Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
อนาคตการจ้างงานไทย             
 


   
search resources

Economics




การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรล่าสุดเดือนกันยายน 2552 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตัวเลขการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง (YoY) และภาวะการจ้างงานในหลายอุตสาหกรรมมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ขณะที่การจ้างงานในภาคก่อสร้างพลิกกลับมาขยายตัวเป็นเลขสองหลักที่ร้อยละ 14.1 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ส่วนอัตราการว่างงานยังไม่เปลี่ยนแปลง จากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.2 ถึงแม้ตัวเลขผู้ว่างงานจะขยับขึ้นเล็กน้อย (MoM) ก็ตาม

ภาวะการมีงานทำของแรงงานไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่อเนื่องถึงปี 2553 ยังคงมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากแนวโน้มต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ

ขณะเดียวกันอาจต้องเตรียมรับมือกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่มีการเรียกร้องให้ปรับเพิ่มขึ้นในปี 2553 ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในภาคการผลิตที่เน้นใช้แรงงาน (Labor-intensive) อันย่อมจะกระทบกับผลกำไรของธุรกิจ และอาจเป็นปัจจัยที่กดดันการจ้างงานด้วย หากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวทั่วถึงอย่างเต็มที่

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มการจ้างงานในช่วงปี 2553 ว่าภาวะการจ้างงานโดยรวมปรับตัวดีขึ้นในอัตราเร่งจากการฟื้นตัวของการจ้างงานนอกภาคเกษตร โดยผู้มีงานทำในเดือนกันยายนมีจำนวน 37.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (Year-on-Year, YoY) เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัว ร้อยละ 1.1 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นผลมาจากการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.0 (YoY) ในเดือนกันยายนดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 ในเดือนสิงหาคม ถึงแม้การจ้างงานในภาคเกษตรจะหดตัวสูงขึ้นก็ตาม ซึ่งสวนทางกับการปรับตัวดีขึ้นของทั้งผลผลิตและราคาพืชผลสำคัญในเดือนกันยายน

แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) การจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 ในเดือนสิงหาคม ขณะที่การจ้างงานในภาคเกษตรหดตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่หดตัวร้อยละ 5.8 ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านฤดูกาล เพราะหากย้อนกลับไปดูข้อมูลการมีงานทำในช่วงที่ผ่านมาจะพบว่า จำนวนผู้มีงานทำในภาคเกษตรในเดือนกันยายน มักจะลดลงจากเดือนก่อนหน้าของทุกปี แต่มักจะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกในช่วง 2 เดือนสุดท้าย

การจ้างงานในหลายอุตสาหกรรมยังมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคการผลิตและการก่อสร้างโดยสำหรับภาคการผลิต ซึ่งถือเป็นภาคอุตสาหกรรมสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกของไทยนั้นยังคงมีการจ้างงานที่ขยายตัวต่อเนื่อง จากเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวร้อยละ 2.5 ในเดือนกันยายนเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 ในเดือนก่อนหน้า) โดยได้รับแรงหนุนจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศที่ทำให้ภาคการผลิตปรับตัวดีขึ้น ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันปีก่อน การจ้างงานในภาคการผลิตเร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 (YoY) ในเดือนสิงหาคมมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

การเพิ่มขึ้นดังกล่าวยังคงเน้นไปที่การผลิตในบางกลุ่ม ได้แก่ การผลิตเครื่องแต่งกาย การฟอกและตกแต่งหนังฟอก การผลิตยานยนต์ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วง เครื่องอุปกรณ์การขนส่งอื่นๆ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ อย่างไรก็ดี ยังมีการจ้างงานในบางสาขาของภาคการผลิตที่ปรับตัวลดลงในเดือนกันยายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2551 อาทิ การผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เครื่องจักรสำนักงาน การผลิตไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้และเฟอร์นิเจอร์

ขณะที่การจ้างงานในภาคก่อสร้างในเดือนกันยายนก็พลิกกลับมาขยายตัวเป็นเลขสองหลักที่ร้อยละ 14.1 จากเดือนก่อนหน้าและเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 (YoY) เทียบกับที่เคยหดตัวร้อยละ 0.5 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของทั้งเศรษฐกิจ โลกและเศรษฐกิจไทย

