Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
มรดกของ Steve Jobs             
 

   
related stories

Steve Jobs CEO แห่งทศวรรษ
ทศวรรษของ Steve
จับ Jobs ใส่หนังสือ
Mike Moritz กับ The Little Kingdom
ทุกอย่างเกี่ยวกับ Steve

   
www resources

Apple Homepage

   
search resources

APPLE
Jobs, Steve




ความยิ่งใหญ่ของ Steve Jobs เทียบได้กับเหล่าบรรดาผู้ประกอบการที่ยอดเยี่ยมที่สุดในรอบ 200 ปี

หลายคนมอง Steve Jobs เป็นผู้นำธุรกิจที่ยิ่งใหญ เป็นนักบริหาร บางคนมองเขาประดุจศาสดาของศาสนา แต่โดยเนื้อแท้แล้ว Jobs เป็นผู้ประกอบการคนหนึ่งที่ไม่เคยลดละในการไล่ตามโอกาสใหม่ๆ นับตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ Apple เครื่องแรกเกิดขึ้นจนมาถึงนวัตกรรมยอดเยี่ยมต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอด 8 ปีที่ผ่านมาของ Apple ทั้ง iPod, iTunes และ iPhone รวมไปถึงร้าน Apple Store ของเขา ล้วนยืนยันว่า Jobs ไม่เคยหยุดไล่ล่าหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ อยู่เสมอ โดย ไม่ยอมให้อุปสรรคต่างๆ ที่เขาต้องเผชิญเข้ามาขัดขวางได้ เขามอง และทุ่มเทพลังงานรวมทั้งความเป็นตัวเขาเองทั้งหมด ไปกับการสร้างสิ่งใหม่ๆ หรือแสวงหาเส้นทางเดินใหม่ๆ ที่ผิดแผกแตกต่างไปจากใครๆ และนั่นคือสิ่งที่ทำให้ศาสตราจารย์ Nancy F. Koehn จาก Harvard บอกว่าทำให้ Jobs ถูกจัดเข้าอยู่ในทำเนียบผู้ประกอบการที่ยิ่งใหญ่ในรอบ 200 ปีที่ผ่านมา อันได้แก่ Josiah Wedgwood, John D. Rockefeller, Andrew Carnegie, Henry Ford และ Estee Lauder

ทุกคนที่เอ่ยชื่อมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัว Jobs เอง ล้วนมีสิ่งที่เหมือนกันคือ แรงขับอันแรงกล้า ความอยากรู้อยากเห็นที่ไม่เคยเสื่อม คลาย และจินตนาการทางธุรกิจที่หลักแหลม ซึ่งทำให้พวกเขามองเห็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อุตสาหกรรมใหม่ๆ และความเป็นไปได้ใหม่ๆ สิ่งที่พวกเขามีเหมือนกันอีกก็คือการทำงานหนัก การเรียกร้องสูงทั้งจากตัวเองและจากคนอื่นๆ และความเชื่อมั่นที่จะเดินหน้าไปตามวิสัยทัศน์ ของตนเองมากกว่าความลังเลสงสัย

Jobs เกิดมาในยุคที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ซึ่งเราเรียกว่า การปฏิวัติข้อมูล ข่าวสาร เช่นเดียวกับ Wedgwood ผู้ประกอบการที่ยิ่งใหญ่ชาวอังกฤษ ในศตวรรษที่ 18 เขาเป็นผู้ผลิตเครื่องเคลือบดินเผาและผู้สร้างแบรนด์ สินค้าผู้บริโภคที่แท้จริงเป็นรายแรก ซึ่งเกิดในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม อันเป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและ เทคโนโลยีเช่นเดียวกัน ส่วน Rockefeller ได้วางรากฐานให้แก่อุตสาหกรรมน้ำมันยุคใหม่ในช่วงทศวรรษ 1870-1880 ซึ่งเป็นช่วงที่การเกิดขึ้น ของทางรถไฟและการผลิตสินค้าแบบ mass production กำลังเปลี่ยน แปลงสหรัฐฯ อย่างถึงราก จากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรม

เช่นเดียวกับ Wedgwood และ Rockefeller Jobs มีทั้งสัญชาตญาณและความเฉียบคมที่ทำให้เขามองออกว่า ในช่วงเวลาที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่นั้น มีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า เมื่อบวกกับความมั่นใจในตัวเองอย่างสูง จึงเป็นที่มาของความรวดเร็ว ในการลงมือทำสิ่งต่างๆ ของ Jobs และการที่เขาหมกมุ่นอยู่กับการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นสินค้า "ยอดฮิต" ตัวใหม่ รวมทั้งอาจเป็นที่มาของการมีสไตล์การบริหารที่ดุดันและเผด็จการ

