Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
ยุทธศาสตร์เกษตรก้าวหน้าของธนาคารกรุงเทพ             
โดย ยงยุทธ สถานพงษ์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Agriculture
Banking




โครงการเกษตรก้าวหน้าของธนาคารกรุงเทพ ได้ดำเนินการมาเกือบจะครบทศวรรษ ผลของโครงการนี้เป็นอย่างไรบ้างนั้น เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม

ขณะที่ธุรกิจเอกชนรายใหญ่ดำเนินไปในทิศทางที่ไม่สู้ดีหนัก จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ แต่เกษตรกร ผู้ประกอบการราย ย่อยที่เป็นลูกค้าของธนาคารกรุงเทพในโครงการเกษตรก้าวหน้า 3 พันกว่าราย ซึ่งโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารมองว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ GDP ของประเทศโตขึ้น ทั้งนี้จะส่งผลให้ยอดการปล่อยสินเชื่อสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ทั้งนี้จะต้องค่อยเป็นค่อยไป

ผู้ประกอบการที่เป็นเกษตรกรซึ่งเป็น ลูกค้ารายสำคัญของธนาคารกรุงเทพ มีกระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ อาทิ วีระชัยฟาร์ม จังหวัดราชบุรี ศรีวิโรจน์ ฟาร์ม จังหวัดขอนแก่น ศรีเจริญ จังหวัดกระบี่ ไทยเฟรช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วาสนาฟาร์ม จังหวัดสระบุรี สุรีรัตน์ฟาร์ม จังหวัดจันทบุรี เค ซี เฟรช จังหวัดนครปฐม

ภาพที่เกิดขึ้นภายในโครงการเกษตรกรก้าวหน้าของธนาคารกรุงเทพที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนครอบคลุม ทั้งในรูปแบบปศุสัตว์ ประมง ไม้ผล ไม้ดอก เมืองหนาวและผัก

ขณะเดียวกันจังหวัดเชียงรายเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าเงินกู้ของธนาคารกรุงเทพในภาคเกษตรกรรายใหญ่ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบด้วยสวนส้ม สวนไม้ดอกไม้ประดับ ไร่ชา และปศุสัตว์ เช่นฟาร์มเลี้ยงไก่ โคเนื้อ ปลาบึก

"โครงการเกษตรก้าวหน้าของธนาคารกรุงเทพ ไม่เพียงต้องการมุ่งสร้างศักยภาพด้านการผลิตให้เป็นที่ยอมรับแต่พยายามส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างความเข้มแข็งในระบบทางการตลาด สร้างสายสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกลุ่มพ่อค้า ทั้งภายในประเทศและก้าวขึ้นสู่ตลาดสากล" โฆสิตได้ให้นิยามสั้นๆ

ผลลัพธ์ต่างๆ เริ่มเป็นรูปร่างอย่างชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดเชียงราย ที่ธนาคารพยายามชูให้เห็นเป็นตัวอย่าง

เสาวลักษณ์ อานุภาวธรรม เจ้าของสวนส้มไร่เอกลักษณ์ อดีตแม่ค้าขายส่งผลไม้ตามฤดูกาลที่ปากคลองตลาดในช่วงปี 2529-2544 เธอย้ายมาทำสวนส้มสาย น้ำผึ้งที่อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูการผลิตปี 2544 เกิดปัญหาโรค ระบาดในสวนส้มแถบทุ่งรังสิตจนถึงสระบุรี อย่างหนัก ทำให้ต้องย้ายแหล่งปลูกส้มแห่งใหม่มาที่อำเภอเวียงชัย จังหวัด เชียงราย ในปี 2545 จนกระทั่งปัจจุบัน

4 ปีที่ผ่านมาเธอต้องประสบกับปัญหาขาดทุนต่อเนื่องในช่วง 3 ปีแรก เพราะได้รับผลกระทบจากส้มนำเข้าที่ทะลักเข้ามาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน (สป.จีน) และพม่า ได้อาศัยประเทศไทยเป็นทางผ่านไปสู่ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซีย ทำให้ราคาส้มตกต่ำ เหลือเพียงกิโลกรัมละ 6 บาท ขณะที่ราคาเมื่อรวมต้นทุนการผลิตตามความเป็นจริงจะอยู่ที่กิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 15 บาท แต่เธอก็ยังประคองธุรกิจอยู่ได้เพราะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพ

ตลาดที่ส่งออกของส้มจากไร่แห่งนี้เป็นลักษณะการซื้อ-ขายระหว่างพ่อค้าด้วยกันที่รู้จักกันมากว่า 20 ปี หากเทียบ สัดส่วนระหว่างลูกค้าเก่าและใหม่ที่มีเข้ามา เพียง 5%

ในฐานะที่เธอเคยขายส่งผลไม้มาก่อนทำให้เป็นที่รู้จักอยู่ในกลุ่มพ่อค้าด้วยกันอยู่แล้ว มีพ่อค้ามารับผลผลิตจากหน้าไร่ โดยเฉพาะพ่อค้าจากสุไหงโกลก ซึ่งจะส่งออกต่อไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียที่มีความนิยมบริโภคส้มสายน้ำผึ้งที่มีผลขนาดใหญ่

นอกจากนี้ ผลผลิตส้มจากไร่อีกบางส่วนยังส่งไปขายที่เมืองกวางเจา เมืองคุณหมิง ของ สป.จีน คิดเป็นสัดส่วน 5% ของการส่งออกทั้งหมด

เช่นเดียวกับจรัล ไชยองค์การ เจ้าของจรัลฟาร์ม ฟาร์มปศุสัตว์แบบผสมผสาน เช่นเลี้ยงไก่ไข่ ปลาบึก และปลาชนิด อื่นๆ รวมถึงโคเนื้อในอำเภอพาน จังหวัด เชียงราย บนพื้นที่ 350 ไร่

จรัลเป็นอดีตข้าราชการครู รับราชการมาตั้งแต่ปี 2503-2521 ต่อมาเขาสามารถพัฒนาการเลี้ยงปลาบึกในระบบปิด เพื่อการค้าได้เป็นผลสำเร็จ สามารถถ่าย ทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงให้กับนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ ที่เดินทางมาศึกษาดูงานภายในฟาร์ม ตลอดจนเป็นผู้บุกเบิกตลาดปลานิลในอำเภอพาน จนทำให้ปลานิลเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญของอำเภอพาน และอำเภอนี้กลายเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารกรุงเทพอีกเช่นกัน

ลูกค้าอีกรายอย่างจำรัส แซ่จัง เจ้า กิจการเพาะพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาว และขายไม้ตัดดอก ภายใต้ชื่อร้านดาวจรัสแสง ได้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวที่เคยได้ร่ำเรียนมาจากไต้หวัน จนกระทั่งสามารถเพาะพันธุ์ไม้ดอก เมืองหนาวได้หลายชนิด เช่น ลิลลี่ ทิวลิป คาร์เนชั่น ยิบโซ ครัสเซีย เยียบีร่า เบญจมาศ ผีเสื้อเอ็มมี่ โดยนำเข้าเมล็ดพันธุ์จาก ประเทศเนเธอร์แลนด์และจีน ผลผลิตจากไร่ของจำรัสสามารถทดแทนการนำเข้าดอกไม้จากต่างประเทศ

สำหรับพื้นที่ปลูกบนดอยแม่สลอง มีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ พื้นที่ป่าซาง เนื้อที่ 100 ไร่ ทั้ง 2 แหล่งอยู่ในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ไม้ตัดดอกที่ส่งจำหน่ายในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลงมาถึงปากคลองตลาด กรุงเทพฯ รวมทั้งส่งออกขายยังประเทศออสเตรเลีย

ปัจจุบันจำรัสร่วมหุ้นกับเพื่อนชาวจีนเปิดบริษัทที่เมืองคุนหมิง มลฑลหยุนหนัน พร้อมสร้างห้องเย็นเพื่อเก็บดอกไม้ เมื่อได้ผลผลิตตามจำนวนที่คู่ค้าในจีนต้อง การจึงขนส่งทางเรือผ่านทางแม่น้ำโขงไปถึงเมืองต้าลี่ เชียงรุ่ง จนถึงนครคุนหมิง โดยห้องเย็นที่ต่อขึ้นมาโดยเฉพาะ