แม้ตัวเลขการจ้างงานจะปรับตัวขึ้น แต่อัตราการว่างงานจะยังทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2 โดยผู้ว่างงานในเดือนกันยายนมีจำนวน 4.6 แสนคน เพิ่มขึ้น 1 หมื่นคน เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่มีผู้ว่างงานจำนวน 4.5 แสนคน (ตัวเลขว่างงานพลิกกลับมาขยายตัวร้อยละ 2.6 ในเดือนกันยายนจากที่เคยหดตัวร้อยละ 6.2 ในเดือนสิงหาคม) โดยได้ยุติการลดลง 4 เดือนติดต่อกันนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) จำนวนผู้ว่างงานก็เพิ่มขึ้น 3 หมื่นคน (พุ่งขึ้นมาขยายตัวร้อยละ 6.0 จากที่เคยหดตัวร้อยละ 0.1 ในเดือนสิงหาคม)

อัตราการว่างงานในเดือนกันยายน ถึงแม้จะไม่เปลี่ยน แปลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.2 หลังจากที่ขยับลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนเมษายน แต่ก็ยังเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.1 ในเดือนกันยายน 2551 ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมที่เริ่มลดลงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม แต่ยังคงเพิ่มขึ้นมากหากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

แนวโน้มการจ้างงานในระยะถัดจากนี้ น่าจะได้รับปัจจัยหนุนที่สำคัญจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งจากการประเมินตัวเลขการจ้างงานล่าสุดที่ยังคงสะท้อนสัญญาณบวกชัดเจนในภาคการผลิต ประกอบกับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ มักจะปรับตัวดีขึ้นตามปัจจัยด้านฤดูกาล ภายใต้มุมมองดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงได้ปรับลดคาดการณ์ตัวเลขผู้ว่างงานเฉลี่ยในปี 2552 ลงเล็กน้อยมาที่ 5.9 แสนคน โดยมีอัตราการว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.5 (จากเดิมที่คาดว่าน่าจะมีผู้ว่างงานเฉลี่ยที่ 6.03 แสนคน และมีอัตราการว่างงานเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.6) ซึ่งดีกว่าอัตราการว่างงานเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.7 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

สำหรับแนวโน้มในปี 2553 ปัจจัยที่สนับสนุนการฟื้นตัวของการจ้างงานในภาคการผลิตต่างๆ ยังคงต้องขึ้นอยู่กับทิศทางการส่งออก และความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของภาครัฐ ขณะที่แนวโน้มการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ ภาคก่อสร้าง อาจได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการไทยเข้มแข็ง

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังเผชิญกับหลากหลายปัจจัยความไม่แน่นอน โดยเฉพาะความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลกที่ในซีกโลกตะวันตกกำลังถูกตั้งคำถามว่าการฟื้นตัวจะยั่งยืนหรือไม่ หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการมีข้อจำกัดมากขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในซีกเอเชียอาจก้าวเข้าสู่ช่วงของการคุมเข้มนโยบาย การเงินและอัตราแลกเปลี่ยนท่ามกลางความเสี่ยงจากราคาสินทรัพย์ที่ถีบตัวสูงขึ้น ตัวแปรดังกล่าวอาจทำให้เส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลานานขึ้น จนอาจย้อนกลับมาส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานได้

ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงเพิ่มเติมจากปัญหาการเมืองในประเทศ ซึ่งอาจมีผลรบกวนการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาคงต้องยอมรับว่าเป็นกลไกสำคัญในการลดปัญหาการว่างงานในประเทศ

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเองอาจต้องเผชิญกับแนวโน้มต้นทุนการผลิตที่ค่อยๆ ขยับขึ้นจากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ ต่างๆ รวมทั้งยังต้องเตรียมรับมือกับข้อเรียกร้องให้พิจารณาปรับ ขึ้นค่าแรงในปี 2553 ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อผลกำไรของธุรกิจ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวขึ้นเต็มที่และทั่วถึง

ภาวะการจ้างแรงงานไทยนับจากนี้จึงประหนึ่งแขวนไว้บน ตัวแปรและปัจจัยหลากหลายที่พร้อมจะย้อนกลับมากดดันการจ้างงานได้ตลอดเวลาในห้วงเวลาของปีเสือที่กำลังมาถึงนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us