Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
ชีวิตที่มืดและสว่างของเท็ด เทอร์เนอร์ (ตอนที่ 2)             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
search resources

Ted Turner




หลังจากเอ็ด เทอร์เนอร์ ผู้เป็นบิดาเสียชีวิต ขณะนั้นเท็ดมีอายุครบ 24 ปี พยายามทุกวิถีทางที่จะรักษากิจการของบิดา เท็ดเจรจาขอยกเลิกการซื้อขายแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เขาจึงใช้กลยุทธ์ปั่นราคา "Lease Jumping" ด้วยการติดต่อผู้ให้เช่าอาคารพื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณา ซึ่งเคยเป็นของบริษัท เทอร์เนอร์ แล้วยื่นข้อเสนอราคาเช่าที่สูงกว่าที่เช่าอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อถึงเวลาหมดสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าจะย้ายมาเช่ากับบริษัทของเขาที่มาคอนแทน

วิธีการนี้ทำให้เท็ดได้พื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณากลับมาอยู่ในมือของเขา สร้างความเสียหายให้กับบริษัทตรงข้ามเป็นอย่างมาก ทำให้มีการติดต่อขอเจรจาด้วยข้อเสนอ 2 ข้อคือ เท็ดจะได้รับเงินตอบ แทนจำนวน 200,000 เหรียญสหรัฐ หากเขายอมคืน ผู้ให้เช่าทั้งหมดซึ่งในสมัยนั้นนับเป็นเงินจำนวนไม่น้อย ทีเดียว หรืออีกข้อเสนอหนึ่งคือ หากเท็ดต้องการซื้อ บริษัทเทอร์เนอร์และบริษัทเจนเนอร์รัล เอาท์ดอร์กลับคืน เขาต้องจ่ายเงินสดในราคา 200,000 เหรียญ สหรัฐ ด้วยหวังว่าเท็ดจะไม่มีทางหาเงินจำนวนนั้นมาได้ภายในเวลา 90 วัน และจะเลิกยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจ ป้ายโฆษณา แต่เท็ดไม่ล้มเลิกความตั้งใจ เขาตอบตกลงและเขาก็ทำสำเร็จ โดยสามารถซื้อคืนบริษัทกลับมาได้ ด้วยการจ่ายเป็นหุ้นของบริษัทเทอร์เนอร์มูลค่า 200,000 เหรียญสหรัฐแทนเงินสด "มันเกินความสามารถของผมที่จะรักษาชีวิตของพ่อได้ แต่ผมได้ทำทุกอย่างเพื่อรักษาบริษัทของพ่อไว้ได้ ซึ่งพ่อคงดีใจ" เท็ดกล่าวไว้ในหนังสือของเขา

เมื่อเท็ดก้าวขึ้นเป็นประธานกรรมการและประธานบริหารของบริษัทเทอร์เนอร์ เขาเข้าซื้อกิจการบริษัทป้ายโฆษณาอื่นๆ จนขยายครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดในตอนตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯในเวลานั้นเรียกว่าเป็นบริษัทป้ายโฆษณาที่ใหญ่ที่สุดของพื้นที่ มีลูกค้ารายใหญ่อย่างบริษัทโคคาโคลาที่มีป้ายโฆษณาทั่วแอตแลนตากว่า 100 ป้าย แต่แล้ว วันหนึ่งบริษัทโคคาโคลาประกาศเปลี่ยนทิศทางการทำการตลาดไปที่โทรทัศน์แทนป้ายโฆษณาที่ล้าสมัย

