Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
Mekhong Stream             
 


   
search resources

International




จีน
ไฉจิง นิตยสารแนวสืบสวนเปิดโปงของจีนเปิดเผยรายงานของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการเมืองแห่งมหานครฉงชิ่งระบุว่า การเพิ่มระดับน้ำเขื่อนสามโตรกถึงจุดสูงสุด ทำให้เสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรณีวิทยา เกือบ 700 แห่ง ซึ่ง 587 แห่ง เป็นจุดที่อาจเกิดแผ่นดินถล่มได้ แม้โฆษกเขื่อนสามโตรกจะปฏิเสธเรื่องความเสี่ยงทางธรณีวิทยา เป็นสาเหตุให้ต้องระงับแผนเพิ่มระดับน้ำ แต่หยาง หยง นักธรณีวิทยาในเมืองเสฉวน ซึ่งเฝ้าติดตามโครงการเขื่อนสามโตรกมองว่าความเสี่ยงแผ่นดินถล่มน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ ที่ทำให้รัฐบาลระงับการกักเก็บน้ำ เพราะตระหนักถึงปัญหานี้ดี เขื่อนสามโตรกมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ในเมืองอี๋ชัง มณฑลหูเป่ย สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำโครงการใหญ่ที่สุดในโลก และสามารถยุติอุทกภัยบริเวณสองฝั่งแม่น้ำแยงซี ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำซากมาหลายศตวรรษ


พม่า
รัฐวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซ หรือ MOGE (Myanmar Oil and Gas Enterprise) เริ่มวางท่อจากขุมพลังงานใหญ่ อาณาบริเวณอ่าวเมาะตะมะในเขตยาดานา (Yadana) เพื่อส่งไปยังโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟไปหล่อเลี้ยงการผลิตในเขตกรุงย่างกุ้ง ศูนย์กลางเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ กับย่านที่ราบปากแม่น้ำอิรวดีทั้งหมด โดยวางท่อส่งก๊าซขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 นิ้ว ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 ใช้เวลา 6 เดือนเต็ม เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะส่งก๊าซได้ในปริมาณ 90 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กลุ่มบริษัทที่ดำเนินการนี้เป็นต่างชาติที่นำโดยโตตาล (Total) จากฝรั่งเศส เชฟรอน (Chevron) จากสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งบริษัทลูกของ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.ของไทย


ลาว
รัฐบาล สปป.ลาว ขยายฐานด้านปริมาณความต้องการพลังงาน เพื่อวางแผนระยะยาวระหว่างปี 2558-2563 โดยลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOUs) ในข้อตกลงความร่วมมือกับนักลงทุนท้องถิ่นและนักลงทุนจากต่างชาติ เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า 70 แห่งในประเทศ เตรียมความพร้อมในการขายไฟฟ้าทั้งหมด 12,000 เมกะวัตต์ ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน คือให้กับไทย 7,000 เมกะวัตต์ และเวียดนาม 5,000 เมกะวัตต์ นอกจากนี้จะไม่จำกัดการส่งออกพลังงานให้กับทั้งสองประเทศ แต่จะมุ่งหาผู้ซื้อแหล่งใหม่ด้วย เช่นกัมพูชา และจีน


กัมพูชา
สมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงพนมเปญ เดินทางมายังเขตก่อสร้าง จ.กัมโป้ต (Kampot) เพื่อร่วมทำพิธีเปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกัมจายในส่วนที่สร้างเสร็จแล้วเมื่อ 7 ธันวาคม 2552 โดยบริษัทซิโนไฮโดร (Sinohydro Corporation) จากประเทศจีน เพิ่งจะมีการเปิดเดินเครื่องปั่นไฟหน่วยแรกจากทั้งหมด 5 หน่วย เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดในปี 2554 เขื่อนแห่งนี้จะมีกำลังผลิตรวม 193 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกันยังมีการสร้างเขื่อนไฟฟ้าขึ้นอย่างน้อยอีก 4 แห่งใน จ.โพธิสัตว์ (Pursat) กับ จ.เกาะกง (Koh Kong) อีก 2 แห่ง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติคีรีรมย์ จ.เกาะกง ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางตะวันตกประมาณ 120 กม. พร้อมจะผลิตไฟฟ้าแล้ว ด้วยกำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ ซึ่งล้วนเป็นบริษัทจากประเทศจีนที่เข้ามาดำเนินการ


เวียดนาม
รัฐบาลเวียดนามพัฒนาและก่อสร้างเพื่อขยายเส้นทางเชื่อมทางหลวง 1A สายเหนือ-ใต้ จาก จ.เกียนซยาง เตี่ยนซยาง เกิ่นเทอ หวีงลอง ลองอาน ลงใต้ถึงที่ราบปากแม่น้ำโขงที่โฮจิมินห์ มีระยะทางรวม 94 กิโลเมตร ด้วยเงินกู้ 19 ล้านล้านด่อง หรือ 1,050 ล้านดอลลาร์ จากธนาคารเพื่อการลงทุนและพัฒนาเวียดนามหรือ BIDV(Bank for Investment and Development of Vietnam) ภายใต้โครงการสัมปทานแบบบีโอที ระยะเวลา 34 ปี ที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่สาย 1A ซึ่งช่วง จ.หวีงลอง กับนครเกิ่นเทอ เป็นประตูสำคัญในการเชื่อมต่อชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา กับส่วนอื่นๆ ของประเทศ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us