Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2527
PSA คอลัมน์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
PSA
สุธี นพคุณ
พร สิทธิอำนวย
วนิดา สิทธิอำนวย
Banking




ก่อนจะพูดถึงการเติบโตของพีเอสเอ ผมควรจะพูดถึงตัวพีเอสเอเสียก่อน เพื่อให้คุณผู้อ่านได้มองเห็นภาพที่เด่นชัดมากยิ่งขึ้น

บางคนบอกว่า พีเอสเอ (PSA) คือ พอล สุธี และเอด้า (Pual-Suti-Ada)

พอล คือ พร สิทธิอำนวย สุธี นพคุณ และเอด้า คือ วนิดา สิทธิอำนวย (เอด้าเป็นชื่อเดิมของวนิดา ซึ่งเป็นคนมาเลเซีย ตอนหลังมาเปลี่ยนชื่อเป็นวนิดา)

แต่ที่แท้จริงแล้ว พีเอสเอ คือ Pual Sithi-Amnuay นั่นเอง

พร เป็นคนภูเก็ต พ่อเป็นนายเหมือง มีพี่น้องหลายคน คนที่มีชื่ออยู่ในวงการปัจจุบันคือ ปิติ สิทธิอำนวย รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นพี่ชายของพร

พรเป็นอัจฉริยะคนหนึ่งจบโรงเรียนมัธยมเมื่ออายุเพียง 14 ปี และจบปริญญาตรีทางด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยโตเกียว (มหาวิทยาลัยนี้เป็นแหล่งผลิตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมาทุกยุคทุกสมัย ยกเว้นนายทานากะเท่านั้น) เพียง 19 ปีเท่านั้นเอง ฉะนั้นพรเองก็ชำนาญทางภาษาญี่ปุ่นมากพอสมควร แต่ก็ไม่มีใครทราบเพราะพรเก็บงำความสามารถนี้ไว้อย่างมิดชิด

จากมหาวิทยาลัยโตเกียว พรหักเหไปยังอังกฤษและเข้าเรียนในสาขาที่ต่างกับวิชาที่จบตอนเรียนปริญญาตรีราวฟ้ากับดิน

ที่อังกฤษ พรเข้าไปสำนัก London School of Economics ในด้านเศรษฐศาสตร์และจบด้วยเกียรตินิยม

เพื่อนต่างชาติรุ่นเดียวกับพรก็มีคนสิงคโปร์ที่ชื่อนายฟิเลย์ (Pilay) ซึ่งเป็นประธานของสายการบินสิงคโปร์ (SIA) ในปัจจุบัน

LSE (London School of Economics) อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นแหล่งผลิตนักปฏิวัติได้แหล่งหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่มีนักปฏิวัติในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อที่จบจาก LSE มากเท่าใดนักก็ตาม แต่ LSE พอจะเรียกได้ว่าเป็นแหล่งหลอมให้บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เพราะคนที่จบจาก LSE มานั้นส่วนใหญ่แล้วความคิดความอ่านจะค่อนข้างแย้งกับระบบ แต่มีแรงดลใจที่จะเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างต่างๆ ให้ก็ได้

พรเองก็เคยพูดอยู่เสมอว่า "เมื่อผมเรียนที่ LSE ผมมีความฝันว่าผมจะเปลี่ยนโลกนี้ให้ดีขึ้น พอผมจบมาแล้วจากการเปลี่ยนโลกผมลดตัวเองลงมาเปลี่ยนแค่สังคมไทย แล้วค่อยลดลงมาเป็นเปลี่ยนบริษัทที่ผมทำให้ดีขึ้นเท่านั้น ก็คงจะเป็นสิ่งที่ทำได้เพียงแค่นี้"

นายธนาคารอีกคนหนึ่งที่จบมาจาก LSE คือ เชิดชู โสภณพนิช ทายาทคนเล็กสุดของชิน โสภณพนิช

ในระหว่างที่เรียนอยู่ LSE พรเป็นนักเรียนต่างชาติคนแรกในประวัติของ LSE ที่ได้รับเลือกเป็นนายกองค์การนักศึกษาของ LSE

หลังจากจบ LSE ในปี 2501 พรเข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ในปี 2502 ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายสถิติและวิจัย

ช่วงที่เขาเรียน LSE อยู่นั้นเขาได้มีโอกาสทำงานในฐานะเป็นบรรณาธิการของหนังสือฉบับหนึ่งในกรุงลอนดอนก่อน และความชอบในแขนงของสื่อมวลชนก็ติดตัวพรมาตลอด จนกระทั่งเมื่อกลับมาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ เขาก็ยังคงพยายามเก็บรักษาวิญญาณของนักหนังสือพิมพ ์โดยเป็นคอลัมนิสต์ให้หนังสือพิมพ์บางกอกเวิลด์ในยุคที่เบอริแกนเป็นบรรณาธิการตลอดจนเขียนเรื่องให้นิตยสารฟาร์อีสเทิร์น เอ็คคอนอมิครีวิว (Far Eastern Economic Rview) หรือไม่ก็ดิเอ็คคอนอมิสต์ (The Economist) แม้แต่นิตยสารไลฟ์ (Life) ก็เคยลงเรื่องราวที่พรเขียน

