Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
ศุภลักษณ์ อัมพุช The Challenger             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

 
Charts & Figures

ผลการดำเนินงานบริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
ผลประกอบการบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
ผลการดำเนินงานบริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด
ผลการดำเนินงานบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป

   
related stories

1 ทศวรรษ Role Model
บัณฑูร ล่ำซำ กับ “ข้อเท็จจริง” ของประเทศไทยที่อ่อนแอ
บุญทักษ์ หวังเจริญ Dare to Change
สาระ ล่ำซำ Changes Driver
วิชา พูลวรลักษณ์ Recovery Mission
ศุภชัย เจียรวนนท์ The Challenged CEO

   
www resources

โฮมเพจ สยามพารากอน
โฮมเพจ The Mall Group (เดอะมอลล์กรุ๊ป)

   
search resources

สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์, บจก.
เดอะมอลล์กรุ๊ป
ศุภลักษณ์ อัมพุช
Shopping Centers and Department store




ศุภลักษณ์ อัมพุช ผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่ต้องเผชิญการท้าทายมาตลอดชีวิตการทำธุรกิจ แม้วันนี้เธอถือว่าประสบความสำเร็จ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ทว่า เรื่องที่ท้าทายเธอและกิจการที่ครอบครัวของเธอปลุกปั้นมายังไม่หมด

ศูนย์การค้าสยามพารากอน หรือ Siam Paragon The Pride of Bangkok ศูนย์การค้าระดับนานาชาติ ที่ตั้งตระหง่านอยู่มุมถนนพระราม 1 แยกปทุมวัน ใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร มีอีกชื่อหนึ่งว่า "เดอะมอลล์ 10"

ที่มาที่ไปของการเรียกขานศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นเดอะมอลล์สาขาที่ 10 เกิดจากการเรียกกันเองภายในของพนักงานกลุ่มเดอะมอลล์

แม้แต่ศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียม ก็ถูกเรียกว่า เดอะมอลล์ 9 (สาขาที่ 9)

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสยามพารากอนเป็นผลงานที่ศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธาน กรรมการบริหาร บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป และผู้บริหารเดอะมอลล์มีส่วนร่วมกันสร้างขึ้น

สยามพารากอน ถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของกลุ่มเดอะมอลล์ โดยเฉพาะศุภลักษณ์ ที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักกว่า 5 ปี ร่วมกับชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้ร่วมทุนในโครงการนี้ฝ่ายละครึ่ง

(รายละเอียดอ่าน "เบื้องหลัง BIG IDEA คือผู้หญิงสองคน!" เรื่องจากปกนิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนเมษายน 2545 หรือ www.gotomanager.com ประกอบ)

ศูนย์การค้าสยามพารากอน และศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียม มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน สยามพารากอนถูกวางให้เป็นศูนย์การค้าระดับอินเตอร์เนชั่นแนลที่สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติ

ส่วนศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียมถูกกำหนดให้เป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าและบริการในระดับหรู (Luxury)

ในขณะที่ศูนย์การค้าเดอะมอลล์เป็นศูนย์การค้าครบวงจร มีห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ และแหล่งบันเทิงต่างๆ เน้นกลุ่มเป้าหมายครอบครัวเป็นหลัก

ถึง ณ วันนี้ ภาพของศูนย์การค้าเดอะมอลล์ แนวคิดการให้บริการไม่ได้เปลี่ยน แปลงอย่างมีนัยสำคัญ

ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ส่วนใหญ่ยังกระจายอยู่รอบชานเมืองของกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด


ปัจจุบันเดอะมอลล์มีสาขาทั้งหมด 7 สาขา ในกรุงเทพฯ คือเดอะมอลล์ สาขา 2 สาขา 3 และสาขา 4 อยู่ในย่านรามคำแหง เดอะมอลล์ 5 สาขาท่าพระ เดอะมอลล์ 6 สาขางามวงศ์วาน เดอะมอลล์ 7 สาขาบางแค และเดอะมอลล์ 8 สาขาบางกะปิ ส่วนสาขา ในต่างจังหวัด เปิดที่โคราช

(กลุ่มเดอะมอลล์ยังคงนับสาขาแรกที่ราชดำริ เป็นสาขาที่ 1 แม้ว่าสาขานี้จะปิดตัวลงไปแล้วก็ตาม)

