Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
เมื่อคนจีนขอ “โชว์ออฟ”             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

Economics




ซิ่ว หรือจั้วซิ่ว เป็นศัพท์คำใหม่ เพิ่งเป็นที่แพร่หลายในประเทศจีนเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง

คำศัพท์ภาษาจีนคำนี้เกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลภาษาอังกฤษ คือคำว่า โชว์ (Show) นั่นเอง ปัจจุบันซิ่วหรือจั้วซิ่วนั้นมีความหมายหลักๆ 3 ประการ คือ การแสดง จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ และอีกความหมายหนึ่งก็คือ "โชว์ออฟ" ซึ่งมีความหมายในเชิงลบเหมือนกับศัพท์แสลงของภาษาไทย

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศจีนเติบโตอย่างรวดเร็วมาก แม้จะมีการสะดุดบ้างจากเหตุการณ์ทางการเมืองภาย ในประเทศ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงและ ภาวะวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่มีต้นตอมาจากสหรัฐฯ แต่เศรษฐกิจของจีนก็ยังสามารถคงอัตราการเติบโตได้ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 เศรษฐกิจจีนนั้นกลับมาฟื้นตัวในระดับสูงด้วยอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 8.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.9 ในไตรมาสที่ 2 และ 6.1 ในไตรมาสที่ 1 จนเรียกได้ว่าเข้าสู่อัตราการเจริญเติบโตในระดับปกติที่ประเทศจีนเป็นมาในช่วงสิบกว่าปีนี้

ทั้งนี้ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งนำมาสู่การเพิ่มขึ้นของระดับรายได้ของชาวจีนได้ก่อให้ เกิดการขยายตัวของชนชั้นกลางชาวจีนอย่างรวดเร็ว เมื่อไม่นานมานี้รายงานของยูโรมอนิเตอร์ระบุว่าใน ช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2548 ถึงมกราคม 2550 ชาวจีนที่ถูกจัดเข้าอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางนั้นเพิ่มขึ้นจาก 65.5 ล้านคน เป็น 80 ล้านคน เท่ากับว่าภายใน ระยะเวลาเพียง 2 ปี ชาวจีนที่สามารถถีบตัวเองให้กลายเป็นชนชั้นกลางได้นั้นมีมากถึงเกือบ 15 ล้านคนเลยทีเดียว

ภายใต้คำจำกัดความและหลักเกณฑ์ของชนชั้นกลางชาวจีนคือเป็นผู้มีรายได้ต่อครัวเรือน ระหว่าง 60,000-500,000 หยวนต่อปี (ราว 300,000-2,500,000 บาทต่อปี) ทำให้ยูโรมอนิเตอร์คาดการณ์ ว่าภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) ประเทศจีนจะมีชนชั้น กลางมากถึง 700 ล้านคนเลยทีเดียว

ขณะเดียวกันเมื่อกลางเดือนตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา จากการจัดอันดับ China Rich List โดยหูรุ่น (Hurun) หรือ Rupert Hoogewerf หนุ่มชาวอังกฤษซึ่งริเริ่มการจัดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ มาตั้งแต่ปี 2542 (ค.ศ.1999) ก็ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันชาวจีนที่มีฐานะจัดอยู่ในระดับเศรษฐีสิบล้าน กล่าวคือมีทรัพย์สินมากกว่า 10 ล้านหยวน (ราว 50 ล้านบาท) นั้นมีประมาณ 825,000 คน ขณะที่เศรษฐีจีนระดับร้อยล้าน คือมีทรัพย์สินมากกว่า 100 ล้านหยวน (ราว 500 ล้านบาท) นั้นมีมากถึง 51,000 คนเลยทีเดียว

แน่นอนว่า ปริมาณชนชั้นกลางและเศรษฐีใหม่ในประเทศจีนปัจจุบันมีจำนวนมากมายมหาศาล หรือเปรียบเทียบง่ายๆ ว่า ปัจจุบันชนชั้นกลางชาวจีน 100 ล้านคนนั้นมีจำนวนมากกว่าประชากรไทยเกือบ 2 เท่าตัว และชนชั้นกลางในประเทศจีนเหล่านี้ เองที่เป็นปัจจัยในการชี้ขาดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจและภาคธุรกิจ-การค้าต่างๆ อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในภาคอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร รถยนต์ บ้าน การท่องเที่ยว การศึกษา ความบันเทิง การค้าปลีก ฯลฯ

ทั้งนี้ธุรกิจ/อุตสาหกรรมประเภทหนึ่ง ที่อาจถือเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญที่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ชนชั้นกลางในประเทศจีนนั้นมีการเติบโตขึ้นมากแค่ไหนก็คือ "อุตสาหกรรมสินค้าฟุ่มเฟือย"

