Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
บริหารค่าใช้จ่ายผ่านประกันชีวิต ในแบบของสาระ ล่ำซำ             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

โฮมเพจ เมืองไทยประกันชีวิต

   
search resources

เมืองไทยประกันชีวิต, บจก.
สาระ ล่ำซำ
Insurance




"จริงๆ ประกันชีวิตเป็นเรื่องที่มีประโยชน์มาก เป็นเรื่องความคุ้มครองการออมเงินและยังเป็นการลงทุนด้วย มันเป็นประโยชน์กับทุกคนไม่ว่ารวย กลาง หรือฐานราก ในแง่ของการสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองและครอบครัว" บทพูดเช่นนี้มักได้ยินบ่อยจากปากของกลุ่ม "มนุษย์ประกัน"

ไม่ใช่แค่เหตุผลเพราะเป็นคนประกัน ถึงทำให้ "สาระ ล่ำซำ" ยอมลงทุนซื้อประกันมากมาย แต่สาเหตุสำคัญมาจากความรักและห่วงใยครอบครัวที่ประกอบด้วยภรรยาและลูกสาววัย 9 ปี และ 11 ปี

"ภรรยาผมไม่ได้ทำงานและผมมีลูกสาว 2 คนอยู่ในวัยเรียน ถ้าเป็นอะไร ไป จะมีประเด็นมากๆ วิธีการก็คือผมซื้อประกันเรื่องของความคุ้มครองเป็นหลัก เพื่อจะได้ทุนประกันเยอะๆ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของครอบครัวในยามที่ผมไม่อยู่ และพอที่ลูกๆ จะเรียนจบ แล้วยังมีทุนไปทำอะไรให้เขายืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง หลายคนบอกว่าสิ้นเปลืองซื้อแล้วไม่ได้ใช้ ผมว่าทำให้เราอยู่อย่างสบายใจ และก็อย่าไปอยากใช้ เลย" เขาเล่าพร้อมเสียงหัวเราะ

นี่เป็นตัวอย่างทัศนคติที่เมืองไทยประกันชีวิตพยายามใส่ให้กับคนไทย คือเรื่องประกันไม่ใช่การสาปแช่งตัวเองหรือไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่เป็นการวางแผนอนาคตอีกรูปแบบหนึ่ง

นอกจากนี้สาระยังซื้อประกันสุขภาพให้แก่ภรรยาและลูกน้อย ขณะที่ตัวเขาเองมีสวัสดิการอย่างดีของบริษัทอยู่แล้ว

"สิ่งที่น่ากลัวของการเป็นโรคไม่ใช่กลัวไม่หาย วิทยาการการแพทย์สมัยนี้ช่วยให้หายจากโรคได้แน่ ถ้ามาทัน เพียงแต่ประเด็นคือ ถ้าเป็นโรคร้ายแรงคุณมีแบ็กอัพตัวเงินฉุกเฉินหรือเปล่า เพราะโรคพวกนี้หายได้แต่แพงมาก ไม่ว่าจนหรือรวยก็เป็นประเด็นทั้งนั้นเพราะคนรวยก็คงไม่อยากไปถอนเงินฝากประจำของเขาให้เสียโอกาสได้ดอกเบี้ย การบริหารค่าใช้จ่ายตรงนี้มันสามารถทำผ่านประกันชีวิตได้"

สาระมักยกตัวอย่างการสะดุดหกล้มของลูกสาวคนเล็กเป็นกรณีศึกษา จากที่คิดว่าไม่น่าจะเป็นอะไรมาก แต่พอไปถึงโรงพยาบาลปรากฏว่ากระดูกแขนหักถึงขั้นต้องผ่าตัดเอาลวดดามกระดูก สิริรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดกว่าที่ลูกสาวจะหายดีก็ราว 3 แสนบาท

"ผมดีใจมากที่ซื้อประกันอุบัติเหตุไว้ จ่ายเบี้ยล้านละแค่ 4 พันบาท ผมซื้อทุนประกันไว้ 3 ล้านบาท ตีเสียว่าเป็นแบบมีค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลด้วย จ่ายเบี้ยเต็มที่ไม่เกิน 1.3 หมื่นบาท ถือว่าคุ้มค่ามาก หลังจากครั้งนั้นผมก็กลับมาซื้อประกันอุบัติเหตุอีกบานเลย" สาระเคยเล่าให้นิตยสารผู้จัดการฟังตั้งแต่ปี 2549

นอกจากกรณีลูกสาว สาระก็เคยประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ล้มขณะไปดูงานที่สาขาแม่สอด แม้จะบาดเจ็บเล็กน้อย แต่ครั้งนั้นเขาก็ได้ใช้บริการของบริษัทประกันอย่างคุ้มค่า

สาระเป็นคนที่ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชีวิตจิตใจ ก่อนหน้านี้เขามักขี่ฮาร์เลย์ เดวิดสันคู่ใจออกไปต่างจังหวัดอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง เขาจึงมักซื้อประกันอุบัติเหตุให้ตัวเองเป็นประจำ โดยเฉพาะยิ่งเข้าหน้าหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่สาระเชื่อว่าจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุบ่อยขึ้น

แม้ไม่ใช่คนประกัน สาระเชื่อว่าเขาก็คงยังแนะนำให้คนที่พอมีกำลังทรัพย์เจียดเงินมาทำประกันไว้เพื่อบริหารความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในอนาคต โดยเฉพาะช่วงที่อัตราดอกเบี้ยผันผวน การลงทุนทำประกันชีวิตถือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ดีอีกทางหนึ่ง แต่ก็ยังมีข้อควรระวัง...

"กรมธรรม์ถือมากกว่า 1 กรมธรรม์ก็ได้แต่อย่าไปเร่งร้อน อย่าให้กลายเป็นภาระของเรา ให้เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการและไม่แพงเกินไป แล้วค่อยๆ ซื้อเติมก็ได้ ผมซื้อไว้หลายกรมธรรม์ แต่ก็ไม่ได้ซื้อในครั้งเดียวกันหมด พอโบนัสออกก็เจียดมาซื้อ" สาระย้ำทิ้งท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us