รายต่อมา ทวี วนัสพิทักษกุล หรือจังเลผ่า แซ่จัง เจ้าของบริษัทชาฉุยฟง จำกัด ทำไร่ชา และค้าปลีก-ค้าส่งใบชาใน พื้นที่ 380 ไร่ที่บ้านพญาไพรลิทู ประกอบด้วยชาเขียว 110 ไร่ ชาอู่หลงเบอร์ 12 จำนวน 250 ไร่ ชาอู่หลงก้านอ่อนจำนวน 20 ไร่ และได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มบนดอยแม่สลองในพื้นที่เพาะปลูก 400 ไร่ แบ่งเป็น ชาอู่หลง เบอร์ 12 จำนวน 120 ไร่ และชาอู่หลงก้านอ่อน จำนวน 280 ไร่

ผลผลิตที่ได้เป็นชาอู่หลงจำหน่ายในประเทศ 20% ที่เหลือส่งออกต่างประเทศ มีตลาดเป้าหมายคือไต้หวัน โดยมีบริษัท ซื่อฟง (ไต้หวัน) จำกัด เป็นหนึ่งในลูกค้า ส่วนตลาดชาเขียวจำหน่ายในประเทศ 30% ลูกค้าหลักคือบริษัทโออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด

การเปิดเขตการค้าเสรี (AFTA) ในอาเซียนย่อมส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน ของผู้ประกอบการเหล่านี้ทำให้ต้องเตรียมพร้อมรับมือ

ธนาคารกรุงเทพสามารถให้การดูแลลูกค้าเหล่านี้อย่างไร ดูจะเป็นโจทย์ใหญ่ เพราะผลผลิตของลูกค้ามีผู้ประกอบการจากจีนเป็นคู่แข่งที่สำคัญ

การเข้ามาสนับสนุนเจ้าของสวนส้ม ของธนาคารกรุงเทพ ควบคู่กับการให้ความรู้และแนวคิดด้านการตลาด เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ปฎิสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายลูกค้ามีเพิ่มขึ้น

สำหรับพื้นที่จังหวัดเชียงรายที่เป็น หน้าด่านสำคัญของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ปิยะ ซอโสตถิกุลผู้อำนวยการสายลูกค้า ธุรกิจรายกลางต่างจังหวัดและกิจการธนาคารต่างจังหวัด บอกว่าธนาคารมีสาขา อยู่ในกรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชา ธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ดังนั้นจึงได้วางยุทธศาสตร์การขยายสาขาเข้า มาในพื้นที่บริเวณชายแดนที่มีการค้าขายกันหนาแน่นด้วย

เขาให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงรายยังพอไปได้ เนื่องจากยังมีภาคเอกชนคอยหนุนอยู่ โดยเฉพาะธุรกิจหลักๆ ในภาคการเกษตร เช่น ข้าว ชา กาแฟ ปศุสัตว์ และประมง ยังไปได้ดี

ในส่วนท่องเที่ยว จำนวนโรงแรมที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่ามีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวน้อยลง คนที่มาเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นคนไทย 30% ซึ่งเมื่อไหร่ที่อากาศหนาว คนก็ยังมาเที่ยว

ส่วนภาคอุตสาหกรรมจำพวกเฟอร์นิเจอร์ไม้ เรียกว่ายังคงทรงตัวอยู่

ด้านโฆสิตบอกถึงยุทธศาสตร์ที่สำคัญว่า จะต้องเดินหน้าเข้าสู่ตลาดเอเชีย เช่น ลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย เพื่อต้อง การให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถขยาย ตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้ หลังจาก AFTA มีผลอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะ สปป.ลาวที่ธนาคารมีสาขาอยู่แล้วและในปี 2553 ธนาคารจะเปิดสาขาที่ประเทศมาเลเซีย

แม้นโยบายไม่ได้เน้นที่ปริมาณการปล่อยสินเชื่อให้เพิ่มมากขึ้น แต่จะเน้นที่คุณภาพของสินเชื่อ แต่อุปสรรคบางอย่างที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กฎหมาย รวมถึงเรื่องการค้าเสรีจะส่งผลต่อลูกค้าอย่างไร เป็นสิ่งที่ธนาคารกรุงเทพ จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us