คนที่ทำงานกับ Jobs ต่างพูดถึงการที่ Jobs มักใส่ใจกับรายละเอียดในการออกแบบเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด สำหรับ Jobs แล้วโลกของวิศวกรที่เน้นแต่เรื่องพลังของเทคโนโลยียังไม่เพียงพอ ผลิตภัณฑ์ของเขาจะต้องทั้งใช้งานง่าย รวดเร็ว และสวยงามด้วย 1 ใน 2 วีรบุรุษของ Jobs เป็นผู้ที่เห็นคุณค่าของความงามที่สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกับงานวิศวกรรม และเขาผู้นั้นก็คือ Gustave Eiffel ผู้ออกแบบหอไอเฟลอันลือลั่นของฝรั่งเศส และผู้สร้างเทพีเสรีภาพที่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ Jobs ยกย่องนับถือ Eiffel มาก เพราะเขาเป็นทั้งวิศวกรที่น่าทึ่ง และยังมีความเป็นศิลปินอยู่ในตัวด้วย

เมื่อ Jobs ตัดสินใจเปิดตัวร้าน Apple Store ในปี 2001 เขาลงทุนลงแรงอย่างมหาศาลไปกับการออกแบบ เพื่อหวังจะสร้างประสบ การณ์ที่มากกว่าการเป็นเพียงร้านค้าปลีกให้แก่ลูกค้า มีการสร้างร้านต้นแบบซึ่งต้องผ่านการยกเครื่องปรับปรุงอย่างยกใหญ่ แม้แต่การจัดแสงยังต้องใช้ถึง 3 แบบ เพื่อจะทำให้เครื่อง iMac ที่วางโชว์อยู่ในร้าน มีความสวยงามเท่ากับที่ภาพที่ปรากฏในโฆษณา และผลที่ได้ก็น่าภาคภูมิใจ ร้าน Apple ทำรายได้แตะ 1 พันล้านดอลลาร์ ภายในเวลา อันรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ร้านค้าปลีกของสหรัฐฯ แม้ลูกค้าจะไม่เคยรู้เลยว่า Jobs และทีมงานของเขาต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจและเงินทุนมากขนาดไหนไปกับร้าน Apple แต่ Jobs เห็นว่า ลูกค้าไม่จำเป็นต้องมารับรู้ในจุดนี้เลย "แค่เพียงพวกเขารู้สึกว่าร้าน Apple มีอะไรที่ไม่เหมือนที่อื่น" นั่นก็เพียงพอตามที่ Jobs ต้องการแล้ว

Jobs ได้ชื่อว่าเป็น CEO ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกรายละเอียด ของบริษัทมากที่สุดคนหนึ่งในอเมริกา ไม่ต่างไปจาก Andrew Carnegie ที่ใส่ใจแม้แต่รายละเอียดยิบย่อยทุกอย่าง หากสามารถจะลดต้นทุนของอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่เพิ่งเริ่มจะตั้งไข่ของเขาในช่วงทศวรรษ 1890 ได้ และเฉกเช่นเดียวกับ Henry Ford เมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งหมกมุ่นอยู่กับทุกๆ รายละเอียดที่จะทำให้รถ Model T ของเขาเข้าถึงทุกครัวเรือน ในอเมริกา

สิ่งที่ทั้ง Ford และ Jobs มีเหมือนกันคือ เชื่อมั่นอย่างมากในวิจารณญาณของตัวเอง ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ Ford เคยกล่าวว่า ถ้าเขาถามลูกค้าว่าต้องการรถอะไร ลูกค้าจะต้องตอบว่า ต้องการรถที่เร็วกว่า ส่วน Jobs เคยเล่าถึงการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของเขาว่า เขาเพียงแค่หยิบสิ่งต่างๆ ที่เขามองเห็นรอบๆ ตัวขึ้นมาเท่านั้น "บาง ครั้งในเวลาที่คุณใกล้จะหลับ คุณกลับเพิ่งคิดได้ถึงสิ่งที่คุณไม่เคยสังเกต มาก่อน ผมเป็นสมาชิกบริการข่าวบนอินเทอร์เน็ตมากมาย รับอีเมล 300 ฉบับทุกวัน หลายฉบับมาจากคนที่ผมไม่เคยรู้จักเลย มีความคิดแปลกๆ มากมาย ผมเอาใจใส่เสียงกระซิบรอบๆ ตัวเสมอ" เครื่อง MacBook Air และ iPod ย้อนหลังไปถึงเครื่อง Macintosh เครื่องแรกๆ ในยุคต้นทศวรรษ 1980 ด้วย ล้วนเป็นผลมาจาก "เสียงกระซิบ" ที่ Jobs ได้ยิน บวกกับจินตนาการและความพิถีพิถันในการออกแบบ ของเขา มากกว่าจะมาจากการวิจัยกลุ่มตัวอย่างลูกค้า

