Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
Japan CCS             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Environment




ดูเหมือนว่าระดับอุณหภูมิบนเวทีการประชุมสมัชชาภาคี (Conference of Parties: COP) วาระ 15 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโคเปนฮาเกนประเทศเดนมาร์กช่วงกลางเดือนธันวาคม 2009 จะไต่สูงยิ่งกว่าองศาของภาวะโลกร้อนเสียอีก เมื่อต่างฝ่ายต่างเปิดฉากวิวาทะอันร้อนแรงซึ่งแสดงอัตภาพที่แท้จริงสู่สายตาสาธารณชนทั่วโลก อย่างนี้ข้อตกลงความร่วมมือฉบับใหม่ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ก็คงไม่อาจบรรลุไปได้โดยง่าย

ในระหว่างที่ยังไม่มีสูตรสำเร็จใดสำหรับจัด การกับปัญหาโลกร้อนนั้นมาตรการและนวัตกรรมใหม่เพื่อลดปริมาณการแพร่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่กำลังรุดหน้าอยู่ในประเทศญี่ปุ่นนอกจากจะจำเริญขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วนับจากนี้เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นได้แปรไปเป็นสินค้าส่งออกชนิดใหม่ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ

Carbon dioxide Capture and Storage (CCS) ซึ่งนิยามถึงเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อดักจับ CO2 และนำไปเก็บไว้ในชั้นใต้พื้นผิวโลกคือตัวอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี (สินค้า) ส่งออกดังกล่าว ซึ่งเป็นรูปธรรมสัมผัสได้แล้วในปัจจุบัน

จากการสำรวจของ Industrial Science and Technology Policy and Environment Bureau ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐสังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ, การค้าและอุตสาหกรรมระบุว่าโรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งแพร่ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศในอัตราส่วนประมาณร้อยละ 35-40 ของทั้งประเทศ

นั่นหมายถึงหากสามารถดักจับ CO2 ที่ปล่อย ออกมาจากภาคอุตสาหกรรมและนำไปเก็บไว้ในชั้นใต้พื้นผิวโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพตามทฤษฎีแล้วเทคโนโลยี CCS ก็น่าจะมีศักยภาพสูงพอที่จะช่วยลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจกลงได้ทันท่วงทีตามคำสัตยาบันที่ประเทศญี่ปุ่นให้ไว้ในพิธีสารเกียวโตซึ่งกำลังจะหมดอายุลงในอีกไม่นานนี้

เบื้องหลังของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษ 1950-1970 นั้นขับเคลื่อน ด้วยถ่านหินซึ่งเป็นแหล่งพลังงานราคาถูก ในขณะเดียวกันควันเสียจากการเผาไหม้ถ่านหินได้สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่น CO2 ที่เป็นสำเหตุสำคัญของปรากฏการณ์เรือนกระจก ฝนกรดที่เกิดจากถ่านหิน ซึ่งมีปริมาณซัลเฟอร์ปนอยู่ในสัดส่วนสูงซึ่งไม่ต่างอะไรไปจากการละเลยการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ แม่น้ำหรือทะเล

ทั้งที่ถ่านหินเริ่มขุดมาใช้ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 18 ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ภาวะโลกร้อนเพิ่ง จะทวีความรุนแรงอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะในช่วง 1-2 ทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งข้อสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจคือ คนไทยที่เกิดก่อน Generation X ยังอาจหลงเหลือความทรงจำในวัยเยาว์ว่าครั้งหนึ่งประเทศไทยก็เคย มีฤดูหนาวในขณะที่ผู้คนใน Generation Y คงยากที่จะจินตนาการตาม

เนื่องเพราะอุปสงค์ของถ่านหินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและแปรผันตรงกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมใหม่ซึ่งกลายเป็นปัจจัยเร่งให้สภาวะเรือนกระจกเลวร้ายลงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ไม่เฉพาะแต่ถ่านหินเท่านั้นน้ำมันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการสะสมก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศและยังสร้างความผันผวนให้กับเศรษฐกิจโลกในภาพรวมอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นซึ่งจัดอยู่ใน Annex 1 เช่นเดียวกับประเทศอุตสาหกรรมอื่นในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีหน้าที่โดย ตรงในการรับผิดชอบการลดก๊าซเรือนกระจกและมีผลผูกพันทางกฎหมายตามอนุสัญญา UNFCCC

ยุทธศาสตร์การลดปริมาณการแพร่ก๊าซซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาลญี่ปุ่นแบ่งคร่าวๆ ได้ 3 วิธี ได้แก่ 1) แสวงหาแหล่งพลังงาน ใหม่ราคาต่ำที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมาใช้ทดแทนถ่านหินและน้ำมัน 2) ระหว่างที่ยังไม่มีพลังงานทดแทนที่เหมาะสมนั้นจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีกำจัด CO2 ควบคู่ไปด้วย 3) พัฒนาวิธีการสกัดแยกคาร์บอนออกจากถ่านหินให้คงเหลือเฉพาะสารประกอบไฮโดรเจนซึ่งสามารถให้พลังงานได้โดยไม่ก่อเกิดมลภาวะทางอากาศ

