Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
กาแฟ: ตลาดเปิดกว้าง-การแข่งขันหนักหน่วง             
 


   
search resources

Coffee




กรณีที่ไทยจะต้องลดอัตราภาษีนำเข้าและยกเลิกมาตรการโควตาภาษีสินค้าเกษตรตามข้อตกลงการเปิดการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA จำนวนทั้งสิ้น 23 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป เมล็ดกาแฟและกาแฟสำเร็จรูปจัดเป็นสินค้าเกษตรที่จะต้องทำการลดอัตราภาษีนำเข้าตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย

โดยกาแฟสำเร็จรูปจะต้องทำการลดอัตราภาษีให้เหลือร้อยละ 0 ในขณะที่เมล็ดกาแฟจัดเป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหวสูงจะยังคง อัตราภาษีนำเข้าที่ร้อยละ 5

ในปี 2552 ประเทศไทยผลิตเมล็ดกาแฟได้ประมาณ 56,315 ตัน ส่วนใหญ่ใช้แปรรูปเพื่อการบริโภคในประเทศถึงร้อยละ 89.0 ของปริมาณการผลิต หรือประมาณ 50,000 ตัน ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 11.0 จะเป็นการส่งออกไปยังตลาดสำคัญในรูปของเมล็ดกาแฟ และแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูป

อย่างไรก็ดี ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟเพื่อบริโภคภายใน ประเทศมีประมาณ 68,000 ตัน ซึ่งผลผลิตที่ได้มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ประเทศไทยจึงต้องมีการนำเข้าเมล็ดกาแฟจากต่างประเทศเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งปริมาณการนำเข้าเมล็ดกาแฟในแต่ละปีมีไม่สูงนัก เนื่องจากจะต้องเสียภาษีนำเข้าสูง และผู้ที่นำเข้าจะต้องมีใบอนุญาตจากหน่วยงานราชการเท่านั้น

ทั้งนี้ ปริมาณการนำเข้ากว่าร้อยละ 84.0 เป็นการนำเข้ามา แปรรูปและบริโภคในประเทศ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 16.0 เป็นการนำเข้ามาแปรรูปเพื่อการส่งออก นอกจากนี้ไทยยังมีการนำเข้ากาแฟในรูปของกาแฟสำเร็จรูปเพื่อมาบริโภคในประเทศโดยตรง อาทิ กาแฟกระป๋อง กาแฟผงสำเร็จรูป และไทยยังมีการนำเข้ากาแฟสำเร็จรูปมาผ่านกระบวนการปรุงแต่งเพื่อจำหน่ายในประเทศ และบางส่วนก็ส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย

ภายใต้โครงสร้างอุตสาหกรรมกาแฟไทยที่มีความซับซ้อน การปรับลดอัตราภาษีนำเข้าตามกรอบอาฟตาในปี 2553 อาจก่อ ให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในแต่ละภาคส่วนที่แตกต่างกันไป

ในส่วนของเกษตรกรไทยที่ผลิตเมล็ดกาแฟนั้นคาดว่าจากการลดอัตราภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทยที่จะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเวียดนามซึ่งถือเป็นผู้ค้ารายใหญ่ติด 1 ใน 3 ของโลก รองจากบราซิลและโคลัมเบีย ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าไทยมาก

แม้ไทยยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ และมาตรฐานที่แตกต่างจากเมล็ดกาแฟของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งยังตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ และต่างประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการแปรรูปในประเทศยังคงต้องการเมล็ดกาแฟ ของไทย ซึ่งเกษตรกรไทยควรที่จะรักษาข้อได้เปรียบในส่วนนี้ไว้ ด้วยการส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อที่จะขยายโอกาสในการส่งออกเมล็ดกาแฟจากการเปิดการค้าเสรี และสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้

ขณะที่ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟจะได้รับผลกระทบไม่มากนักและมีแนวโน้มว่า หากมีการเปิดนำเข้า เสรีภายใต้กรอบอาฟตา ผู้ประกอบการบางรายจะหันไปนำเข้าเมล็ดกาแฟจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่า ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตกาแฟสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ ของผู้ประกอบการในประเทศถูกลง

