร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นกระทั่งค่ายยักษ์ใหญ่อายิโนะโมะโต๊ะจากที่ผ่านมาทำตลาดส่งออกเป็นหลักปีนี้ก็มีแผนกระโดดลงสู่ธุรกิจอาหารแช่แข็งในประเทศอย่างจริงจัง
จุดเด่นของอาหารพร้อมกินที่ตอบโจทย์ด้านความสะดวกรวดเร็วสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนเมืองรุ่นใหม่ ส่งผลให้เมนูอาหารที่เปิดตัวลงมาสู้รบในสังเวียนอาหารแช่เย็นพร้อมกินส่วนใหญ่คือ เมนูอาหารว่าง อย่าง ปูอัด ลูกชิ้น ไส้กรอกหมูปิ้งกับข้าวเหนียว และ เกี๊ยวซ่า ซึ่งถือว่าเป็นการแตกไลน์อาหารที่มีศักยภาพและมีอัตราการเติบโตสูงกว่า กลุ่มอื่นที่ทั่วไปแบ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก คือ 1. อาหารมื้อหลัก (Main Course)คือ อาหารคาวประเภทต่าง ๆทั้งข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด ข้าวหมูทอดกระเทียม และกับข้าวประเภทแกงชนิดต่าง ๆ 2. ขนมหวาน(Dessert) 3. อาหารว่าง (Snack/Appetizer) ส่วนใหญ่เป็นอาหารจำ พวกติ่มซำ ทั้งประเภทนึ่งและทอด รวมถึงเบเกอรี่ และอื่น ๆ
อาหารว่างเมนูขายดี
แนวโน้มการเติบโตของตลาดอาหารพร้อมกินและพร้อมปรุง ทั้งในกลุ่มแช่เย็นและแช่แข็ง ที่มาจากเมนูอาหารว่าง และอาหารหวาน ถือว่าเป็น 2 เมนูหลักที่มีผู้ท้าชิงหน้าใหม่เข้ามามามากเป็นอันดับต้นๆ อย่างไรก็ตามสัญญาณนี้มีให้เห็นตั้งแต่ ยักษ์ซีพีเอฟ เปิดตัวเมนูอาหารหวาน พร้อม
เมื่อกลุ่มอาหารว่างเป็นความนิยมแรกนั่นเอง ทำให้เมนูแรกๆที่ผู้ท้าชิง"แฮปปี้ เชฟ"ส่งลงมาท้ารบนั้น ประเดิมด้วย2 เมนูลูกชิ้นหมูปิ้งแฮปปี้ เชฟ พร้อมขยายแนวรุกในปีนีด้วยการขยายกำลังการผลิตเพิ่มจาก 1.2 แสนไม้ต่อวัน เป็น 3 แสนไม้ต่อวันในระยะ3 เดือนแรก ทั้งนี้เพื่อรองรับการเปิดตัวสินค้า 4-5 เมนูใหม่ เช่นลูกชิ้นปลา ซึ่งมีซีพี ฟู้ดส์ครองเบอร์หนึ่งด้วยส่วนแบ่ง 40%
การเข้ามาสู้กับยักษ์ใหญ่หลายๆค่ายที่เป็นผู้นำตลาดของตลาด แม้จะมีขาธุรกิจหลักมาจากธุรกิจเครื่องดื่ม ทว่าด้วยศักยภาพจำนวนสาขาที่มีทั่วประเทศมากกว่า 3,900 แห่ง และเม็ดเงินการตลาดที่ทุ่มงบ 60 ล้านบาท เพื่อทำการตลาดสร้างการรับรู้ในวงกว้างแก่กลุ่มเป้าหมาย ผ่านสื่ออย่างครบวงจร ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์สื่อกลางแจ้ง
