Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน3 มกราคม 2553
ทีโอที-กสท ลุยไฟ 3G เอกชนลุ้นไลเซนส์ใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
3G
ทีโอที, บมจ.




3G โอกาสทองทีโอที-กสท ทางรอดสร้างรายได้ชดเชยธุรกิจเดิมที่ถดถอย หวังนำพาองค์กรพ้นวิกฤต ด้านค่ายมือถือประสานเสียงหนุน 2 รัฐวิสาหกิจนำหน้าก่อนหวังช่วยกดดันกทช.ออกไลเซนส์ใหม่ แถมช่วยลองผิดลองถูกเป็นตัวอย่างหลังแข่ง 3G เสรี ด้านนักวิชาการหวั่นซ้ำรอยไทยโมบายล์ ชี้ต้องวางแผนให้รัดกุม

ปี 2553 จะเป็นปีที่รัฐวิสาหกิจอย่างทีโอทีและกสท ให้บริการโทรศัพท์มือถือในระบบ 3G เป็นรายแรก หลังทีโอทีนำร่องให้บริการในกทม.และปริมณฑล ในขณะที่กสทหลังควบรวมฮัทช์พร้อมลุย CDMA ทั่วประเทศกลางปี

2 คู่หูรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมจะฉกฉวยโอกาสทองครั้งนี้ได้มากน้อยแค่ไหน ในระหว่างที่เอกชนรายใหญ่ยังรอความหวังไลเซ่นต์จากกทช.ที่คาดว่ากว่าจะได้ไลเซ่นต์และเปิดให้บริการ 3G ทีโอทีกับกสทจะให้บริการล่วงหน้ากว่า1 ปีแล้ว

นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่าธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3Gจะเป็นโอกาสสำคัญสำหรับทีโอทีโดยเฉพาะในแง่การสร้างรายได้จากบริการใหม่เพื่อชดเชยรายได้จากธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งเคยเป็นรายได้หลักที่สำคัญ แต่ปัจจุบันกลับปรับตัวลดลงไปมากเนื่องจากผู้ใช้บริการส่วนใหญ่หันไปใช้โทรศัพท์มือถือแทนเพราะสามารถตอบสนองการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาแทน

ทั้งนี้ทีโอทีคาดว่าบริการ 3Gจะสามารถทำรายได้ชดเชยรายได้จากโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์สาธารณะได้ภายใน 2 ปี และสำหรับการให้บริการ 3Gทั่วประเทศ เชื่อว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2553 ซึ่งการที่ทีโอทีสามารถให้บริการได้ทั่วประเทศ จะเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้เข้าทีโอทีมากยิ่งขึ้น ประกอบกับในปี2553 ทีโอทีจะมีผู้ให้บริการ MVNO (Mobile Virtual Network Operator) ครบทั้ง 5 ราย คือ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย บริษัท ล็อกซเล่ย์บริษัท ไออีซี บริษัท 365และบริษัท เอ็ม คอนซัลต์ เอเชีย ซึ่งจะช่วยให้การรับรู้ 3G เฟสแรกที่ให้บริการในกรุงเทพและปริมณฑลดียิ่งขึ้น

สำหรับธุรกิจที่สร้างรายได้ทำให้ ทีโอที อยู่รอดได้ในปัจจุบันคือบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ซึ่งทำรายได้มากกว่า 5,000 ล้านบาท ดังนั้นหากทีโอทีมีรายได้จากการให้บริการ 3G เข้ามาอีกทางก็จะช่วยให้ทีโอทีเกิดรายได้ใหม่มาชดเชยธุรกิจหลักเดิมได้เร็วขึ้น

นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าการที่กสทจะสามารถให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ CDMA ทั่วประเทศ ในกลางปี 2553หลังซื้อกิจการ บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวเลส มัลติมีเดีย หรือฮัทช์จนทำให้กสทเป็นผู้ให้บริการ CDMA ทั่วประเทศ จะเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้กสท กลายเป็นผู้ให้บริการ 3G ที่มีจุดแข็งตรงความสามารถให้บริการได้ทุกพื้นที่ถึงแม้ปัจจุบัน ทีโอทีจะให้บริการ 3Gได้แล้วแต่ก็ยังให้บริการอย่างจำกัดในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลเท่านั้น

