Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน11 มกราคม 2553
เปิดเขตการค้าเสรีอุปสรรค บนเวทีแข่งขันตลาดกระเบื้อง             

 


   
www resources

โฮมเพจ สยาม ซานิทารี แวร์ อินดัสตรี

   
search resources

สยาม ซานิทารี แวร์ อินดัสตรี, บจก.
Real Estate
Tiles and Roofs
Cotto




รูปแบบการทำตลาดสินค้าของจีนที่เน้นกลยุทธ์ราคาในการทุ่มตลาด ทำให้ปัจจุบันมีกระเบื้องจากประเทศจีนทะลักเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดกระเบื้องในตลาดโลกเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งประเทศไทยก็เป็นอีกตลาดหนึ่ง ที่ถูกสินค้าจากจีนแชร์ส่วนแบ่งไปจำนวนมาก จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อการทำตลาดของผู้ประกอบการในประเทศอย่างมาก เนื่องจากไม่สามารถสู่ราคาของสินค้าจากจีนได้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า

จากสถิติการนำเข้ากระเบื้องจากประเทศจีนเข้ามาทำตลาดในไทยพบว่า มีการนำเข้ากระเบื้องจากประเทศจีนตั้งแต่ปี 2544 มีปริมาณ 1 แสนตารางเมตร และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงปี52 ซึ่งมีการนำเข้าสูงถึง 16.2 ล้านตารางเมตร คิดเป็นมูลค่า 3,000 ล้านบาท คิดเป็น 75% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดที่มีมูลค่า 4,000 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าในอนาคตจะมีการนำเข้ากระเบื้องสูงขึ้นเกินกว่า 20 ล้านตารางเมตร จากความต้องการกระเบื้องในประเทศอยู่ที่ 111.1 ล้านตารางเมตร

ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ผู้ผลิตกระเบื้องจำหน่ายในประเทศและส่งออกต้องมีการครั้งใหญ่ ทั้งด้านระบบการผลิตซึ่งต้องการลดต้นทุนให้ลดลงมาสามารถแข่งขันกับกระเบื้องจากจีนได้ แต่โดยมากการปรับตัวของผู้ผลิตรายใหญ่-กลางเพื่อขายในประเทศและส่งออกนั้น จะเน้นในเรื่องการเพิ่มมูลค่าสินค้า และสร้างแบรนด์เพื่อหนีตลาดระดับล่าง

นายสราวุฒิ สำราญทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามซานิทารีแวร์ อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสุขภัณฑ์คอตโต้ กล่าวว่า แม้คอตโต้จะมีความแข็งแกร่งด้านยอดขายในตลาดในประเทศและส่งออกแถบอาเซียนแล้ว แต่ในแง่ของแบรนด์ ยังไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดมากนัก เพราะตลาดดังกล่าวมีความนิยมสินค้าจากยุโรปมาก ดังนั้นเพื่อรงรับการแข่งขันและการขยายตลาดในอนาคต บริษัทจึงมีแผนจะทุ่มงบ8-9% ของยดส่งออกเพื่อสร้างแบรนด์ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในตลาดอาเซียนโดยตั้งเป้าว่าจะเป้ฯแบรนด์ติดอันดับ 1 ใน 3 ของแบรนด์ชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน

โดยบริษัทวางเป้าหมายยอดขายตลาดส่งออกที่ 1,440 ล้านบาท จากเดิมเคยใช้งบการตลาดเพียง 1-2% หรือไม่ได้ใช้เลย โดยส่วนหนึ่งของงบดังกล่าวจะนำมาก่อสร้างคอตโต้ สตูดิโอ (Cotto Studio) ที่ฮานอย และโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม พนมเปญ และเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา เฉลี่ยเงินลงทุนประมาณ 10 ล้านบาทต่อสาขา