Estee Lauder ผู้สร้างตลาดใหม่ของผลิตภัณฑ์ประทินผิว เครื่องสำอางและน้ำหอม ก็มี "สัมผัสที่ 6" เกี่ยวกับความต้องการ ของลูกค้าเช่นเดียวกับ Jobs เธอนิยมชมชอบการใช้ชีวิตอย่างมีรสนิยมของชนชั้นสูงในยุโรป และได้นำแรงบันดาลใจนี้มาใส่ไว้ใน ผลิตภัณฑ์ การออกแบบหีบห่อบรรจุ และการตลาดสำหรับสินค้าของเธอ สำหรับ Lauder การแต่งหน้าเป็นมากกว่าเพียงการใช้สารเคมีเพื่อให้ผู้หญิงสวยขึ้น แต่การประทินโฉมคือสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงได้แสดงตัวตน เพิ่มอำนาจให้ผู้หญิง และเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีความสุข สดชื่นและมีชีวิตชีวาทุกๆ วัน

Jobs ก็เหมือน Lauder ที่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของเขาช่วย ให้ชีวิตประจำวันของเราดีขึ้น และความเชื่อของเขานี้สะท้อนอยู่ในยุทธศาสตร์ "digital hub" ของ Apple Jobs บอกว่าขณะนี้ เราอยู่ในยุคที่ 3 ของวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ คือยุค "digital lifestyle" (ยุคแรกคือยุคที่คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ อยู่ในช่วงปี 1980-1994 ยุคที่ 2 คือยุค Internet ตั้งแต่ปี 1994-2000) ในยุคที่ 3 นี้ เครื่องคอมพิวเตอร์อย่าง iMac และ MacBook เป็นตัวเชื่อมและเป็นตัวส่งเสริมผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตั้งแต่กล้องดิจิตอลไป จนถึง smartphone และเครื่องเล่น MP3 และพัฒนาการทั้งหมดนี้ กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการดูทีวี ภาพยนตร์และการฟังเพลงของเรา แม้กระทั่งเปลี่ยนแปลงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนอื่นๆ

Jobs มองว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Apple อย่าง iPod, iTunes และ iPhone เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม หลาย ปีก่อน Jobs เคยเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าเป็น "จักรยานของความรู้สึกนึกคิด" หมายถึงคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเรา เหมือนกับที่จักรยานช่วยให้เราเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น และ Jobs จะยังคงเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะช่วยเติมเต็ม และส่งเสริมชีวิตประจำวันของเราต่อไป

Jobs มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อสังคม เขาเป็นคนมีบารมี ตัวเขาเหมือนมีออร่าหรือมีความลึกลับอยู่รอบๆ ตัวเสมอ ซึ่งทำให้ เขากลายเป็นคนดัง ผลสำรวจวัยรุ่นอเมริกันเมื่อไม่นานมานี้ พวกเขาโหวตให้ Jobs เป็นอันดับหนึ่งของบุคคลที่น่านิยมชมชอบมากที่สุด เหนือกว่า Oprah Winfrey พิธีกรหญิงชื่อดังที่สุดในสหรัฐฯ ยาม Jobs เดินขึ้นเวทีครั้งใด เขาจะได้รับการต้อนรับประดุจนักร้อง ชื่อดังหรือศาสดา ผู้คนจะพากันกรีดร้อง ทั้งพนักงานของ Apple ลูกค้า นักวิเคราะห์ แม้กระทั่งคู่แข่งของเขา ต่างใส่ใจฟังคำพูดของเขาทุกคำ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมจะรีบวิ่งไปที่เครื่องคอมพิว เตอร์ของตัวเอง เพื่อเขียนบล็อกใหม่เกี่ยวกับอนาคตของไฮเทค