รายได้รวมของกลุ่มเดอะมอลล์ ปีหนึ่งๆ เกือบ 2 หมื่นล้านบาท อาจเทียบไม่ได้กับ กลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งเป็นคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันโดยตรงที่มีรายได้ตกปีละ 1 แสนล้านบาท

แต่ทว่าในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์การลงทุนของกลุ่มเดอะมอลล์กลับเป็นความเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญและมีสีสันมาก

โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวในเชิงต่อกรกับกลุ่มเซ็นทรัล

เป็นความเคลื่อนไหวที่มีศุภลักษณ์เป็นจักรกลสำคัญทั้งอยู่เบื้องหลังและเบื้องหน้า

คำถามคือ...อะไรเป็นแรงบันดาลใจ ให้ศุภลักษณ์จำเป็นต้องเคลื่อนไหวเช่นนี้ !?!

ในแวดวงธุรกิจค้าปลีก ภาพลักษณ์ กลุ่มเดอะมอลล์ของตระกูลอัมพุช ถูกมองเสมือนเป็นห้างสรรพสินค้าภูธร ที่เป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะศุภชัย อัมพุช บิดาของศุภลักษณ์ ผู้ก่อตั้ง มีพื้นเพมาจากนักธุรกิจต่างจังหวัด มีสไตล์การทำงานลูกทุ่ง ทำงานถึงลูกถึงคน

(รายละเอียดอ่านเรื่อง "ศุภชัย อัมพุช จากเด็กนับขวดเหล้ามาเป็นเจ้าของอาณาจักรพันล้าน เดอะมอลล์" นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2530 และ "สองทศวรรษเดอะมอลล์กรุ๊ป" นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนเมษายน 2545 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเซ็นทรัลของตระกูลจิราธิวัฒน์ ซึ่งเป็นตระกูลใหญ่เติบโตในกรุงเทพฯ มีความใกล้ชิดบุคคลระดับสูงในสังคมทำให้ดูมีภาพลักษณ์ได้เปรียบกว่าทั้งทางด้านชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ

ตระกูลอัมพุชกับจิราธิวัฒน์นอก จากจะทำธุรกิจแบบเดียวกันแล้ว ลูกหลานของคนทั้ง 2 ตระกูล โดยเฉพาะอัมพุชรุ่นที่ 2 และจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 2 และ 3 ต่างเรียนในโรงเรียนเดียวกันคือลูกชายเรียนอัสสัมชัญ ส่วนลูกสาวเรียนมาแตร์เดอี

ดังนั้นคนในรุ่นที่ 2 และ 3 ของ 2 ตระกูลนี้จึงรู้จักกันเป็นอย่างดีมาตั้งแต่เด็ก

และสามารถมองเห็นพัฒนาการทางธุรกิจของทั้ง 2 ครอบครัวมาตั้งแต่ต้น

"ทำธุรกิจกับพันธมิตรโดนมาทุกรูปแบบ" เป็นคำพูดของศุภลักษณ์ที่เปรยกับผู้จัดการ 360 ํ โดยที่ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดมากนัก

เมื่อ 10 กว่าปีก่อนตอนที่ศุภลักษณ์ กำลังหาผู้ร่วมทุนในโครงการศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียม ขณะนำโครงการไปเสนอกับชาตรี โสภณพนิช ชาตรีบอกกับศุภลักษณ์ ว่าไม่รู้จักเดอะมอลล์ รู้จักแต่เซ็นทรัล

ขณะที่เธอเล่าเรื่องนี้ สายตาของศุภลักษณ์ไม่ได้แสดงความน้อยเนื้อต่ำใจแต่อย่างใด ทว่าสายตาที่เห็นกลับเป็นความมุ่งมั่น เดินหน้าทำโครงการให้สำเร็จ

ปรากฏว่าหลังจากที่ชาตรีได้ฟังเธอ นำเสนอรายละเอียดของโครงการและเห็น ความตั้งใจที่จะทำโครงการนี้จริงๆ เขาจึงตัดสินใจนำบริษัทซิตี้ เรียลตี้ ที่มีชาลี โสภณพนิช ลูกชายคนเล็กดูแลอยู่ให้มาร่วมทุนด้วย

ศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียมจึงเกิดขึ้นมาได้จนถึงทุกวันนี้

