Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 มกราคม 2553
รายงาน:แบงก์พาณิชย์ไทยปี 2553 สภาพคล่องแนวโน้มลดลง             
 


   
search resources

Banking and Finance




ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมข้อมูลสินทรัพย์สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่ประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง ในปี 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดเป็นข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2552 พร้อมทั้งประเมินแนวโน้มสภาพคล่องในปี 2553 ได้ว่า

ฐานะสภาพคล่องล่าสุดในปี 2552เพิ่มขึ้นจากปีก่อน สภาพคล่องที่วัดจากการเปลี่ยนแปลงของยอดเงินฝากและสินเชื่อ ลดลงในเดือนพฤศจิกายน 2552 สอดรับกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2552 ยอดเงินให้สินเชื่อสุทธิ (หลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) ของ 14 ธนาคารพาณิชย์ไทย มีจำนวน 5.69 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.08 แสนล้านบาท จาก 5.58 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นขนาดการเพิ่มขึ้นที่มากกว่ายอดเงินฝากที่เพิ่มขึ้น 7.92 หมื่นล้านบาท จาก 6.36 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนตุลาคม มาเป็น 6.44 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับสิ้นปี 2551 สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยยังปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2552 อันเป็นผลหลักจากยอดเงินให้สินเชื่อสุทธิที่หดตัวมากกว่าเงินฝาก (เงินให้สินเชื่อสุทธิลดลงจากสิ้นปี 2551 จำนวน 1.23 แสนล้านบาท ขณะที่เงินฝากลดลง 4.23 หมื่นล้านบาท) หลังจากที่สินเชื่อเพิ่งจะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

ส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (รวมเงินสด เงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้น และเงินลงทุนสุทธิในหลักทรัพย์) ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2552 แทบไม่เปลี่ยนแปลงโดยขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2552 สภาพคล่องดังกล่าวมีจำนวน 2,113.9 พันล้านบาท ปรับขึ้นเพียง 336 ล้านบาท จาก 2,113.5 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2552 อันเป็นผลหลักจากการลดลงในองค์ประกอบหลักอย่างเงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้น ขณะที่เงินลงทุนสุทธิในหลักทรัพย์และเงินสดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาข้อมูลสินทรัพย์สภาพคล่องในความหมายที่แคบลง คือ ไม่นับรวมเงินลงทุนสุทธิในหลักทรัพย์ หรือมาจากผลรวมเฉพาะของเงินสดและเงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้น พบว่า มีจำนวน 7.84 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2552 ลดลงจำนวน 4.02 หมื่นล้านบาท จาก 8.24 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือนตุลาคม

การขยับขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าของสภาพคล่องในความหมายกว้างเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของสภาพคล่องในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ โดยสภาพคล่องในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นจำนวน 2.50 หมื่นล้านบาท มามียอดคงค้างที่ 1.40 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2552 สวนทางกับสภาพคล่องในกลุ่มธนาคารขนาดกลางและกลุ่มธนาคารขนาดเล็กที่ลดลงจำนวน 2.30 หมื่นล้านบาท และ 1.66 พันล้านบาท มามียอดคงค้างที่ 4.91 แสนล้านบาท และ 2.18 แสนล้านบาท ตามลำดับ

เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2551 สินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 ยังคงเพิ่มขึ้นประมาณ 1.30 แสนล้านบาท โดยมาจากการเพิ่มขึ้นของสภาพคล่องในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่เป็นหลัก จำนวน 2.14 แสนล้านบาท ขณะที่ สภาพคล่องในกลุ่มธนาคารขนาดกลางและกลุ่มธนาคารขนาดเล็กลดลง 3.24 หมื่นล้านบาท และ 5.21 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับแนวโน้มในปี 2553 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอาจมีทิศทางที่ปรับลดลงจาก ณ สิ้นปี 2552 โดยได้รับอิทธิพลหลักจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าอาจขยายตัวในกรอบประมาณ 2.5-3.5% ในปี 2553 เทียบกับการหดตัวประมาณ 3.1% ในปี 2552 ทั้งนี้ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นดังกล่าว คงจะมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยในระยะข้างหน้า ผ่านการปรับตัวของตัวแปรที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่

ปริมาณสภาพคล่องที่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอาจมีลดลง เนื่องจากสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจที่กระจายอยู่ในตลาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาดเงิน ตลาดทุน และสภาพคล่องที่หมุนเวียนอยู่ในมือของภาคธุรกิจและครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงของสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ ย่อมมีผลต่อสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เพราะภาคส่วนต่างๆ ยังคงอาศัยกลไกธนาคารพาณิชย์เป็นตัวกลางในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือ ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายของประเทศ

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ระดับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยอาจลดลงจากประมาณ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2552 มาที่ประมาณ 1.0-1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ บนพื้นฐานการคาดการณ์ว่าการนำเข้ามีแนวโน้มจะฟื้นตัวขึ้น ตามการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนในประเทศ แนวโน้มการปรับขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ ตลอดจนการฟื้นตัวของการส่งออกที่คงจะสนับสนุนความต้องการนำเข้าสินค้าประเภทวัตถุดิบและสินค้าทุน เพื่อผลิตและส่งออกต่อ ให้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย อนึ่ง การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่คาดว่าจะลดลงในปี 2553 ดังกล่าว สะท้อนว่า สภาพคล่องที่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และตลาดธนาคารพาณิชย์ อาจมีปริมาณที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ในขณะที่ แม้ว่าประเทศไทยอาจจะได้รับอานิสงส์จากเงินลงทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศที่ยังมีแนวโน้มไหลเข้าสุทธิมายังภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 อันเป็นผลจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มแข็งแกร่งกว่าโดยเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น แต่กระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนดังกล่าวที่มักจะผันผวนหรือเปลี่ยนทิศอย่างรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของนักลงทุนเป็นหลัก ทำให้คาดว่าอานิสงส์ดังกล่าวอาจถูกจำกัดไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่เศรษฐกิจไทยยังมีแรงเสียดทานจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ รวมถึงความไม่ชัดเจนของการลงทุนในบางสาขา

ความต้องการสินเชื่อที่น่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น การทยอยฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจไทย คาดว่าจะผลักดันให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนมีความต้องการสินเชื่อ ทั้งเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและเพื่อใช้ในการขยายกิจการ/การลงทุน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2553 หลังจากที่ยอดเงินให้สินเชื่อสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทยเริ่มจะฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 (ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนพฤศจิกายน) เทียบกับที่หดตัวลงเป็นส่วนใหญ่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 ทั้งนี้ ยอดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในแดนบวกได้ในปี 2553 ก็หมายความว่าสภาพคล่องในมือของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มจะถูกระบายออกไปหมุนเวียนอยู่ในมือของภาคธุรกิจเอกชนและภาคครัวเรือนมากขึ้น

การแข่งขันระหว่างเงินฝากกับทางเลือกการออมอื่นๆ ที่ยังมีแนวโน้มดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ของภาคธุรกิจเอกชนในปี 2553 อาจมีแนวโน้มจะลดความคึกคักลงจากปี 2552 เมื่อต้นทุนในตลาดการเงินปรับตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่การนำเสนอผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสาร/สินทรัพย์ต่างๆ ที่ให้ผลตอบแทนจูงใจ อาทิ ตราสารหนี้ต่างประเทศ หุ้น ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ และอสังหาริมทรัพย์ ก็ยังคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนรายย่อย ตราบใดที่ตลาดยังไม่เพิ่มการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ อันจะทำให้เงินดอลลาร์ฯปรับแข็งค่าขึ้นและราคาสินทรัพย์อย่างหุ้น ทองคำ และสินค้าโภคภัณฑ์ มีโอกาสปรับตัวลดลง

นอกจากนี้ ในปี 2553 รัฐบาลก็ยังมีแผนจะออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่มเติมอีกเพื่อระดมเงินไปใช้สำหรับโครงการลงทุนภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ส่งผลให้ในที่สุดแล้ว ผู้ออมอาจยังมีการโยกเงินฝากออกจากระบบธนาคารพาณิชย์ไปแสวงหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอย่างต่อเนื่อง อันจะนำมาสู่ปริมาณสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ที่ลดลง

การปรับตัวของตัวแปรต่างๆ ดังกล่าว คงจะนำมาสู่ปริมาณสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่ทยอยปรับตัวลดลงในปี 2553 อย่างไรก็ตาม ความรวดเร็วในการระบายสภาพคล่องออกไปจากธนาคารพาณิชย์ จะขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องและชัดเจนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยในกรณีที่เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและปัญหาที่เกี่ยวกับการลงทุนสามารถคลี่คลายลงได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว

การคาดการณ์ถึงสภาพคล่องที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต อาจจะผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (โดยน่าจะเริ่มจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวก่อน) และนำมาสู่การแข่งขันทางด้านราคาในผลิตภัณฑ์เงินฝาก ซึ่งในท้ายที่สุดอาจมีผลในการช่วยให้สภาพคล่องชะลอการปรับลงได้ ในทางตรงกันข้าม

หากโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจขาดความต่อเนื่อง สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยก็อาจยังทรงตัวหรือทยอยปรับลดลง เนื่องจากผู้ออมคงจะมีการโยกเงินฝากออกไปลงทุนในทางเลือกการออมอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนจูงใจอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่จังหวะเวลาของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์น่าจะถูกเลื่อนออกไป ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ปริมาณสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ก็มีแนวโน้มปรับลดลงในปี 2553 และอาจมีผลทำให้วัฏจักรอัตราดอกเบี้ยของระบบการเงินไทยยังมีแนวโน้มอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่จังหวะขาขึ้น ดังนั้น ภาคธุรกิจและครัวเรือนจึงควรที่จะเตรียมวางแผนรับมือกับต้นทุนทางการเงินที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต อันน่าจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจและการจัดสรรเงินออมสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามที่คาดหวัง สอดรับกับแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2553 ที่น่าจะสดใสกว่าในปี 2552 ที่ผ่านมา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us