ขณะเดียวกันมีข่าวลือว่า บริษัทโคคาโคลา จะย้ายสำนักงานใหญ่จากแอตแลนตาไปที่นิวยอร์ก เท็ดไม่อยากสูญเสียลูกค้ารายใหญ่นี้ เขาจึงคิดทำป้ายโฆษณาขนาดใหญ่มีข้อความว่า "ลาก่อน โคคา โคลา พวกเราจะคิดถึงคุณ" เพราะเขาคิดว่าเมื่อผู้คน เห็นข้อความก็จะเริ่มพูดถึงข่าวลือดังกล่าวมากขึ้น เป็นการพิสูจน์ว่าป้ายโฆษณายังใช้ได้ผลอยู่ แต่ก่อนที่เขาจะใช้ยุทธวิธีนี้ ทนายความของบริษัทให้ความเห็นว่า ไม่ใช่ความคิดที่ดี ป้ายโฆษณาดังกล่าวจึงไม่ เคยออกสู่สายตาสาธารณะ และยิ่งกว่านั้นโคคาโคลา ไม่ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ และยังคงเป็นลูกค้าของบริษัทเทอร์เนอร์ตลอดมาอีก 40 ปีนับจากวันนั้น

ต่อมาเท็ดเข้าซื้อกิจการสถานีวิทยุ อันเป็นช่องทางหนึ่งในการขยายอาณาจักรสื่อของเขาและแน่นอน เท็ดทราบดีว่าเขาไม่หยุดอยู่เพียงแค่ธุรกิจป้ายโฆษณาและสถานีวิทยุเท่านั้น เพราะเป้าหมายต่อไปของเขาคือการเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์และด้วยการบริหารงานในเชิงรุกของเขา ในที่สุดบริษัทเทอร์เนอร์เข้าซื้อกิจการสถานีโทรทัศน์ช่อง 17 (WJRJ) ในแอตแลนตาที่กำลังประสบปัญหาจากบริษัทไรซ์ บรอดแคสติ้ง เมื่อเดือนมกราคม 1970 ด้วยมูลค่า 2.5 ล้านเหรียญ เปลี่ยนชื่อเป็น WTCG (Turner Communication Group) จากนั้นเขาใช้ทุน ส่วนตัวประมาณ 1 ล้านเหรียญ ซื้อสถานีโทรทัศน์ใน Charlotte และเปลี่ยนชื่อเป็น WRET ซึ่งมาจากอักษรย่อชื่อของเขาเอง การตัดสินใจในครั้งนี้ของเท็ด ทำให้ผู้บริหารเก่าแก่ของบริษัทไม่พอใจอย่างมากถึงขั้นลาออกจากบริษัท เท็ดยังคงเดินหน้าดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ที่ไม่มีทีท่าว่าจะสร้างกำไรให้กับเขา

ในทางตรงกันข้ามกลับขาดทุนอย่างต่อเนื่อง เขาพยายามเสนอรายการที่แปลกแหวกแนวเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ชม ด้วยการฉายภาพยนตร์ดังที่ได้รับรางวัล แต่ทั้ง WTCG และ WRET ยังขาดทุน ในที่สุดเขาและผู้บริหารจากแอตแลนตาได้จัดรายการฉายภาพยนตร์เรี่ยไรเงินไม่ใช่เพื่อการกุศลแต่เพื่อความอยู่รอดของสถานี โดยระหว่างชมภาพยนตร์แทนที่จะมีโฆษณา เท็ดออกมาพูดขอการสนับสนุนจากผู้ชมแบบตรงไปตรงมา ผลคือผู้คนเริ่มเห็นใจและส่งเงินมาให้ รวมเป็นเงินประมาณ 25,000 เหรียญ เป็นการต่ออายุให้สถานีได้บ้าง

อีก 3 ปีต่อมาเมื่อสถานีเริ่มมีกำไร เท็ดได้ส่งคืนเงินบริจาคทุกบาททุกสตางค์ให้แก่ผู้บริจาคทุกคนที่เขามีรายชื่อและที่อยู่ พร้อมกับดอกเบี้ยอีกประมาณปีละ 10% จากนั้นไม่นานสถานี WATL ซึ่ง เป็นสถานีคู่แข่งได้เลิกกิจการ ทำให้เทอร์เนอร์ คอม มูนิเคชั่น กลายเป็นสถานีอิสระสถานีเดียวในแอต แลนตาที่ฉายภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์คลาสสิก ยิ่งกว่านั้นยังสามารถซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เหล่านั้นได้ในราคาย่อมเยา จากบริษัทใหญ่อย่างพาราเมาท์ วอร์เนอร์ บราเธอร์ส เอ็มซีเอ และในที่สุดจากเอ็มจีเอ็ม จนกลายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์คลาสสิก รายใหญ่ที่สุด

