|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โปรแกรม "50 Role Model" เปิดตัวฉบับแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2543
หลังวิกฤติเศรษฐกิจไทยปี 2540 เกิดแรงกดดันสำคัญที่ทำให้เกิดการปรับโครงสร้าง "ความเป็นผู้นำ" ของธุรกิจที่ชัดเจนและเป็นช่วงแห่งความพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยจึงนับเป็นครั้งสำคัญที่สังคมไทย โดยเฉพาะสังคมธุรกิจจะได้ศึกษาบทเรียนจากวิกฤติการณ์ครั้งนี้
โปรแกรมนี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการแสดงพลังของผู้บริหารที่สำคัญของไทย ทั้งในเชิงความเป็นผู้นำทางความคิดและผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดูกลมกลืนกับความเป็นมืออาชีพ
2 ปีแรกเป็นการคัดเลือกผู้บริหารโดยกองบรรณาธิการเป็นผู้คัดสรรบุคคลที่คิดว่าน่าจะมีบางแง่มุมเหมาะสมแก่การเป็น "ต้นแบบ" และสร้าง "แรงบันดาลใจ" ให้กับผู้อ่าน
นับตั้งแต่ปีที่ 3 "50 Role Model" เป็นผลการคัดเลือกโดยผู้อ่าน
ผลการคัดเลือกและอันดับการเปลี่ยนแปลงใน "50 Role Model" โดยเฉพาะกลุ่ม 10 อันดับแรกประจำแต่ละปี ย่อมเป็นภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของสังคมเศรษฐกิจและธุรกิจไทยในแต่ละช่วงได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ผู้บริหารใน 10 อันดับแรกของ "50 Role Model" ประจำปีนี้ เมื่อมอง ย้อนกลับไปตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะพบภาพสะท้อนที่น่าสนใจอยู่หลายมิติ
1. ผู้บริหารทั้ง 10 ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) ยกเว้นธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล และกานต์ ตระกูลฮุน ที่เป็นลูกจ้างมืออาชีพ แม้ว่าปัจจุบันตัน ภาสกรนที จะมีฐานะเป็นลูกจ้างเบอร์ 1 ของเครือโออิชิ แต่เขาก็กระโดดขึ้นแท่นด้วยครั้งแรกในฐานะผู้ประกอบการ และดูเหมือนยังเป็นภาพแห่งความทรงจำของผู้อ่าน
ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสังคมธุรกิจของไทยเข้าสู่ยุคที่คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เริ่ม เปลี่ยนทัศนคติจากการทำงานเป็นลูกจ้างหรือภาครัฐเพื่อความมั่นคง กลายมาเป็นเจ้าของกิจการที่อาศัยความกล้าได้กล้าเสียและความเป็นผู้นำเป็นอีกคุณสมบัติหลัก
ซึ่งก็พบเห็นได้ในคุณสมบัติของผู้บริหารส่วนใหญ่ที่ได้รับเลือกทั้ง 10 อันดับ
2. ขณะที่ผู้บริหารรุ่นใหม่วัย 40 ต้นๆ ที่เข้ามาติดอันดับ มีเพียงศุภชัย เจียรวนนท์ และโชค บูลกุล ซึ่งล้วนแต่เป็นทายาทที่สืบทอดธุรกิจมาจากผู้เป็นพ่อ จนกลายเป็นประเด็นที่สังคมสงสัยว่าที่มาอยู่ ณ จุดที่สังคมยอมรับเป็นเพราะเก่งเองหรือ "เฮง" ที่มีพ่อสร้างไว้ให้ดี โดยเฉพาะศุภชัย
ส่วนโชคดูเหมือนสังคมจะหมดข้อกังขาไปแล้ว เมื่อเขากระโดดเข้ามาด้วยแนวคิด ใหม่ที่เขานำเสนอต่อสังคมผ่านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบบูรณาการที่ต่อยอดมาไกลจากธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัวด้วยลำแข้งของตัวเอง
3. ในบรรดา 10 อันดับแรก ล้วนไม่ใช่ผู้บริหารหน้าใหม่ ทุกคนเคยติดอันดับ ใน "50 Role Model" มาไม่ต่ำกว่า 4 ปี นี่สะท้อนให้เห็นว่าจากที่เป็น "แรงบันดาลใจ" หรือเป็น "บทเรียน" ทั้งเรื่องความสำเร็จและความล้มเหลว แต่มาวันนี้บุคคล เหล่านี้กลายเป็นบรรทัดฐานความเป็น "มือ อาชีพ" ที่ใครก็ตามที่ปรารถนาจะก้าวขึ้นมาสู่ "แถวหน้า" ในสังคมธุรกิจไทยต้องมีมาตรฐานไม่น้อยกว่าคนเหล่านี้
4. อันดับที่ขึ้นลงของผู้บริหาร 10 อันดับแรก...แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากผลประกอบการขององค์กรที่พวกเขาบริหาร แต่หลายๆ ครั้งมาจาก "สถานการณ์"
บางคนสร้างสถานการณ์ขึ้นเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ขณะที่บางคนก็เป็นผู้ตั้งรับกับสถานการณ์ที่เข้ามาท้าทาย...และเมื่อผ่านพ้นสถาน การณ์เหล่านั้นมาได้ด้วยดี ผู้บริหารเหล่านี้ ก็ขึ้นแท่นอันดับต้นของ "50 Role Model" แทบจะทันที
แต่สำหรับองค์กรใดก็ตามที่แน่นิ่ง ไม่มีความเคลื่อนไหว ไม่มีการท้าทายและไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้มีผลประกอบการดีกว่าปีก่อนๆ แต่อันดับก็อาจตกลงมาได้
นอกจาก "บัณฑูร ล่ำซำ" ที่นำเสนอเป็นปกผู้จัดการ 360 ํ ฉบับนี้ในฐานะที่ติด 50 Role Model มาตลอดทศวรรษ และเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องกันมาถึง 4 ปี ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้
ส่วนผู้บริหารอีก 5 คน ได้แก่ ศุภลักษณ์ อัมพุช, บุญทักษ์ หวังเจริญ, สาระ ล่ำซำ, วิชา พูลวรลักษณ์ และศุภชัย เจียรวนนท์... ที่กองบรรณาธิการเลือกนำเสนอเรื่องราวของพวกเขาและเธอก็มาจากเหตุผลข้างต้นที่ได้กล่าวไปแล้ว แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่ใช่ผู้บริหารที่ติด 10 อันดับต้น
|
|
|
|
|