กอรปกับกระแสความแรงของตลาดรวมอาหารแช่เย็นมูลค่า 6พันล้านบาท จะทำให้ กลุ่มสินค้าอาหารแช่เย็น เป็นธุรกิจเรือธงสร้างรายได้ 60% ให้กับบริษัทจากเดิมมีกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มเป็นหลัก อีกทั้งกวาดรายได้ 200-300 ล้านบาทในสิ้นปี' 53 และสร้างส่วนแบ่ง 3-5% ภายใน 2 ปีนี้ได้ตั้งเป้ายอดขาย 200-300 ล้านบาท หรือมีส่วนแบ่ง 3-5% จากมูลค่าตลาดอาหารแช่เย็นพร้อมกินในช่องทางร้านสะดวกซื้อ6พันล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตมากกว่าอาหารแช่แข็งพร้อมทาน และมีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 15-20% เพราะมีความได้เปรียบในด้านรสชาติ และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย
เกมรับของผู้นำ
ขณะที่มีแบรนด์หน้าใหม่ๆ แตกขาธุรกิจอาหารแช่เย็นพร้อมกินเข้ามาแบ่งเค้กในตลาดที่กำลังเติบโตแบบดีวันดีคืนนั้น ทางฟากผู้นำตลาดที่ออกมาเคลื่อนไหวล่าสุด คือ พีเอฟพี ที่มียอดขายติดอันดับขายดีในช่องทางร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น กล่าวกับ'หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์' ว่า
คู่แข่งรายใหม่ที่เข้ามาในตลาดอาหารแช่เย็นพร้อมกิน (Child Food Ready to Eat) ไม่กระทบกับยอดขายของบริษัท เนื่องจากสัดส่วนยอดขายของบริษัทมาจากอาหารแช่แข็งพร้อมปรุง (Frozen Food Ready To Cook ) อย่างไรก็ตามสำหรับปีนี้ยังเน้นตอกย้ำสินค้ากลุ่มอาหารแช่แข็ง ที่พีเอฟพีมีรายได้ในสัดส่วน 90% ขณะที่กลุ่มอาหารแช่เย็นพร้อมกิน มียอดขายสัดส่วน 10% ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา ข้อมูลเอซีลนีลเส็น ระบุว่า พีเอ็ฟพี เป็นแบรนด์อันดับหนึ่ง ในตลาดโฟรเซ่นฟู้ดพร้อมปรุง เมตตา ปราสุธา กล่าวและว่า ปรับเกมรุกขยายช่องทางจำหน่าย ออกสินค้าใหม่ อาหารแช่แข็งพร้อมกิน
ส่วนยอดขายปีที่ผ่านมาเติบโต 15% จากเป้าที่วางไว้ 10% ทั้งนี้เป็นเพราะยอดขายในช่วง 6 เดือนสุดท้ายมีการเติบโตขึ้น จากการเปิดตัวสินค้ากลุ่มพรีเมียม เพื่อรองรับการขยายช่องทางขายไปใน วิลล่า มาร์เก็ต ที่มีการเพิ่มพีซีมาเป็นคีย์หลักในการกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภค ณ จุดขายทั้งหมด 30 สาขา
แม้ว่า แนวโน้มของตลาดชิลด์ฟู้ดพร้อมกินจะมีการเติบโตขึ้นตามไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ที่ต้องการความสะดวกสบายก็ตาม ทว่าการขยายธุรกิจของรายใหม่ที่ขยายไลน์สินค้าเข้าไปแข่งขันในตลาดชิลด์ฟู้ด ต้องใช้เงินลงทุนสูง ทั้งด้านรถกระจายสินค้าไปสู่ห้างสรรพสินค้า เนื่องจากข้อจำกัดของสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษาในอุณภูมิ และเวลาเพียง 20 วัน และรายใหม่ๆที่เข้ามาชิงตลาดส่วนใหญ่จะใช้ระบบกระจายสินค้าร่วมกับช่องทางขาย ส่วนการกระจายสินค้ากลุ่มสินค้าปูอัด เต้าหู้ทรงเครื่อง ลูกชิ้นของ พีเอฟพี ที่ลูกค้านำไปใส่ในบะหมี่สำเร็จรูปจะวางขายผ่านช่องหลักใน ร้าน7-11 ที่ผ่านมาบริษัทต้องมีจัดระบบการขนส่งโดยเฉพาะเกาะติดไปกับ คอนวีเนี่ยนสโตร์ ลดอุปสรรคทางด้านการลงทุนตู้แช่ โดยออกแบบสินค้าที่มีแพ็กเก็จจิ้งเป็นแฮงกิ้งที่สามารถแขวนในตู้แช่หน้าร้านได้
