|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ลำพระเพลิงน้ำใส ผ้าไหมเนื้องาม ข้าวหลามนกออก ถั่วงอกวังหมี หมี่ตะคุ" นี่คือคำขวัญของชาวปักธงชัยที่เป็นแหล่งผลิตและส่งออกไหมไทยมากที่สุดปีละไม่ต่ำกว่าสิบล้านหลา คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 3,600 ล้านบาทต่อปี ด้วยวิถีวัฒนธรรมหลักที่ผ่านผ้าไหมทอมือ ซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นเงางามต่างกว่าที่อื่น จนก่อให้เกิดงานเทศกาลผ้าไหมปักธงชัยต่อเนื่องมา 10 ปีแล้ว
เส้นทางสายไหมสายนี้จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวเดินทางไปปักธงชัย จ.นครราชสีมา และได้เจอจุดนัดพบแห่งใหม่ที่เรียกว่า "หอค้ำคูณ JIM THOMPSON INFORMATION CENTER" ที่ตั้งโดดเด่นอยู่บริเวณหน้าโรงงานอุตสาหกรรมไหมไทย ลงทุนเงินนับล้านกับเวลาหนึ่งปีเต็มสร้างสถานที่แห่งนี้ และเพิ่งเปิดให้บริการนักเดินทางท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 นี้เอง
"ชื่อของหอค้ำคูณ หรือออกเสียงอีสานก็จะเรียกว่า ค่ำคูน เป็นอักษรธรรมที่มีความหมายเกื้อหนุนและค้ำชู หอค้ำคูณนี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลของเมืองปักธงชัยทั้งหมด หรือใครอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจิม ทอมป์สัน อุตสาหกรรม ไหมไทย และต่อไปก็จะมีแหล่งข้อมูลกิน-เที่ยว-ของดีในปักธงชัย ใครๆ ก็จะแวะที่นี่จุดแรกก่อน" ชุติมา ดำสุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์จิม ทอมป์สันเล่าให้ฟัง
สถาปัตยกรรมอีสานที่ปรากฏเป็นอาคารไม้คล้ายหอแจกหรือศาลาอเนกประสงค์ บนเนื้อที่ใช้สอย 300 ตารางเมตร ออกแบบโดยพหลไชย เปรมใจ สถาปนิกหนุ่มซึ่งเน้นให้ผู้ชมสัมผัสภูมิปัญญางานช่างพื้นถิ่นโคราชที่ได้รับอิทธิพลจากภาคกลาง เช่นเรือนเครื่อง ผูกที่เพดานจะสูงกว่าบ้านอีสานทั่วไป และที่จั่วเพดานปรากฏเป็น "ลายตะเวน" ซึ่งเป็นลายประจำถิ่นอีสานที่ตีซ้อนเกล็ดไม้เป็นแฉกแสงอาทิตย์
"หอค้ำคูณนี้จำลองมาจากหอแจกหรือศาลาธรรมของวัดโคกศรีสะเกษที่ตำบลนกออก โดยเรายึดรูปแบบและสัดส่วนให้ใกล้เคียงมากที่สุด แต่จะยกสูงและไม่มีเสากลางเพื่อให้ดูโปร่งโล่งสบาย ขณะที่หอแจกจริงๆ ของอีสานจะต้องต่ำเวลาเดินต้องค้อมก้มตัวนิดๆ ส่วนจั่วบนเพดานก็เป็นลายตะเวน หรือภาคกลางเรียก ลายตะวัน ซึ่งเรือนอีสานจะมีความเชื่อและ ทำเอาไว้ช่วยแก้ปัญหาจั่วบ้านและช่วยระบายอากาศเช่นตามห้องครัว แต่ที่ไม่ได้ทำคือส่วน Partition สำหรับซ่อนแอร์ที่อยากทำเป็นฝาปรือเลื่อน แต่เราหาต้นปรือ ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ต้นปรือถือเป็นเอกลักษณ์ของโคราชที่ที่อื่นไม่มี" พหลไชยหรือทอม ผู้ออกแบบหอค้ำคูณและพื้นที่ในหมู่บ้านอีสานเล่าให้ฟัง
ทันทีที่ก้าวเข้าสู่ภายในหอค้ำคูณที่ตกแต่งด้วยไม้ตะแบกกัดสี ให้แลดูเก่าธรรมชาติ จะเห็นพื้นที่นิทรรศการจัดแสดงประกอบด้วยนิทรรศการถาวร แสดงภาพและข้อมูลเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรม ราชินีนาถที่นำให้คนทั่วโลกได้รู้จักไหมไทยกับราชาไหมไทย จิม ทอมป์สันผู้สร้างชื่อเสียงต่อเนื่องมานาน 60 ปีที่ขยายสู่การผลิตที่โรงงานปักธงชัยที่มีกี่ทอมือจำนวนมากที่สุดในโลก
นอกจากนี้ยังมีส่วนนิทรรศการหมุนเวียนที่เกี่ยวกับกิจกรรมและเทศกาลแต่ละโอกาส เช่น เอาฟักทองเนื้อแน่น มะเขือเทศสีสวย น้ำเต้าหลากพันธุ์ พริกหลากสี ดอกไม้เมืองหนาว ความรู้เรื่องหมู่บ้านอีสานมาจัดแสดงเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รู้ก่อนชมงานจิม ทอมป์สันฟาร์มทัวร์ที่จัดระหว่าง 19 ธันวาคม 2552-10 มกราคม 2553
"เราไม่เน้นพื้นที่ขายของและไม่ต้องให้เป็น outlet ตั้งแต่ต้น เพราะถ้าเปิดชอปก็ไม่ได้อะไรมาก เพราะลูกค้าของจิม ทอมป์สันเป็น คนละกลุ่มกันกับผู้ผลิตที่นี่ แต่จุดประสงค์หลักเราต้องการทำให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักเมืองปักธงชัยและเป็นศูนย์ข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวในปักธงชัยว่า ไปเที่ยวไปกิน หรือซื้อของดีที่ไหนได้บ้าง? ที่เราตั้งใจทำให้กับชุมชนและนักท่องเที่ยวเหมือนให้เป็นแลนด์มาร์กของเมืองปักธงชัยอีกแห่งมากกว่า"
หอค้ำคูณจึงเป็นเสมือนห้องรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนปักธงไชย เมืองไหมไทยอย่างแท้จริง เพราะเกิดขึ้นจากความรับผิดชอบต่อชุมชน (Corporate Social Responsibility) ของจิม ทอมป์สันที่ลงทุนสร้างสถานที่ที่ต้องการสื่อให้นักเดินทาง ท่องเที่ยวได้เห็นกระบวนทัศน์และวัฒนธรรมไหมที่สืบทอดกันมา แต่โบราณ และจิม ทอมป์สันซึ่งเป็นผู้นำวิทยาการสมัยใหม่ช่วยพัฒนาการทอผ้าไหมให้ดียิ่งขึ้นด้านการผลิตเส้นใย การย้อมสี การออกแบบ การพิมพ์และตัดเย็บ และสร้างชื่อเสียงของอำเภอ ปักธงชัยเป็นแหล่งผลิตไหมไทยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง
|
|
|
|
|