ในโลกยุคปัจจุบัน สินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury Goods) หรือในศัพท์ภาษาจีนกลางคือเซอฉือผิ่น มิได้เป็นสินค้าที่บริโภคได้เฉพาะชนชั้นสูงหรือเศรษฐีเท่านั้นแต่ลูกค้ากลุ่มสำคัญที่สุดของสินค้า ฟุ่มเฟือยกลับเป็นชนชั้นกลางทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย โดยชนชั้นกลางส่วนใหญ่นั้นพยายามซื้อหาสินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าแบรนด์เนมมาเป็นเจ้าของเพื่อบ่งบอกสถานะทางเศรษฐกิจ รสนิยม รวมถึง ความเหมือนหรือความแตกต่างของตัวเอง กับคนในสังคม

"โลกนี้เสมอภาคกัน สัญลักษณ์ของ เราก็คือแบรนด์เนม เธอคือหนุ่มแอร์เมส ฉันคือสาวชาแนล และพวกเราทั้งหมดก็ถือ กระเป๋าหลุยส์วิตตอง" เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ข้อเขียนของหง ห้วง บรรณาธิการสาวและ เจ้าของสื่อแฟชั่นชื่อดังของจีนหลายฉบับ ได้บ่งชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในสังคมชนชั้นกลาง ของจีนหลายๆ ประการ

หง ห้วงเป็นสตรีชาวจีนที่เกิดในช่วงก่อนการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในตระกูลปัญญาชนชื่อดังของสังคมจีน โดยตั้งแต่อายุเพียง 12 ขวบ (ก่อนการปฏิวัติวัฒนธรรมจะสิ้นสุดเสียอีก) เธอถูกส่งไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา ถือเป็นชาวจีนชุดแรกๆ หลังโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งใหญ่ที่ถูกส่งไปเรียนยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นอดีตภรรยาของเฉิน ข่ายเกอ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ปัจจุบันเธอเป็นเจ้าของสื่อแฟชั่นหลายๆ แขนง อย่างเช่น iLook Seventeen (ภาคภาษาจีน) ได้รับฉายาว่า "เจ้าแม่แฟชั่นจีน"

ขณะที่จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมสังเกตเห็นว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้หนุ่มสาวชาวจีนตามเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้นั้นเริ่มใส่ เริ่มใช้และเริ่มถือ เสื้อผ้า กระเป๋าแบรนด์เนมของแท้ อย่างหลุยส์ วิตตอง กุชชี่ ชาแนล แอร์เมส อาร์มานี่ กันมากขึ้น ขณะที่มีเพื่อนที่รู้จักเล่าให้ฟังว่า บริเวณทางเข้าสถานีรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินในย่านสำคัญหลายๆ แห่งของกรุงปักกิ่งที่มีการตรวจเอกซเรย์กระเป๋า เดี๋ยวนี้พนักงานรักษาความปลอดภัยถึงกับต้องเตรียมถุงพลาสติกไว้ให้กับผู้โดยสาร เนื่องจากผู้โดยสารจำนวนหนึ่งร้องเรียนว่าการต้องนำกระเป๋า เข้าเครื่องสแกนและเอกซเรย์ ทำให้กระเป๋าแบรนด์ เนมเลอะเปรอะเปื้อนจนบางครั้งเช็ดไม่ออก

เชื่อว่าผู้ใหญ่หลายๆ ท่านที่เคยไปเมืองจีน เคยสัมผัสกับเมืองจีนเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วหรือนานกว่านั้น เมื่อได้ยินเรื่องนี้หรือพบเห็นสภาพดังเช่นที่ผมว่าแล้วคงต้องอุทานว่า "เหลือเชื่อ" อย่างแน่นอน

ความต้องการ "จั้วซิ่ว" (โชว์ออฟ) ของชนชั้นกลางชาวจีนด้วยการหาซื้อของแบรนด์เนมและสินค้าฟุ่มเฟือยในระดับต่างๆ ตั้งแต่ของชิ้นเล็กๆ อย่างกระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือ ปากกา ผ้าพันคอ เสื้อผ้า ของแต่งบ้าน ไปจนถึงของชิ้นใหญ่ๆ ราคาแพงๆ อย่างเช่น รถยนต์ บ้าน รีสอร์ตตากอากาศ นั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล

เดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมา Bain & Company บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจและกลยุทธ์ทางธุรกิจสัญชาติอเมริกันได้เผยแพร่รายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยในประเทศจีน โดยเนื้อหาตอนหนึ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยในประเทศจีนนั้นมีการเติบโตที่รวด เร็วมาก และมีศักยภาพอีกมหาศาล กล่าวคือในปี 2547 ที่ตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยในประเทศจีนมีมูลค่าเพียง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 70,000 ล้านบาท) มาถึงปี 2552 ตลาดดังกล่าวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า โดยมีมูลค่าสูงถึง 9.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 336,000 ล้านบาท) เลยทีเดียว