ทั้งนี้การซื้อฮัทช์จะเป็นกุญแจสำคัญ ช่วยให้การให้บริการ CDMA ของ กสท ดำเนินการได้อย่างเต็มที่เพราะที่ผ่านมา CDMA ให้บริการได้เฉพาะ 51 จังหวัดภูมิภาค การโรมมิ่งกับฮัทช์ใน25 จังหวัดภาคกลางทำได้เพียงวอยซ์ ไม่สามารถโรมมิ่งการให้บริการดาต้าได้ เพราะเทคโนโลยีทันสมัยต่างกัน ซึ่งการควบรวมฮัทช์กับ CAT CDMA จะทำให้กสทนำเอาศักยภาพของ CDMAไปขายให้กับประชาชนเต็มที่ เพราะในเงื่อนไขการซื้อคืน ฮัทช์จะต้องทำการอัพเกรดโครงข่ายให้เป็น EV-DO Rev A ซึ่งหมายถึงว่า กสทจะเป็นผู้ให้บริการ 3G ทั่วประเทศทันที

นอกจากนี้การควบรวมยังมีผลดีในเรื่องของการลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการโครงข่าย และการทำการตลาดลงเกือบครึ่งได้อย่างแน่นอน จากเดิมต้นทุนดังกล่าวมีจำนวนมหาศาล เพราะต่างฝ่ายต่างตั้งหน้าตั้งตาลงทุนโครงข่ายและทำการตลาด รวมทั้งยังสามารถดึงศักยภาพและจุดแข็งที่มีทั้งหมดออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ และยังมองว่า CDMA เป็นเทคโนโลยีที่มีอนาคต เพียงแต่ต้องใช้จุดแข็งที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์

การเปิดบริการ CDMA ทั่วประเทศจะช่วยให้กสทมีลูกค้าทันที 1.4 ล้านราย แบ่งเป็นมาจากฐานลูกค้าฮัทช์ 1ล้านรายและCAT CDMA 4 แสนรายซึ่งทำให้เกิดรายได้จำนวนมากเพื่อมาชดเชยรายได้จากโทร.ทางไกลต่างประเทศที่ปรับตัวลดลงเนื่องจากมีคู่แข่งในตลาดมาก ประกอบค่าบริการลดลงเรื่อยๆ และผู้ใช้บริการยังหันไปโทร.ผ่านVoIPมากขึ้น เพราะค่าบริการถูกลงและคุณภาพดีขึ้นจนใกล้เคียงบริการ IDD

รวมทั้งรายได้จากสัญญาสัมปทานซึ่งถือเป็นรายได้หลักของ กสท กำลังจะหายไปเมื่อกทช.ออกไลเซ่นส์ 3G ใหม่เพราะผู้รับสัมปทานเดิมจะหันไปขอไลเซ่นส์ใหม่เนื่องจากมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเพียง 6.5% ในขณะที่ส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานสูงถึง 25-30%

เอกชนหนุนรัฐวิสาหกิจลุยไฟ 3G

นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่าการที่ทีโอที และกสทเดินหน้าให้บริการ 3Gไปก่อนในปี2552 ถือเป็นผลดีเนื่องจากช่วยลดแรงกดดันด้านการลงทุน 3G ให้กับผู้ประกอบการภาคเอกชนกับคำถามที่ว่า 'เมื่อไหร่จะมี 3G' ให้หมดไป

นอกจากนี้ยังเป็นการเร่งรัดให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เร่งออกใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่มาตรฐาน 2.1 GHz เพราะการปล่อยให้มีผู้ให้บริการเพียง 2 รายในตลาดเป็นการผูกขาด ผู้ใช้บริการมีทางเลือกน้อย ดังนั้นกทช.ควรเร่งสร้างการแข่งขันโดยการให้ใบอนุญาตเพื่อให้มีผู้แข่งขันในตลาดประมาณ 4-5 รายจึงจะเหมาะสม