จาการที่ชอบเป็นนักเขียนและชอบทางด้านสื่อมวลชนทำให้พรรู้จักกับนักหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อทั้งไทยและเทศมากมาย เช่น Derek Devis แห่ง Far Eastern-Tony Escoda อดีตหัวหน้าสำนักข่าว UPI (United Press International)-Gil Santos อดีตหัวหน้าสำนักข่าว AP (Accociated Press) ผู้ซึ่งสองคนหลังนี้พรดึงมาบริหารหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ Business Times สมัยซึ่งผมเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทแอ๊ดวานซ์มีเดียอยู่

สำหรับนักหนังสือพิมพ์ในประเทศที่พรให้ความเคารพนับถือมากคนหนึ่งคือ ธรรมนูญ มหาเปาระยะ ซึ่งพรรักธรรมนูญมาก

พรเคยพูดเสมอว่าธรรมนูญเป็นนักหนังสือพิมพ์ตัวอย่างที่เมืองไทยขาด และธรรมนูญเองคือผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ The Nation ขึ้นมา และพรเองก็มีส่วนร่วมในการหาทุนรอนตอนนั้นด้วย นอกจากนั้นแล้ว พรก็ยังสนิทกับแอนตั้น เปอเรร่า (Anton Perera) นักข่าวกีฬามือฉมังที่เคยเป็นบรรณาธิการข่าวกีฬาของบางกอกโพสต์แล้วถูกพรดึงมาเป็นบรรณาธิการข่าวกีฬาของ Business Times

พรอยู่ธนาคารกรุงเทพได้ไม่นานก็ถูกส่งไปเรียนวิชาการธนาคารจากสถาบันธนาคารอังกฤษที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และจบในปี 2504

พ.ศ.2504 พรอายุเพิ่งจะ 26 ปีเท่านั้น ถ้าจะเป็นม้าก็เป็นม้าที่ฝีเท้าจัดและคึกคะนองมาก

พรเคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าเมื่อสมัยหนุ่มๆ พรก็เป็นนักท่องกลางคืนตัวฉกาจพอสมควร แต่พรมักจะพบปะกับบรรดานักหนังสือพิมพ์ต่างชาติย่านพัฒนพงษ์จนดึกจนดื่น

พรมีภรรยาคหนึ่งเป็นคนสิงคโปร์ เรียนจบทางกฎหมายที่ลอนดอน ชีวิตในกรุงเทพฯ คงจะไม่เป็นที่สบอารมณ์ ภรรยาของพรก็เลยย้ายกลับไปอยู่ลอนดอนกับลูก 2 คน ซึ่งในที่สุดภายหลังก็ได้แยกทางกันเดิน

ในช่วงที่พรเริ่มงานที่ธนาคารกรุงเทพนั้นก็เป็นช่วงที่บุญชู โรจนเสถียร วางแผนในการขยายงานธนาคารอย่างมโหฬาร และเมื่อดูตัวบุคคลที่บุญชูจะใช้ได้แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านต่างประเทศก็หนีไม่พ้นพร

บุญชูเป็นคนใจร้อน เวลาสั่งงานชิ้นหนึ่งก็จะเอาให้ได้ทันที พรเองก็เป็นคนทำงานเร็วและก้สามารถจะส่งงานให้ทันเสมอ และจากการที่พรพูดและเขียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาตัวเอง (พรพูดไทยพอได้อ่านเขียนไทยไม่ได้) พรก็เลยกลายเป็นเลขาส่วนตัวของบุญชูอีกตำแหน่งหนึ่งไปโดยปริยาย

การศึกษาที่พรได้จาก LSE มีส่วนช่วยให้พรมีคุณค่าในสายตาของบุญชูเป็นอย่างยิ่ง เพราะบุญชูเองก็เรียกได้ว่าเป็นนายธนาคารคนแรกในยุคนั้น ที่เห็นความสำคัญของบทบาทที่ธนาคารจะต้องมีต่อสังคมและพรเองก็ถนัดอยู่แล้วในเรื่องนี้ จากที่ตัวเองได้รับอิทธิพลจาก LSE มา และจากประสบการณ์ที่ตัวเองเป็นนักหนังสือพิมพ์ด้วย สุนทรพจน์ของบุญชูในยุคนั้นตลอดจนในยุคหลังๆ ก็เป็นการเขียนของพรทั้งสิ้น

แม้แต่สุนทรพจน์ภาษาไทย พรเองก็เป็นคนเขียน โดยเริ่มจากภาษาอังกฤษ แล้วบุญชูก็จะให้คนแปลเป็นภาษาไทยชั้นหนึ่งก่อน และบุญชูจะเป็นผู้ขัดเกลาแต่งเป็นคนสุดท้าย