การได้ร่วมทุนกับตระกูล "โสภณพนิช" ทำให้ภาพของกลุ่มเดอะมอลล์ได้รับการยอมรับมากขึ้น

ขณะเดียวกันก็ถือเป็นก้าวแรกของกลุ่มที่มีพันธมิตรจากภายนอก เพราะในอดีตยุคของศุภชัยมักไม่ชอบร่วมทุนกับคน นอก เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาจึงมักร่วมทุน กับเครือญาติกันเองมากกว่า

ความสำเร็จในการสร้างศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียม ทำให้ศุภลักษณ์มีความมั่นใจมากขึ้น

หลังจากที่เธอได้ยินว่าบริษัทสยามพิวรรธน์จะรื้อโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ในกลางปี 2545 เพื่อสร้างโรงแรมใหม่และในพื้นที่ 52 ไร่ ยังมีแผนสร้างศูนย์ การค้าแห่งใหม่ เพื่อเกื้อกูลศูนย์การค้าที่มีอยู่แล้ว คือสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่

เธอจึงมุ่งมั่นที่จะคว้าโครงการนี้

ซึ่งพื้นที่ตรงนี้กลุ่มเซ็นทรัลก็แสดงความสนใจเช่นกัน

เมื่อศุภลักษณ์มีโอกาสได้พูดคุยกับชฎาทิพอย่างไม่เป็นทางการ เธอจึงเสนอแผนธุรกิจให้ชฎาทิพฟังทันที

เธอจำเหตุการณ์ในวันนั้นได้ดีว่า ขณะที่เล่าแผนธุรกิจอยู่นั้น พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ ประธานกรรมการบริษัทบางกอก อินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส์ จำกัด บิดาของชฎาทิพจ้องมองเธอตาแทบไม่กะพริบ

ชาญชัย จารุวัสตร์ลูกชายคนโตของพลเอกเฉลิมชัยให้เหตุผลที่เลือกกลุ่มเดอะมอลล์เข้ามาร่วมทุนในโครงการศูนย์ การค้าสยามพารากอนว่า เพราะศุภลักษณ์มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาศูนย์การค้า และให้คำมั่นสัญญาว่าจะพัฒนาให้ดีกว่าศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียม

การได้มีโอกาสร่วมทุนในโครงการสยามพารากอน ถือเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของกลุ่มเดอะมอลล์

เพราะโครงการนี้เป็นการพัฒนาพื้นที่บนที่ดินของวังสระประทุม ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ดังนั้นโครงการที่เกิดขึ้นจึงต้องเป็นโครงการที่ "ดีจริงๆ" เพื่อรักษาชื่อเสียงและเกียรติยศผืนดินแห่งนี้ให้งดงาม

และเป็นโอกาสที่กลุ่มเดอะมอลล์ จะได้แสดงศักยภาพให้ทุกคนมองเห็นถึงความสามารถในการบริหาร ที่ยกชั้นขึ้นเป็นระดับแนวหน้าของเมืองไทย

เป้าหมายทางการตลาดของสยามพารากอน มิใช่เพียงแค่นักชอปปิ้งที่เป็นคนไทย แต่ยังหมายรวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่นิยมการเดินทางเพื่อการชอปปิ้ง

คู่แข่งจึงมิได้มีเพียงศูนย์การค้าภายในประเทศ แต่ขยายกว้างไปถึงศูนย์การค้าในเมืองท่องเที่ยวทุกแห่งในภูมิภาค

ภาพลักษณ์ของเดอะมอลล์ถูกยกระดับจากเจ้าของห้างสรรพสินค้าภูธร ให้ก้าวขึ้นไปเป็นเจ้าของศูนย์การค้าระดับอินเตอร์ได้เพียงชั่วข้ามคืน

มีคนเปรียบเทียบความเคลื่อนไหวของเดอะมอลล์กับคู่แข่งตลอดกาลอย่างกลุ่มเซ็นทรัลว่า การเข้าไปทำโครงการสยามพารากอนทำให้กลุ่มเดอะมอลล์จากที่เคยวิ่งตาม กลับสามารถเร่งสปีดจนแซงหน้าไปได้อย่างน้อย 1 ช่วงตัว

นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำไมกลุ่มเซ็นทรัลจึงจำเป็นต้องเอาจริงเอาจังกับการได้เข้าไปพัฒนาที่ดินในโครงการเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เดิม ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อสร้างโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ขึ้นมาให้ได้

(รายละเอียดอ่านเรื่อง "The Beginning of Episode III" เรื่องจากปกนิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2549 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

5 ปีที่ผ่านมา คงเป็นที่ประจักษ์กับสายตาของทุกคนแล้วว่า การเกิดขึ้นทั้งสยามพารากอน และเซ็นทรัลเวิลด์ มีผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยเช่นไร

หากกล่าวเฉพาะตัวศุภลักษณ์ตั้งแต่เธอเริ่มทำโครงการดิเอ็มโพเรียมเรื่อยมาจน ถึงสยามพารากอน ทำให้เธอกลายเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับของเหล่าบรรดานักธุรกิจ ชั้นแนวหน้าของเมืองไทยอย่างกว้างมากขึ้น

มาถึง ณ วันนี้ ความสำเร็จของสยามพารากอนอาจทำให้เธอทำงานง่ายขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าความรับผิดชอบที่มีจะลดน้อยถอยลงไป เพราะธุรกิจค้าปลีกเป็นศาสตร์ ที่ต้องรักษาชื่อเสียงให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เมื่อใดก็ตามที่ชื่อเสียงตกต่ำ พันธมิตรก็สามารถผละออกไปได้อย่างไม่มีเยื่อใย

การรักษาชื่อเสียงจึงเป็นเรื่องจำเป็น ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดหลังจากที่ศุภลักษณ์ได้เจรจากับ KidZania จากประเทศเม็กซิโก ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กวัย 3-12 ปีที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และกำลังจะเปิดเพิ่มในจีนกับ เกาหลีใต้

หลังจาก KidZania ตัดสินใจเข้ามาลงทุนและเซ็นสัญญาร่วมกับสยามพารากอน ไปเมื่อเดือนกันยายน 2552 และมีแผนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปลายปี 2553 งานนี้ศุภลักษณ์ขันอาสาในการหาพันธมิตรมาเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย

ผู้จัดการ 360 ํ เห็นภาพศุภลักษณ์นั่งคุยกับสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต ณ ร้านเพนนินซูลา คาเฟ่ บริเวณชั้นเอ็ม ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อชักชวนให้เข้ามาร่วมโครงการ KidZania ในช่วงบ่ายหลังจากพิธีเปิดตัวดำเนินการไปในช่วงเช้า

การเจรจาธุรกิจในครั้งนั้นใช้เวลาเพียง 30 นาที สาระได้ตอบตกลง

สาระบอกกับ ผู้จัดการ 360 ํ ถึงเหตุผลที่ร่วมโครงการ KidZania ว่าเขารู้จักโครง การนี้มาก่อน เป็นโครงการช่วยฝึกประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ ซึ่งตรงกับเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการสร้างแบรนด์ให้เด็กๆ ได้รู้จัก

แต่เหตุผลอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะเชื่อมั่นในตัวศุภลักษณ์...!!!

จุดเด่นหนึ่งของศุภลักษณ์ที่เธอทำมาตั้งแต่การขยายสาขาให้กับเดอะมอลล์ จนกระทั่งกลายเป็นบุคลิกหนึ่งของศูนย์การค้าแบรนด์นี้ไปแล้ว ก็คือการหาจุดขายที่จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้คนเข้ามาเดินในศูนย์การค้าเหมือนดั่งที่เธอกำลังจะนำ KidZania เข้ามาไว้ที่สยามพารากอน

หากจำกันได้ เดอะมอลล์สาขาแรกที่ถนนราชดำริ ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อ 25 ปีก่อน ถือเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในประเทศไทยที่มีลานเล่นสเกตน้ำแข็งอยู่ชั้นบนสุด จนกลายเป็นจุดนัดพบของวัยรุ่นที่นิยมกีฬาแปลกใหม่ในยุคนั้น

ขณะที่เดอะมอลล์สาขาอื่นๆ ที่เปิดตามมา หากไม่มีสวนน้ำก็จะมีสวนสัตว์ป่าซาฟารี เพื่อให้เด็กๆ ได้เข้าไปเดินศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับชีวิตสัตว์

เมื่อเธอมาทำสยามพารากอน เธอก็นำสยามโอเชี่ยนเวิร์ลที่เธอและชาญชัยเรียกกันเล่นๆ ว่าตู้ปลาขนาดใหญ่จากประเทศออสเตรเลียมาไว้ในศูนย์การค้ากลางเมืองแห่งนี้ ถือเป็นอควาเลียมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้พื้นที่ 10,000 ตารางเมตร

บางคนอาจสงสัยว่าศุภลักษณ์คือแม่เหล็กที่ดึงดูดโครงการต่างๆ เข้ามาหรือเปล่า?

