Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน1 มกราคม 2553
คนไทยอ่วมปี 53 สินค้าราคาพุ่งรับเศรษฐกิจฟื้นตัว             
 


   
search resources

Economics




คนไทยอ่วม! ปี 53 สินค้าดาหน้าขึ้นราคา รับเศรษฐกิจฟื้น หลังอั้นมาตลอดทั้งปี 52 คาดราคาวัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค และเกษตรราคาปรับเพิ่มขึ้นแน่นอน

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า แนวโน้มราคาในช่วงปี 2553 คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นจากปี2552 หลายรายการ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และวัสดุก่อสร้าง หลังจากปีที่ผ่านนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ มีนโยบายให้ตรึงราคาสินค้าไว้ตลอดทั้งปี โดยไม่พิจารณาให้สินค้าปรับขึ้นราคา และในปี 2552 เป็นปีที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว กำลังซื้อยังมีไม่มาก ผู้ผลิตจึงแข่งขันกันลดราคา และไม่สามารถปรับราคาเพิ่มขึ้นได้ แต่ปี 2553 เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวชัดเจน อีกทั้งต้นทุนการผลิตสินค้าเริ่มสูงขึ้นตามแนวโน้มวัตถุดิบ และค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่รัฐบาลเพิ่งอนุมัติเพิ่มอีกวันละ 1-8 บาท จะเป็นแรงกดดันให้ภาคเอกชนขอปรับราคาสินค้าจากภาครัฐมากขึ้น

“ปีก่อน นางพรทิวา มีนโยบายดูแลปัญหาปากท้องประชาชนด้วยการไม่อนุญาตให้สินค้าปรับขึ้นราคา แต่ในปี 2553 กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะพิจารณาให้สินค้าปรับขึ้นราคาได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้เป็นธรรมแก่ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค”

ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2552 ที่ผ่านมา สินค้าที่ได้ปรับราคาเพิ่มขึ้นไปแล้ว เช่น ปุ๋ย เนื่องจากราคาแม่ปุ๋ยยูเรียปรับเพิ่มขึ้นจากตันละ 278 เหรียญสหรัฐในเดือน ต.ค.เพิ่มเป็น 300 เหรียญสหรัฐในช่วงปลายปีส่งผลให้ราคาจำหน่ายปุ๋ยในประเทศได้ปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง สินค้าหมวดยานยนต์ ได้แก่ แบตเตอรี่ที่มีการปรับราคาขึ้นแล้วประมาณ 6% เฉลี่ยลูกละ 90-150 บาท โดยราคาเพิ่มจากลูกละ 1,450-2,250 บาท มาอยู่ที่ 1,540-2,400 บาท เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตโดยเฉพาะตะกั่วบริสุทธิ์ปรับสูงขึ้น ขณะที่หมวดวัสดุก่อสร้าง สายไฟฟ้าปรับขึ้น 6% เฉลี่ยเพิ่มราคาขดละ 38.25 บาท หลังจากทองแดงปรับเพิ่มขึ้น

นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปี 2553 ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ไม่น่าจะแพงจากเดิมมากนัก เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบยังทรงตัว ขณะที่อัตราค่าแรงที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ต้นทุนหลัก ที่สำคัญปัจจุบันตลาดสินค้ากลุ่มนี้ยังแข่งขันกันสูง หากรายใดขอปรับราคาอาจกระทบต่อยอดขายได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจเพิ่งฟื้นตัว

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าสินค้าหมวดวัสดุก่อสร้างน่าจะแพงขึ้นบ้าง เช่น เหล็ก หิน ปูน ทราย ตามแนวโน้มราคาโลก และจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ซึ่งจะมีการลงทุนก่อสร้างและต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีหมวดสินค้าเกษตร ที่อาจจะปรับขึ้น เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา ตามภาวะราคาสินค้าเกษตรโลกที่คาดว่าจะปรับสูงขึ้น

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการใดเดือดร้อน กระทรวงฯ ก็พร้อมจะพิจารณาราคาให้อย่างเป็นธรรม รวมถึงจะเข้าไปตรวจสอบการลดขนาดสินค้า ตามที่ประชาชนร้องเรียน

น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า นโยบายตรึงราคาตลอดปี 2552 ตามนโยบายรมว.พาณิชย์ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนแนวโน้มราคาสินค้าปี 2553 แม้หลายฝ่ายจะกังวลว่าจะมีสินค้าเตรียมขอปรับขึ้นราคา แต่กรมฯ อยากให้เข้าใจว่าเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ราคาสินค้าก็มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงซึ่งหากผู้ผลิตรายใดที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนต่อไปได้ หรือขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็สามารถเข้ามาชี้แจงว่าสาเหตุที่ต้องขอปรับขึ้นนั้นมาจากสาเหตุใดกันแน่ กรมฯ ก็พร้อมพิจารณา

“ไม่ได้ปิดทางว่าจะไม่ให้ผู้ผลิตขึ้นราคา แต่จะขอดูตามความเหมาะสม เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น แสดงว่าประชาชนก็จะมีเงินมากขึ้น หากตอนนั้นสินค้าขึ้นราคาบ้างเพื่อธุรกิจอยู่รอดและไม่ปิดกิจการหายไป ก็ถือเป็นการทำให้มีการแข่งขันที่หลากหลาย ไม่ใช่ว่ามีผู้ผลิตแข่งกันอยู่ไม่กี่ราย ซึ่งมันจะขัดกับระบบการค้าเสรี”น.ส.ชุติมากล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us