ตัวเลขที่เติบโตเฉียดหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกทรงตัวหรือหดตัวนี่เองที่เป็นเครื่องช่วยอธิบายว่า เพราะเหตุใดสินค้าแบรนด์เนมต่างชาติจึงมุ่งมาที่แผ่นดินใหญ่กันหมด

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก่อนที่เราจะเห็นตามหัวเมืองใหญ่ๆ ของจีนเต็มไปด้วยร้าน Flagship Store ของแบรนด์เนมหรูจากทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน หากเราย้อนประวัติศาสตร์ไปดูการเจริญเติบโตของตลาด สินค้าฟุ่มเฟือยในประเทศจีนหลังยุคการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ ก็จะพบว่า จริงๆ แล้วตลาดสินค้าแบรนด์ เนมในประเทศจีนนั้นมีอายุราว 2 ทศวรรษเท่านั้น ด้วยข้อจำกัดทางภาวะเศรษฐกิจ ข้อบังคับในการทำธุรกิจ กฎระเบียบและกฎหมายในประเทศจีนในอดีตที่มีการควบคุมการดำเนินกิจการของบริษัทต่างชาติอย่างเข้มงวด อีกทั้งในการซื้อ-ขายก็ยังบังคับให้มีการใช้คูปองเงิน หรือ Foreign Exchange Certificate (FEC)

ด้วยข้อจำกัดข้างต้นและค่านิยมของชาวจีนที่ยังไม่คุ้นเคยกับแนวคิดในเรื่องแบรนด์เนม ทำให้ในช่วงต้นของทศวรรษ 90 ร้านแบรนด์เนมหรูทั้งหลายจากตะวันตกจึงต้องหาตัวแทนในประเทศจีนและเปิดร้านในโรงแรมหรูระดับ 5 ดาวก่อน โดยโรงแรมซึ่งถือว่าเป็นโรงแรมแรกที่เป็นศูนย์รวมของสินค้าแบรนด์เนมจากตะวันตกในยุคนั้นก็คือ เดอะ เพนนินซูล่า ปักกิ่ง โรงแรมดังที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจสำคัญของกรุงปักกิ่งคือหวังฝูจิ่ง

ในตอนนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ที่สามารถเดินเข้าโรงแรมเพนนินซูล่าที่ปักกิ่งได้ ไม่เป็นชาวต่างชาติก็ต้องเป็นข้าราชการหรือชาวจีนที่มีเส้นสาย หรือมีธุรกิจที่ติดต่อกับต่างชาติ ทำให้สินค้าแบรนด์ เนมยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักในสังคมจีน

ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจจีนดีขึ้น และรัฐบาลพรรค คอมมิวนิสต์ผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ในการทำธุรกิจ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเงินตราและยกเลิก FEC ทำให้สินค้า แบรนด์เนมจากตะวันตก เริ่มกระจายไปสู่เคาน์เตอร์ตามห้างสรรพสินค้าชื่อดัง มีการเปิดร้านในชอปปิ้งมอลล์ในย่านธุรกิจสำคัญ และในที่สุดก็สามารถเปิดร้านสแตนด์อโลนของตัวเองได้โดยบริษัทแม่เป็นเจ้าของเต็มตัว

ปัจจุบันตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยในมหานครศูนย์กลางทางการเมืองและธุรกิจของจีนอย่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ถือว่าค่อนข้างจะโตเต็มที่แล้ว ทำให้ตลาดสินค้าดังกล่าวเริ่มมีการขยายตัวไปยังหัวเมืองชั้นสองและเมืองเอกของมณฑลต่างๆ มากขึ้น เช่น เฉิงตู ฮาร์บิน ต้าเหลียน ฉงชิ่ง ซีอาน หางโจว ซูโจว อู๋ซี เวินโจว หนิงปอ เจิ้งโจว ที่ว่ากันว่าเศรษฐีจีนอีกราวครึ่งหนึ่งไม่ได้อาศัยอยู่ที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ หรือกวางเจา แต่ใช้ชีวิตอยู่ตามหัวเมืองเหล่านี้

ด้วยเหตุนี้ท่านผู้อ่านกรุณาอย่าแปลกใจ หากเดินทางไปเที่ยวหรือไปทำธุรกิจตามหัวเมือง ต่างๆ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ในประเทศจีนแล้วพบว่า ร้าน Burberry Gucci Dior Armani เปิดคู่กับแผงขายสินค้าก๊อบปี้ที่อยู่ใกล้ๆ กัน เพราะต้องทราบไว้ก่อนว่า ร้านใหญ่กับแผงเล็กนั้นมุ่งเป้าไปที่ลูกค้าคนละกลุ่มคือ กลุ่มหนึ่งอยากโชว์ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งอยากใช้ (อย่างเขาบ้าง) นั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us