เมื่อ Jobs เปิดตัว iPhone ในปี 2007 เขายกย่อง iPhone ว่าเป็น "ผลิตภัณฑ์วิเศษที่ปฏิวัติโทรศัพท์เคลื่อนที่ และล้ำยุคกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่อื่นใดถึง 5 ปี" ทั้งในด้านการออกแบบและคุณสมบัติ มันเหมือนกับ "ชีวิตของคุณอยู่ในกระเป๋าเสื้อของตัวเอง iPhone คือที่สุดของอุปกรณ์ดิจิตอล"

ยิ่งได้รู้จักคนที่แสนฉลาด ดื้อรั้น "โหด" เป็นบางครั้ง แต่ก็ยังคงมีความน่ารัก อย่าง Steve Jobs คนนี้ ก็ยิ่งพบว่า เขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่า เขาจะเปลี่ยนแปลงโลก นี่เองที่ดูเหมือนจะเป็นแรงจูงใจที่แท้จริงของเขา เขาไม่จำเป็นต้องอวดความร่ำรวย หรืออำนาจที่เขามี (แม้ว่าเขาจะเป็นเจ้าของเครื่องบินเจ็ต Gulfstream V) แต่การปฏิวัติของ Jobs แสดงออกผ่านคุณความดีของผลิตภัณฑ์ที่เขาสร้างขึ้นมา และการที่ผู้บริโภคนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ เหล่านั้น นี่คือการปฏิวัติอย่างสันติ และในสายตาของ Jobs นี่คือ การปลดปล่อยคนทั่วโลกทั้งชายและหญิง

Jobs ได้เผยวิสัยทัศน์ของเขาเกี่ยวกับผลของการปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร มาตั้งแต่เมื่อกว่า 15 ปีก่อนแล้ว เขาเห็นว่า การที่ อินเทอร์เน็ตเข้าไปอยู่ในบ้านของทุกคน คือความหมายที่แท้จริงของ "information superhighway" หาใช่หมายถึงการพยายามจะรวมอุปกรณ์ดิจิตอลเข้าไว้ด้วยกันไม่ และด้วยพัฒนาการนี้ บวกกับพลังอำนาจที่เพิ่มขึ้นของคอมพิวเตอร์ Jobs เห็นว่า จะทำให้โลกนี้ "น่าอยู่มากขึ้น" เพราะทำให้คนธรรมดาสามัญสามารถจะทำในสิ่งที่เมื่อก่อน เคยต้องใช้คนกลุ่มใหญ่มากและเงินอีกมหาศาล เท่านั้น จึงจะทำได้ นั่นหมายความว่า เราทุกคนต่างมีโอกาสมากขึ้นที่จะเข้าสู่ตลาด และไม่เพียงตลาดการค้าเท่านั้น แต่ยังหมายถึงตลาดความคิด ตลาดข้อมูล ตลาดนโยบายรัฐ และทุกอย่างเท่าที่คุณจะคิดได้

หาก Jobs พูดถูกต้อง ที่ว่าการปฏิวัติข้อมูลข่าวสารได้เพิ่มอำนาจให้แก่คนธรรมดาสามัญ และกระจายอำนาจออกไปจากโครงสร้างอำนาจเดิมที่เป็นอยู่ มรดกทางประวัติศาสตร์ที่เขาทิ้งไว้ จะยิ่งใหญ่ไปกว่าเพียงอิทธิพลที่เขามีต่อธุรกิจ อาจจะเกือบเทียบเท่ากับวีรบุรุษอีกคนหนึ่งของ Jobs นั่นคือมหาตมะ คานธี ผู้ซึ่งเคยปฏิวัติอย่างสันติและยิ่งใหญ่เมื่อ 70 ปีก่อน ผู้ที่มองเห็นโอกาสในขณะที่คนอื่นมองเห็นแต่อุปสรรค

ความสามารถของ Jobs ในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เพลง และความบันเทิง ทำให้เขามีอิทธิพลอย่างสูง แต่ดูเหมือนว่า Jobs ได้เลือกที่จะไม่ใช้อิทธิพลนั้นนอกขอบเขตอุตสาหกรรมของเขา ไม่เหมือนกับ Rockefeller และ Carnegie ที่สร้างมูลนิธิ และวาระอันยิ่งใหญ่เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ Jobs แสดงความสนใจน้อยมากในเรื่องการกุศล และไม่เคยพูดถึงเรื่องการเมืองหรือสิ่งแวดล้อมเลย

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง ฟอร์จูน 23 พฤศจิกายน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us