นอกจากรายการภาพยนตร์คลาสสิกแล้ว เท็ด ยังสามารถดึงรายการจากสถานีใหญ่อย่างเอ็นบีซี และเอบีซี ให้มาออกอากาศในช่วงเวลาอื่นด้วย แต่เขายังไม่หยุดเพียงแค่นั้น เขาคิดว่าหาก WTCG มีรายการกีฬาเองก็จะสามารถสร้างความมั่นคงให้แก่รายได้อีกไม่น้อย ในเดือนมกราคม 1976 เทอร์เนอร์ คอมมูนิเคชั่นซื้อทีมเบสบอล "The Braves" และทีม บาสเกตบอล "The Hawks" แห่งแอตแลนตาเพื่อมีเกมมาฉายในสถานีโทรทัศน์ของเขา ต่อมาปลายปีเดียวกัน หลังจากต้องต่อสู้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการและหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เทอร์เนอร์ คอมมูนิเคชั่นได้รับอนุญาตให้แพร่ภาพรายการต่างๆ ผ่านดาวเทียมเป็นครั้งแรก และได้เปลี่ยนบริษัทเป็น เทอร์เนอร์ บรอดแคสติ้ง ซิสเต็ม จำกัด (WTBS: Turner Broadcasting System) และเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น "ซูเปอร์สเตชั่นทีบีเอส" ซึ่งเท็ดชอบชื่อนี้มาก เนื่องจาก TBS มีเสียงคล้ายสถานีใหญ่อย่าง CBS

ขณะที่ซูเปอร์สเตชั่นกำลังประสบความสำเร็จ มีสมาชิกเคเบิลกว่า 2 ล้านคน เท็ดอยากมีสถานีที่ เสนอรายการข่าวตลอด 24 ชั่วโมง หลายคนปรามาส เขาว่าไม่มีทางเป็นไปได้ที่คนจะอยากดูข่าวตลอดทั้งวันทั้งคืน เท็ดเริ่มหาข้อมูลของบริษัทคู่แข่งซึ่งมีกำลังเงินมากกว่าหลายเท่า เพื่อความแน่ใจว่าไม่มีความคิดเดียวกัน เพราะหากบริษัทใหญ่คิดจะทำรายการข่าวแบบนั้น เขาก็จะไม่ลงไปแข่งให้เจ็บตัว ปรากฏว่าไม่มีบริษัทไหนสนใจจะทำเลย เขาจึงคิดว่า หากเทอร์เนอร์ บรอดแคสติ้งจะทำต้องดำเนินการแบบเงียบๆ และเร็วที่สุด ทีมงานให้ตัวเลขประมาณ การลงทุนประมาณ 30 ล้านเหรียญต่อปี ซึ่งน้อยกว่า บริษัทใหญ่ลงทุนสูงถึง 200-300 ล้านเหรียญต่อปี สำหรับผลิตรายการข่าวเพียง 30 นาทีในช่วงเช้าและ ช่วงค่ำเท่านั้น แต่ถือเป็นเงินลงทุนจำนวนมากสำหรับ บริษัทเทอร์เนอร์ เท็ดตัดสินใจขายสถานี WRET และหุ้นบางส่วนของกิจการป้ายโฆษณา เพื่อนำรายได้มาลงทุนในสถานีข่าว 24 ชั่วโมงในปีแรก

หลังจากวางแผนหาทุนและติดต่อบริษัทเคเบิลเพื่อการสนับสนุนในการเพิ่มช่องใหม่ที่มีชื่อว่า "The Cable News Networks หรือ CNN" เท็ดมีความมั่นใจในความเป็นไปได้มากขึ้นและกำหนดออกอากาศวันแรกของ CNN เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 1980 ซึ่งเขาและทีมงานมีเวลาเตรียมการเพียงแค่ 11 เดือนเท่านั้น
ที่มา: หนังสือ Call Me Ted   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us