ขณะที่ตลาดในประเทศนั้นจะใช้งบการตลาดอยู่ที่ 4-6% ของเป้าหมายยอดขายในประเทศที่ 3,360 ล้านบาท และขยายคอตโต้ สตูดิโอ (Cotto Studio) เพิ่มอีก 11 แห่ง ซึ่งรูปแบบของสตูดิโอนั้น มีทั้งแบบลงทุนเอง (Stand alone) ซึ่งใช้งบประมาณ 14-15 ล้านบาทสาขา และเปิดในพื้นที่ของตัวแทนจำหน่าย และเป็นการร่วมกันลงทุนระหว่างบริษัทฯ และตัวแทนจำหน่าย รวมถึงสาขาในปัจจุบันที่มีอยู่ที่ 11 แห่ง เป็น 21 แห่งภายในสิ้นปีนี้ โดยปี52บริษัทมียอดขาย 4,300 ล้านบาทแบ่งเป็นสุขภัณฑ์ 2,600 ล้านบาท และก็อกน้ำ 1,700 ล้านบาท สัดปี53ตั้งเป้าว่าจะมียอดขาย 4,800-5,000 ล้านบาทหรือ เติบโตราว 15%

“สำหรับตลาดในประเทศนั้น คอตโต้ไม่ห่วงเรื่องการหั่นราคาแข่งของสินค้าจากจีนเพราะ คอตโต้ ทำตลาดแบบครบวงจรทำให้ได้เปรียบสินค้าจากจีนและคู่แข่ง ที่ขายสินค้าเป็นชิ้น ซึ่งการมีทั้งบริการก่อนและหลังการขาย รวมถึงการให้คำปรึกษาและออกแบบให้ลูกค้าดังนั้น จึงได้เปรียบสินค้าจีนและคู่แข่ง สังเกตุจากหลังลดกำแพงภาษีกลุ่มกระเบื้องลงมาแม้จะมีสินค้าจากจีนเข้ามามาก แต่ยอดขายของเราก็ไม่ได้ลดลง”

ขณะที่ “สหโมเสค” ผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นรายใหญ่ เองก็เริ่มรุกตลาดระดับกลาง-บนเพื่อหนีการแข่งขันในตลาดล่าง และเพิ่มสัดส่วนการส่งออกมากขึ้น โดยนางสาวปวีณา เหล่าวิวัฒน์วงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม ผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนัง กล่าวว่า บริษัทมีแผนจะขยายกำลังการผลิตกระเบื้องเพิ่ม 10% เป็น 80% ของกำลังการผลิตสูงสุดที่ 22 ล้านตารางเมตรต่อปี จากปัจจุบันบริษัทมีการผลิต อยู่ที่ 70% โดยเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของเตาเผาและเครื่องจักรเดิม

นอกจากนี้ บริษัทยังหันมาพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อจับตลาดระดับกลางและบนมากขึ้น ขณะเดียวกันได้เพิ่มสัดส่วนส่งออกจาก15% เป็น20% โดยเน้นส่งออกกระเบื้องโมเสคในกลุ่มประเทศในเอเชียและตะวันออกกลาง โดยในปีนี้บริษัทใช้งบการตลาดทั้งปี120 ล้านบาท ซึ่งจะเน้นการทำตลาดด้วยการจัดกิจกรรม ณ จุดขาย ไปยังตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่กว่า 700 ร้านค้าทั่วประเทศ

การปรับตัวของผู้ประกอบการข้างต้นเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ กลยุทธ์ที่ผู้ผลิตกระเบื้องนำมาใช้เพื่อรักษาตลาดและเปิดตลาดใหม่ แต่กระนั้นปัญหาของตลาดกระเบื้องก็ยังไม่หมดไปเพราะยังมีปัญหาที่รออยู่ข้างหน้าคือการทะลักเข้ามาของกระเบื้องจากจีนในอนาคตที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าความต้องการในตลาดจริง โดยเฉพาะในอนาคต



สินค้าตกแต่งชะลอขึ้นราคา
หวั่นลูกค้าหันใช้วัสดุจากจีน



ASTVผู้จัดการรายวัน- พิษจีนดัมป์วัสดุตกแต่ง กดดันผู้ผลิตในประเทศไม่กล้าเสี่ยงขยับราคาขึ้น แม้ปูน-เหล็กนำร่องไปบางส่วนแล้ว จับตาความต้องการในโครงการไทยเข้มแข็งกดดันราคาวัสดุก่อสร้างปรับสูงขึ้น เอกชนอาจจ่ายแพง ระบุ"บ้านบีโอไอ"แรงขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ

นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวถึงภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 53 ว่า ประเด็นหลักที่วิตกกังวลกันมาก ก็คือ ปัญหาการเมือง ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างประเภทเหล็ก ปูนซีเมนต์ ได้เห็นสัญญาณการขยับราคาขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา และสำคัญไปมากกว่านี้ คือ โครงการภายใต้แผนปฏิบัติไทยเข้มแข็ง 2555 ที่รัฐบาลได้เริ่มมีการเบิกจ่ายงบประมาณในการลงทุนตามโครงการต่างๆที่แต่ละกระทรวงเสนอมา และจะมีผลต่อเนื่องในการใช้วัสดุก่อสร้าง ซึ่งต้องพิจารณากันว่า ความต้องการจากโครงการไทยเข้มแข็งเช่น เหล็ก ปูน จะมีผลต่อโครงการต่างๆของเอกชนมากน้อยเพียงใด

" ถึงแม้ราคาวัสดุก่อสร้างจะขยับขึ้น แต่วัสดุตกแต่งเช่น กระเบื้อง ไม้ลามิเนต ราคาไม่ขยับ เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สินค้าจากจีนได้เข้าสู่ตลาดในไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ผลิตอาจไม่ขยับราคามาก เพราะกังวลเรื่องยอดขาย ซึ่งตรงนี้ ก็มีส่วนช่วยถ่วงดุลราคาวัสดุก่อสร้างไม่ให้เพิ่มในบางจุด แต่ไม่ถ่วงดุลต่อทั้งระบบ "นายอิสระกล่าว

ในประเด็นเรื่องราคาน้ำมันที่ในระยะนี้เพิ่มขึ้นนั้น นายอิสระกล่าวว่ากังวล แต่คิดว่าราคาน้ำมันยังไม่ขยับมากเหมือนในช่วงที่ผ่านมา ที่เป็นผลจากนักเก็งกำไรเข้ามาทำราคา ซึ่งแน่นอน ราคาน้ำมันเป็นตัวแปรที่จะมีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนและต่อภาคธุรกิจ และส่งต่อไปถึงอัตราเงินเฟ้อ ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคและผู้ที่คิดจะตัดสินใจซื้อบ้านอาจจะลดลง แต่ถึงกระนั้น ในระยะนี้คงยังไม่เห็นการเพิ่มของอัตราดอกเบี้ย แต่คิดว่าตั้งแต่ครึ่งปีหลังน่ากดดันต่ออัตราดอกเบี้ยได้มาก

" นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อตลาดอสังหาฯ ต่อผู้ที่คิดจะซื้อบ้าน หรือกลุ่มที่ผ่อนค่าบ้านอยู่ แต่หากหันมาดูตัวเลขการส่งออก การท่องเที่ยว และปัญหาการว่างงานนั้น เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะการว่างงานที่ไม่เหมือนที่มีการคาดการณ์จะถึง 2 ล้านคน ว่างงานแค่ 4 แสนคน ดังนั้น หากเศรษฐกิจดี ประชาชนทุกคนมั่นใจ ต่อให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทุกคนก็จะซื้อบ้านอยู่ดี "

นายอิสระกล่าวคาดการณ์ ภาพรวมการเติบโตของตลาดอสังหาฯในปีนี้คงยังขยายตัวได้ โดยเฉพาะการเข้ามาเติมเต็มของโครงการบ้านบีโอไอ หลังจากมีการผ่อนปรนเกณฑ์ใหม่ โดยบ้านเดี่ยวขยับมาอยู่ที่ 1.2 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมอาจจะเพิ่มจาก 1 ล้านบาทเป็น 1.2 ล้านบาท เรื่องดังกล่าวจะมีส่วนขับเคลื่อนให้ตลาดอสังหาฯชะลอลดลงไม่มากนัก.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us