เธอบอกว่าเธอไม่ใช่แม่เหล็ก แต่โครงการที่เข้ามาต่างหากคือแม่เหล็ก ตัวเธอคือวิศวกรที่ต้องทำโครงการให้มันเกิดขึ้นให้ได้

"คุณศุภลักษณ์เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ดีมาก เป็นคนที่ทำงานทุ่มเทชีวิตจิตใจและ เมื่อทำงานกับคุณชฎาทิพ ทั้ง 2 คนมีระบบ ความคิดทำงานต่างกัน คุณศุภลักษณ์เปรียบเหมือนสมองซีกขวา คิดงานสร้าง สรรค์ได้ดี ส่วนคุณชฎาทิพเหมือนสมองซีกซ้าย คิดทุกอย่างเป็นเหตุและผล เมื่อสมองรวมกันก็ทำให้งานออกมาดีมาก โดยมีผมเป็นตัวกลาง" ความเห็นของชาญชัย จารุวัสตร์ ประธานกรรมการ บริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ที่ร่วมงานกับทั้ง 2 คนมามากกว่า 8 ปี

ทุกวันนี้ แม้ว่าภาพของศุภลักษณ์ในสายตาภายนอก ดูเหมือนเป็นตัวแทนของสยามพารากอน แต่ในความจริงแล้วเธอยังคงมีบทบาทบริหารงานอยู่ในกลุ่มเดอะมอลล์อย่างเต็มตัว

"5 ปีที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่มองไปที่พารากอน แต่จริงๆ แล้ว ในเดอะมอลล์เองก็ยังมีโจทย์ใหญ่ที่ต้องหาข้อสรุป"

โจทย์ข้อแรก คือการมองถึงอนาคต โดยเฉพาะแผนการขยายงานของแบรนด์ เดอะมอลล์ ซึ่งศุภลักษณ์ยอมรับว่าขณะนี้มีแผนในหัวอยู่บ้างแล้ว แต่สถานการณ์ปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน

"เรื่องท้าทายมากที่สุดหากต้องสร้าง ศูนย์การค้าใหม่คือจะต้องสร้างใหญ่ขึ้น"

ยังมีโจทย์ที่น่าเป็นห่วงสำหรับศุภลักษณ์ และกลุ่มเดอะมอลล์มากที่สุด ซึ่งเธอและพี่ๆ น้องๆ ร่วมทำอย่างเงียบๆในช่วงที่ผ่านมา คือการวาง Succession Plan

เธอยอมรับว่าในเดอะมอลล์ปัจจุบันเกิดภาวะขาดแคลนผู้บริหารระดับสูงที่จะเข้ามารับช่วงต่อ เพราะผู้บริหารปัจจุบันเริ่มมี อายุมากขึ้น เช่นตัวศุภลักษณ์เองที่ทุกวันนี้ อายุ 54 ปี

จุดนี้เป็นจุดที่แตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างตระกูลจิราธิวัฒน์กับตระกูลอัมพุช

ขณะที่ตระกูลจิราธิวัฒน์มีนโยบายสร้างครอบครัวให้ใหญ่ เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวเข้ามาช่วยงานธุรกิจ แต่ตระกูลอัมพุชมิได้เป็นเช่นนั้น

ตระกูลจิราธิวัฒน์ปัจจุบันมีด้วยกันถึง 4 รุ่น มีคนในตระกูลรวมกว่า 200 ชีวิต หากนับจากเตียง จิราธิวัฒน์ เป็นรุ่นที่ 1 ผู้บริหารระดับสูงปัจจุบันเป็นคนในตระกูล รุ่นที่ 2 และ 3 มีรุ่นที่ 4 ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

(รายละเอียดอ่านเรื่อง "The Next Round" เรื่องจากปกนิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนตุลาคม 2543 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