การแข่งขันในส่วนนี้จะเน้นในเรื่องของรสชาติและรสนิยมของผู้บริโภคมากกว่า และกาแฟสำเร็จรูปของไทยยังมีความได้เปรียบในเรื่องของรสชาติ และคุณภาพที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ ใน อาเซียน ฉะนั้นหากนำเข้าเมล็ดกาแฟที่มีต้นทุนถูกกว่าจากต่างประเทศมาผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟของไทย โดยอาศัยความได้เปรียบในเรื่องของเทคโนโลยีในการผลิตประกอบ กับคุณภาพและรสชาติที่เป็นที่ต้องการแล้วนั้น คาดว่าจะส่งผลให้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์กาแฟของไทยและสร้างรายได้ ให้กับประเทศเพิ่มขึ้น

สำหรับประเด็นที่พึงระวังอยู่ที่การปรับลดอัตราภาษีนำเข้า เมล็ดกาแฟ อาจทำให้ผู้ผลิตหันไปนำเข้าเมล็ดกาแฟเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและทำให้มีการผลิตกาแฟสำเร็จรูปมีต้นทุนที่ต่ำลงด้วย นอกจากนี้ผู้ประกอบการในประเทศยังต้องเผชิญกับการแข่งขันกับกาแฟสำเร็จรูปที่จะเข้ามาจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนด้วย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า

ผู้ประกอบการไทยควรมีการรับมือกับกาแฟสำเร็จรูปที่อาจจะเข้ามาตีตลาดในประเทศ ด้วยการอาศัยความได้เปรียบใน เรื่องของคุณภาพของกาแฟไทยในการแข่งขัน มากกว่าการแข่งขันทางด้านราคา ควบคู่กับการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในอาเซียนเพื่อที่จะทำการขยายผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดได้ คาดว่ากาแฟสำเร็จรูปของไทยจะสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้า และขยายช่องทางในการส่งออกไปยังประเทศอาเซียนมากขึ้น

ในส่วนของผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันพฤติกรรมการดื่มกาแฟของคนไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 200 แก้วต่อปี จาก 50 แก้วต่อปี เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา การเปิดเสรีการนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป ตามกรอบข้อตกลงอาฟตา ทำให้ผู้บริโภคในประเทศมีทางเลือกในการเลือกซื้อกาแฟสำเร็จรูปมาบริโภคมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกาแฟสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศ หรือกาแฟสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เน้นปัจจัยทางด้านราคาเป็นสำคัญจะมีทางเลือกที่หลากหลายจากกาแฟนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาถูกกว่า

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้บริโภคบางรายที่นิยมบริโภคกาแฟ สำเร็จรูปของไทยซึ่งมีคุณภาพและรสชาติที่เป็นที่นิยม

การวางแผนเพื่อรองรับกับสถานการณ์การแข่งขันที่จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง จึงเป็นกรณีที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริม ให้ปลูกกาแฟพันธุ์ดีทดแทนพันธุ์เก่า เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพของกาแฟ รวมทั้งเป็นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น ควบคู่กับการสนับสนุนให้ผู้ปลูกกาแฟมีการปรับตัวไปปลูกกาแฟที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในประเทศมากขึ้น ซึ่งสามารถ ผลิตกาแฟที่มีคุณภาพสูงได้

นอกจากนี้ ภาครัฐควรกำหนดและบังคับใช้มาตรฐานการนำเข้าสินค้ากาแฟที่มีความชัดเจนเพื่อให้การบริโภคสินค้าชาและกาแฟของผู้บริโภคในประเทศมีมาตรฐานและปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมทั้งควร มีมาตรการการออกใบอนุญาตอัตโนมัติ (Automatic Licensing) เพื่อเก็บข้อมูลการนำเข้ากาแฟควบคู่กับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟรูปแบบใหม่ๆ ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ เพื่อที่จะสามารถเจาะกลุ่มผู้บริโภคได้ตรงกับความต้องการของตลาดในอนาคต

เพราะตลาดที่เปิดกว้างขึ้นอาจประเมินในฐานะที่เป็นโอกาสในการขยายตลาด ขณะที่การแข่งขันก็ดำเนินไปอย่างหนักหน่วงขึ้นเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us