อย่างไรก็ตามการเปิดให้บริการ 3G ของทีโอที และกสท นับเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคมีทางเลือกในการเข้าถึงบริการใหม่ หลังจากรอคอยบริการดังกล่าวมากว่า 4 ปี ประกอบกับทีโอทีมีโอกาสลองผิดลองถูกในการให้บริการในระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปีก่อนที่ผู้ประกอบการรายอื่นจะเข้าสู่ตลาด ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้รัฐวิสาหกิจสามารถแข่งขันกับภาคเอกชนได้

ทั้งนี้การที่ ทีโอทีและกสท เดินหน้าให้บริการ 3Gไปก่อนเอไอเอสอย่างน้อยหนึ่งปี ยอมรับว่าทำให้บริษัทเสียเปรียบในเชิงธุรกิจ แต่คาดว่าหากเอไอเอสได้ใบอนุญาตสำหรับการให้บริการดังกล่าวเอไอเอสจะสามารถตามทันได้เพราะ เอไอเอสเป็นบริษัทที่มีความรู้ ความชำนาญในธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์มือถือเนื่องจากเปิดให้บริการในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว

นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่านับเป็นสิ่งที่ดีที่ได้เห็นทีโอทีเปิดให้บริการ 3G เพราะปัจจุบันผู้บริโภคในประเทศไทยมีความต้องการเข้าถึงบริการบรอดแบนด์หรืออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามการเปิดให้บริการ 3G ของทีโอทีน่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้กระบวนการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz เกิดเร็วขึ้นด้วย เพื่อที่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ จะสามารถเข้าร่วมเปิดให้บริการเพื่อสร้างการแข่งขันในอุตสาหกรรม เพราะหากมีผู้ให้บริการเพียง 2 รายอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยก็จะไม่มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน

สำหรับดีแทคนั้น ไม่เคยประมาทคู่แข่งไม่ว่าจะเป็นรายใดก็ตาม ทั้งทีโอที ผู้ให้บริการ MVNO ของทีโอทีและกสท ผู้ให้บริการ CDMA แต่ขณะนี้ในระยะสั้นดีแทคยังไม่คิดว่าจะได้รับผลกระทบจากการที่ทีโอที และกสท ออกตัวให้บริการไปก่อน แต่ก็หวังว่า ดีแทคจะมีโอกาสได้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz โดยเร็วที่สุดเพื่อที่จะได้สามารถเข้าร่วมแข่งขันเพื่อให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายแก่ผู้บริโภค

นักวิชาการหวั่นซ้ำรอยเดิม

นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านการสื่อสารและสารสนเทศ กล่าวว่า การที่ทีโอที และกสท เปิดให้บริการ 3Gในประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบ เป็นการช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้บริการ หลากหลายมากยิ่งขึ้นจาก เดิมมีแต่บริการ 2G

ส่วนด้านผลเสียหรือโอกาส ที่ทั้ง 2 องค์กรจะได้รับยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะที่ผ่านมา ทีโอทีและกสทยังไม่ระบุถึงแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นแนวทางการทำการตลาด รวมทั้งยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม ประเภทใด

'ผลเสียของการให้บริการของทีโอทีและ กสท ยังไม่สามารถประเมินได้เพราะที่ผ่านมาทั้ง 2 องค์กรยังไม่เปิดเผยถึงการดำเนินการด้านเทคนิค ด้านการทำการตลาดและวางตัวเองเป็นผู้ให้บริการประเภทใด ความไม่ชัดเจนดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดซ้ำรอยในอดีตที่ ทีโอทีและกสท ประสบมา เช่นกิจการร่วมค้าไทยโมบายล์ที่ล้มเหลว และการให้ฮัทช์เข้ามาทำการตลาด 25 จังหวัดของกสท'   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us