สำหรับแผนการตลาดของ พีเอพพี ในปี' 53 เน้นการเปิดตัวสินค้าใหม่ ที่สอดคล้องกับการขยายช่องทางขายใหม่คือ ท๊อป บิ๊กซี
ชิลด์ฟู้ด เป็นอาหารพร้อมทาน ทีวางขายในช่องทางคอนวีเนี่ยนสโตร์ ส่วนใหญ่เป็นเมนูอาหารว่าง ที่ตอบโจทย์การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ โดยพีเอฟพี ติดอันดับสินค้าขายดี มียอดขายครองเบอร์ 3-4 ตามหลัง เกี๊ยวซ่า ของโออิชิ และมีใส้กรอกของซีพี เป็นเบอร์ 1 ของกลุ่มชิลด์ฟู้ดในช่องทางร้าน 7-11
กลุ่มลูกค้าหลักของตลาดโฟรเซ่นฟู้ด เป้นกลุ่มแม่บ้าน เพราะสินค้าตอบโจทย์สามารถเก็บรักษาในตู้เย็นได้นานถึง 3 เดือน
พีเอฟพี และ พรานทะเล ทีทมีการวางตำแหน่งสินค้าเป้นผลิตภัณฑ์มาจากมาจากทะเล ดูจะเป็นโอกาสการตลาดที่สำคัญ สอดคล้องกับในยุคที่ผุ้บริโภคใส่ใจกับสุขภาพ และหันบริโภคเนื้อขาวจากทะเล คือ ปลา กุ้ง แทนเนื้อแดง หมู และไก่
อย่างไรก็ตาม สินค้าของทั้ง 2 แบรนด์ก็มีความแตกต่างกันและไม่ได้ช่วงชิงตลาดกันเอง เพราะ พรานทะเล เน้นผลิตภัณฑ์โฟรเซ่นฟู้ดที่เป็นอาหารทะเล อาทิ ปลา กุ้ง ปลาหมึก ส่วนพีเอฟ เน้นทำตลาดโฟรเซ่นฟู้ดที่แปรรูปมาจากอาหารทะเลเช่น เนิ้อปลา เป็นสินค้าหลัก
ปีนีตั้งเป้าเติบโต 20% โดยนำโมเดลเดียวกับการการทำตลาดในห้างวิลล่ามาร์เก็ตมาใช้ โดย เฟสแรกใน 2 ไตรมาสแรกจะมีการวางสินค้าใหม่ แบ่งเป็นกลุ่มโฟรเซ่นฟู้ด พร้อมปรุงกว่า 10 รายการ และพร้อมกิน 3 รายการ ขณะเดียวกันขยายช่องทางจำหน่าย จากเดิมที่มีระบบขายเครดิต มาเพิ่มในรูปแบบคีย์ออส หรือระบบฝากขาย ที่มีการลงทุน 3 แสนต่อสาขา แบ่งเป็นตู้แช่ และการลงทุนด้านบุคลากรเพื่อพีซีอีก 30 จุดในห้างคาร์ฟูร์ และบิ๊กซี เป็นหลัก เมตตา กล่าวอีกว่า สำหรับนโยบายการขายผ่านช่องทางขายนับว่าเป็นจุดแข็งสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคมีแบรนด์ลอยัลตี้ และจดจำเอกลักษณ์แบรนด์ พีเอฟพี ได้ดีกว่าการทุ่มเม็ดเงินโฆษณา ดังนั้นปีนี้บริษัทจึงเน้นการทำตลาดเช่นที่ผ่านมา โดยมีทีมพีซีเป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างแบรนด์ กับลูกค้า จัดกิจกรรมแจกชิม ณ จุดขาย ในห้าง แม็คโคร บิ๊กซี และคาร์ฟูร์หมุนเวียนกันไป ส่วนงบการตลาดปีนี้คาดว่าจะใช้งบการตลาดเน้นบีโลว์เดอะไลน์เช่นปีที่ผ่านมาประมาณ 30 ล้านบาท
|
|
 |
|
|