แต่ตระกูลอัมพุชหากนับจากศุภชัยซึ่งเป็นรุ่นที่ 1 ผู้บริหารปัจจุบันคือพี่ๆ น้องๆ ของศุภลักษณ์ที่อยู่ในรุ่นที่ 2 ที่กำลังอายุมากขึ้นเรื่อยๆ

"รุ่นที่ 3 ของเราตอนนี้เพิ่งจะมีอายุเพียง 7-8 ขวบเท่านั้น" เธอบอก

ข้อจำกัดด้านบุคลากรของกลุ่มเดอะมอลล์ทำให้ไม่สามารถเร่งขยายการลงทุน หรือลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยงได้ รวมทั้งไม่มีแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะไม่ต้อง การให้เป็นภาระมากที่จะถ่ายทอดไปถึงคนรุ่นต่อไป

ขณะที่ต้องเจอกับภาวะการขาดช่วงของบุคลากรที่จะเข้ามาช่วยบริหารงาน แต่การต่อยอดธุรกิจของกลุ่มเดอะมอลล์ ก็ไม่สามารถหยุดได้เช่นกัน

การวาง Succession Plan จึงเป็นภารกิจสำคัญสำหรับศุภลักษณ์และพี่ๆน้องๆ อยู่ในขณะนี้

"ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้บริหารรุ่นที่ 3 ของเดอะมอลล์ต้องเป็นมืออาชีพจากภายนอกที่ไม่ใช่คนในตระกูลอัมพุช"

ปัจจุบันในกลุ่มเดอะมอลล์นอกจาก คนในตระกูลอัมพุชแล้วยังมีผู้บริหารมืออาชีพอีกหลายคนที่มีบทบาทสูง

มืออาชีพเหล่านี้ อาทิ เกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ผู้บริหารอาวุโสสายการตลาด บริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์และกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทเอ็มโพเรียม ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์

ไพบูลย์ กนกวัฒนาวรรณ รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัทเดอะ มอลล์กรุ๊ป ชำนาญ เมธปรีชากุล ผู้อำนวย การใหญ่อาวุโส สายการตลาด บริษัทเดอะ มอลล์ กรุ๊ป และลักขณา นะวิโรจน์ รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป กรรมการบริษัท สยามพารากอน รีเทล

จะเห็นได้ว่ามืออาชีพส่วนใหญ่ต้องบริหารงานทั้งในส่วนของเดอะมอลล์ และในบริษัทร่วมทุน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียมและสยามพารากอน ทำให้ทุกคนต่างมีงานล้นมือ

ทว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีอายุใกล้เคียงกับผู้บริหารที่เป็นคนในตระกูลอัมพุชเช่นกัน

ฉะนั้นภายใน Succession Plan ภารกิจที่ต้องเร่งสร้างคือ 1-ผู้บริหารระดับ กลางที่มีอายุประมาณ 40 ปี เพื่อเตรียมพร้อมให้สามารถเข้ามารับช่วงงานต่อได้โดย เร็วที่สุด ภารกิจนี้ศุภลักษณ์บอกว่าดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว

และ 2-คือการสร้างจิตสำนึกให้ผู้บริหารเหล่านี้ทำงานให้กับเดอะมอลล์เหมือนเป็นเจ้าของเอง ไม่ใช่บุคคลภายนอก

ศุภลักษณ์บอกถึงเป้าหมายในอนาคตว่า สิ่งที่เธอต้องการคือการได้ดูแลกิจการที่ครอบครัวของเธอร่วมกันสร้างมาแบบห่างๆ

"เปรียบเหมือนเคยเป็นอาจารย์ครูหรือคณบดีก็เปลี่ยนมาเป็นเจ้าของที่ไม่ต้องดูแลทุกวัน แต่ให้คำปรึกษาและติดตาม ใกล้ชิด"

แต่เธอจะบรรลุเป้าประสงค์ที่ว่าได้เร็วแค่ไหนนั้น คงเป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะดูจากอุณหภูมิการแข่งขันในสมรภูมิธุรกิจค้าปลีกไทยทั้งในปัจจุบัน และนับต่อจากนี้ ยังไม่ปรากฏสัญญาณว่าจะมีเวลานอกให้เธอได้มีโอกาสได้นั่งพักเลยแม้แต่น้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us