Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553
กระดาษถ่ายเอกสารโตสวนกระแสอนุรักษ์             
 


   
search resources

Pulp and Paper




แม้ว่าจะมีกระแสลดการใช้กระดาษ (Paperless) ในหน่วยงานและองค์กรธุรกิจต่างๆ เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสารรูปแบบใหม่ แต่ข้อมูลการบริโภคกระดาษในสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมายังขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7

โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณการใช้กระดาษถ่าย เอกสารซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของกระดาษพิมพ์เขียน ยังคงเป็นที่นิยมในหน่วยงานและสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่เจาะจงสำหรับงานเอกสารที่ต้องอาศัยการพิมพ์/เขียน จึงส่งผลให้ปริมาณการใช้กระดาษถ่ายเอกสารของไทยจึงยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันจากการแข่งขันของผู้ผลิตในธุรกิจ กระดาษที่ต่างเร่งคิดค้นพัฒนานวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษถ่ายเอกสาร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตกระดาษที่มีความขาว เรียบเนียน พิมพ์เอกสารได้สีที่คมชัด และไม่ติดเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์งาน

แต่ด้วยกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อสิ่งแวดล้อม ออกสู่ตลาดหลากหลายและมีการแข่งขันที่รุนแรงมาก ขึ้น โดยผู้ผลิตต่างเน้นด้านนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ เป็นจุดแข็งในการทำตลาด จนทำให้กระดาษถ่ายเอกสารพรีเมียมและกระดาษระดับกลาง-ล่างมีสัดส่วนในตลาดกระดาษถ่ายเอกสารเท่าๆ กัน และคาดว่าในอนาคตกระดาษถ่ายเอกสารพรีเมียมน่าจะมีสัดส่วนในตลาดเพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้กระดาษพิมพ์เขียนในประเทศมีมูลค่าตลาดประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยในช่วงครึ่งแรกปี 2552 ความต้องการใช้กระดาษพิมพ์เขียนหดตัวลงร้อยละ 10-15 ส่วนกระดาษถ่ายเอกสารมีมูลค่าตลาดประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7-8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ส่งผลให้ทั้งปี 2552 ตลาดกระดาษถ่ายเอกสารน่าจะเติบโตได้ที่ประมาณร้อยละ 9-10 จากปีก่อน และคาดว่าจะส่งผลต่อเนื่องถึงปี 2553 ให้ขยายตัวได้ที่ประมาณร้อยละ 12-15 หรือมีมูลค่าตลาดในประเทศประมาณ 8,000 ล้านบาท

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้กระดาษถ่ายเอกสารของไทยยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ในด้านหนึ่งอยู่ที่พัฒนาการของลักษณะกระดาษถ่ายเอกสารแต่ละยี่ห้อที่แต่เดิมมีความคล้ายคลึงกัน ขณะที่ผู้บริโภคก็ไม่ได้ให้ความสำคัญในการเลือกซื้อเท่าใดนัก

หากแต่ความเปลี่ยนแปลงในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตกระดาษถ่ายเอกสารเริ่มเล็งเห็นแนวโน้มพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่มีความทันสมัยมากขึ้น เริ่มให้ความสนใจในรายละเอียดต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะคุณภาพและความสวยงามของงานพิมพ์มากขึ้น โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย

กรณีดังกล่าวส่งผลให้สัดส่วนการใช้กระดาษ 80 แกรมที่เดิมมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 30 ของการใช้กระดาษถ่ายเอกสารรวมในประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 60 ของการใช้รวมในประเทศ จากผลของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้กระดาษของผู้บริโภคและการสร้างกระแสการทำตลาดของผู้ผลิต ซึ่งผลักดันให้ตลาดกระดาษถ่ายเอกสารมีการแข่งขันกันในด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและสามารถเติบโตได้ ขณะที่ภาพรวมความต้องการใช้กระดาษพิมพ์เขียนยังคงชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุที่การบริโภคกระดาษถือเป็นการใช้ทรัพยากรป่าไม้โดยตรง จึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษถ่ายเอกสารระดับพรีเมียม ทั้งในส่วนของกระดาษที่ใช้ส่วนผสมของเยื่อกระดาษรีไซเคิลที่ทำจากกระดาษที่ผ่านการใช้งานมาแล้วนำมาทำความสะอาดคัดแยกสิ่งเจือปนแล้วมาผ่านกระบวน การต้มเยื่อใหม่ (Recycle Fiber) ผสมกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (Agro Waste Fiber) ไม่ว่าจะเป็นกากอ้อยจากอุตสาหกรรมน้ำตาล ฟางข้าว และมันสำปะหลัง แล้วนำไปผ่านกระบวน การผลิตที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง

กระบวนการผลิตเยื่อกระดาษรีไซเคิลหรืออีโคไฟเบอร์ที่มีคุณภาพสูง ดังกล่าวต่างกับในอดีตที่กระดาษรีไซเคิลนั้นจะมีสีน้ำตาลและเนื้อไม่เรียบเนียน ซึ่งไม่เหมาะที่จะนำมาใช้พิมพ์/เขียนในงานเอกสาร/งานที่ต้องการความสวยงาม หรือสามารถนำไปใช้งานได้เฉพาะเพื่อการบรรจุหีบห่อหรืองานที่ไม่ต้องการความสะอาดมากนัก

กระนั้นก็ดี การพัฒนาด้านนวัตกรรมการผลิตของกระดาษถ่ายเอกสารคุณภาพสูงนั้น ต้องอาศัยเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง จึงทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูงตามไป ส่งผลให้ระดับราคาของกระดาษถ่ายเอกสารพรีเมียมสูงกว่ากระดาษธรรมดาทั่วไป ผู้ผลิตจึงต้องเน้นการทำการตลาดควบคู่ไปด้วย โดยมีเป้าหมายให้ผู้บริโภคตระหนักในคุณภาพของผลิตภัณฑ์กระดาษพรีเมียมที่แตกต่างจากกระดาษทั่วไป และคุ้มค่าเมื่อเทียบ กับการใช้กระดาษธรรมดาที่มีราคาถูกกว่า

นอกจากผู้ผลิตจะเร่งพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์แล้ว การปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการอย่างครบวงจรของผู้ผลิต ยังเป็น การช่วยดึงดูดลูกค้าด้วยเช่นกัน เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะบริการส่งผลิตภัณฑ์ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วกรณีที่มีความต้องการใช้อย่างเร่งด่วน ถึงแม้ว่าจะเป็นการสั่งในจำนวนเล็กน้อยก็ตาม หรือการพัฒนาเปิดศูนย์บริการถ่ายเอกสารด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆในการจัดซื้อกระดาษเพื่อใช้ในสำนักงานฯ

ขณะเดียวกันผู้ผลิตในอุตสาหกรรมกระดาษมีการพัฒนาส่งเสริมการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ ภายใต้กระบวนการจัดการสวนป่าอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลจากเปลือกไม้/ฝุ่นไม้ที่เหลือจากกระบวนการผลิต/เศษตะกอนจากน้ำทิ้ง ของโรงงานกระดาษและเยื่อกระดาษ เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตควบคู่กับการใช้ถ่านหินคุณภาพสูง โดยผู้ผลิตจะยึดแนวทาง การเติบโตของธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นที่ยอมรับแก่สังคมและชุมชนในพื้นที่ ตลอดจนผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นความได้เปรียบในการสร้างความแข็งแกร่งของยี่ห้อผลิตภัณฑ์เพื่อก้าวสู่ตลาดโลกต่อไป

อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยพึงระวังของธุรกิจกระดาษถ่ายเอกสารที่ผู้ผลิตควรให้ความสำคัญ และเตรียมหาแนวทางรับมือ และวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะประเด็นความผันผวนของราคาวัตถุดิบที่เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการบริโภคตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมาจากความต้องการบริโภคกระดาษที่ฟื้นตัว อีกทั้งการที่จีนมีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตกระดาษมาอยู่ที่ 2 ล้านตันในปีหน้า คาดว่าน่าจะส่งผลให้ราคาเยื่อกระดาษในปีหน้าปรับตัวสูงขึ้นอีก

นอกจากนี้ ปัจจัยด้านการพัฒนาของสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อออนไลน์ในระยะยาว ที่ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถแทนที่สื่อสิ่งพิมพ์กระดาษได้ทั้งหมด แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคลดลงในบางผลิตภัณฑ์ เช่น เอกสารงานพิมพ์ สื่อหนังสือพิมพ์ วารสาร/นิตยสาร กับเฉพาะบางกลุ่มผู้บริโภคที่เข้าถึงสื่อเหล่านั้น

แต่สำหรับกระดาษถ่ายเอกสารยังจะสามารถเติบโตควบคู่ กันกับการขยายตัวของการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งในครัวเรือนและสำนักงานต่างๆ ต่อไป โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการ ซึ่งหากประเมินในมิติที่ว่านี้ ดูเหมือนกระดาษถ่ายเอกสารเพื่อการสำเนา หรือ copy ในสังคมไทยจะยังมีอนาคตอีกไกลพอสมควร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us