ในบรรดาวิธีทั้งหมดนั้นวิธีที่ 2 สัมฤทธิผลก่อนภายใต้ความพยายามของ Mitsubishi Heavy Industries และ Kansai Electric Power Company ที่ร่วมกัน พัฒนาการดักจับ CO2 มาตั้งแต่ปี 1990 ในทิศทางเดียว กับเทคโนโลยี CCS ซึ่งได้แนวคิดมาจากประเทศนอร์เวย์

ตัวทำละลายที่เรียกว่า KS-1 ได้รับการกล่าวขาน ในฐานะของเหลวมหัศจรรย์ซึ่งกลายเป็นผลิตภัณฑ์อีกชิ้นหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้ Mitsubishi Heavy Industries เพียงต่อท่อควันเสียจากการเผาไหม้ถ่านหินหรือน้ำมันผ่านไปยังตัวทำละลาย KS-1 ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาเคมีสามารถเลือกดักจับ CO2 ได้มากถึง 99.9% โดยปริมาตร

ปัจจุบันตัวทำละลายดังกล่าวมิได้จำกัดการใช้แต่ภายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น เพราะโรงงานของ Mitsubishi Heavy Industries แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซียใช้ KS-1 ดักจับ CO2 แล้วประยุกต์เป็นสารตั้งต้นสำหรับ ผลิตปุ๋ยยูเรียป้อนให้กับบริษัท Petronas Fertilizer

ส่วนวิธีกักเก็บ CO2 มีหลายวิธีเช่นการเปลี่ยนให้ อยู่ในรูปผลึกของเกลือซึ่งวิธีนี้ดำเนินการได้ง่ายแต่อาจเกิดสารที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในปริมาณมากซึ่งจะก่อปัญหาใหม่ที่จำต้องหาวิธีกำจัดต่อไป นอกจากนี้ยังมีการเจือจาง CO2 โดยนำไปละลายและผสมกับน้ำทะเล หรือเปลี่ยนสถานะให้เป็นของเหลวที่มีความหนาแน่นสูงกว่าน้ำซึ่งจะจมลงสู่ก้นทะเล

กระนั้นก็ดีวิธีการอัด CO2 เข้าไปแทนที่ช่องว่างภายในบ่อน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติซึ่งกำลังจะหมดเป็นวิธีที่นิยมใช้ด้วยเหตุผล 2 ประการคือลดความหนืดของน้ำมันที่เหลืออยู่ช่วยให้ขุดเจาะขึ้นมาได้ง่ายขึ้นและประหยัดงบประมาณเพราะบ่อก๊าซแต่ละแหล่งมักจะอยู่ระหว่างชั้นหินที่สามารถเก็บกัก ก๊าซไว้ได้อย่างปลอดภัยภายใต้สภาวะเดียวกันกับบ่อก๊าซตามธรรมชาติที่ยังไม่ได้ขุดเจาะขึ้นมาใช้ CO2 บริสุทธิ์จะถูกลำเลียงไปตามท่อส่งซึ่งมีคุณภาพ และมาตรฐานเดียวกับท่อนำก๊าซที่ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งรับประกันการรั่วซึมระหว่างขนส่งไปเก็บในช่องว่างใต้ผิวดินหรือใต้ทะเลได้

พัฒนาการของเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ก้าวล้ำไปไกลจนต้นตำรับอย่างรัฐบาลของประเทศนอร์เวย์ยังเลือกเทคโนโลยีของญี่ปุ่นมาใช้ในโครงการ CCS ที่จะติดตั้งระบบการดักจับและกักเก็บ CO2 จากปล่องไฟของโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังถ่านหินและโรงงานอุตสาหกรรมนับแต่ปี 2011 เป็นต้นไป

โครงการนำร่องที่ Nagaoka จังหวัด Niigata ในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายในการลด CO2 ปริมาณ 1 ตันราว 7,500 เยน ซึ่งสามารถดัก CO2 ได้ 3,000 ตันต่อวัน แม้กระนั้นก็ตามรัฐบาลประกาศส่งเสริมการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยี CCS แบบยั่งยืนโดยมุ่งเน้นให้ลดค่าใช้จ่ายลงเหลือ 5,000 เยนต่อตันและตั้งเป้าเหลือเพียง 1,000 เยนภายในปี 2020

หากลุล่วงตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ทุกประการแล้ว เทคโนโลยี CCS ของญี่ปุ่นนี้ไม่เพียงแต่แสดงบทบาทสำคัญช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนแต่ยังเป็นโมเดลธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมมูลค่ามหาศาลที่มีลูกค้ารออยู่ทั่วโลก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us