และเมื่อธนาคารกรุงเทพตกลงใจจะเปิดสำนักงานตัวแทนในอเมริกาเป็นแห่งแรกที่นิวยอร์ก ตัวบุคคลที่จะไปเป็นผู้จัดการที่นั่นก็หนีไม่พ้นคนชื่อ พร สิทธิอำนวย

พรไปเป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพที่นิวยอร์กในปี 2508 จนถึงปี 2513 ในช่วง 6 ปีที่ประจำอยู่นิวยอร์กนั้น เป็นช่วงที่พรได้รับประโยชน์มากที่สุดในชีวิต และประโยชน์นั้นก็คงอยู่ต่อมาจนปัจจุบันนี้

ในช่วงนั้นพรได้เข้าเรียนปริญญาโททางบริหารธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเรียนจบในปี 2513 ความจริงก่อนหน้านั้นพรเองก็เคยได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์ที่ฮาร์วาร์ดในปี 2504 หลังจากที่จบจากสถาบันธนาคารอังกฤษที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดโดยไปเป็น Visiting Fellow

นอกจากปริญญา P.M.D. จาก Harvard Graduate School of Business Administration แล้วในช่วงที่อยู่นิวยอร์ก พรยังได้เข้า course ของ American Management Association หรือสมาคมการจัดการธุรกิจของอเมริกัน พรเรียนได้ประกาศนียบัตรมาถึง 16 ใบ

จากการที่เป็นตัวแทนของธนาคารกรุงเทพและเป็นตัวแทนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทยในอเมริกา พรได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับบรรดานายธนาคารต่างๆ ของอเมริกา และความสัมพันธ์สมัยที่พรอยู่วอลล์สตรีท ในช่วงนั้นก็ยังคงยั่งยืนและอยู่ยงมาจนกระทั่งบัดนี้ และในช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่พรเริ่มรู้จักกับคนในวงการราชการไทยด้วย เพราะพรเป็นตัวแทน BOI ของไทยในอเมริกา และมีหน้าที่ต้องติดต่อประสานงานกับ BOI ในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด และเลขานุการ BOI สมัยนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจาก ดร.อำนวย วีรวรรณ ดาวรุ่งดวงใหม่ของวงการราชการไทยในขณะนั้น

ในช่วงนั้นชื่อเสียงของพรเริ่มขจรขจายออกไปอย่างหอมหวน พรได้รับเชิญไปบรรยายตามมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้ง Princeton และ Harvard นอกจากนั้นแล้วตัวพรเองยังเป็นคนริเริ่มความคิดและภายหลังเสนอรายงานไปยังอีคาเฟ่ (Ecafe) เพื่อก่อตั้งธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank)

หรือจะพูดก็ได้ว่า 6 ปี ในนิวยอร์กเป็นการปูพื้นฐานให้พรมาเป็นพรในปัจจุบัน จากความสัมพันธ์ที่พรมีกับนายธนาคารในวอลล์สตรีททำให้พรสามารถดึงเอาธนาคาร First National Chicago Bank มาร่วมทุนกับพรทำสยามเครดิตและ credit ของพรทำให้ Citi Bank ยก CCC หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เครดิตการพาณิชย์ให้พรแบบฟรีๆ แถมยังจัดเงินกู้ราคาถูกให้อีกก้อนด้วยในภายหลัง

พรกลับมาประเทศไทยประมาณปี 2513 และยังทำงานอยู่กับธนาคารกรุงเทพในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายวิจัยและวางแผน ซึ่งตำแหน่งนี้ที่แท้จริงแล้วเป็นตำแหน่งคล้ายกับเลขาธิการสภาพัฒนาฯ ถ้านายกฯ จะใช้เลขาธิการและฟังการเสนอเลขาธิการสภาฯ แล้ว ตำแหน่งนี้ก็จะมีความสำคัญมาก เผอิญช่วงนี้บุญชูฟังการเสนอของพรมาก

ในช่วงที่พรกลับมาธนาคารกรุงเทพฟิตมาก เพราะพรเพิ่งได้ปริญญาจากฮาร์วาร์ดและเรียนจบกระบวนการบริหารมาจากสมาคมการจัดการธุรกิจของอเมริกา พรก็เลยจัดโปรแกรมฝึกอบรมการบริหาร โดยใช้เป้าหมายเป็นหลัก (Management by Objective) ขึ้นมา แล้วดึงเอานักบริหารทุกคนมาเรียน แม้แต่บุญชูหรือชาตรีก็ถูกพรสอนมาแล้วทั้งนั้น

และก็เป็นปี 2513 และ 2514 เป็นปีที่พรกำลังจะเริ่มกระโดดออกมาโลดแล่นในวงการธุรกิจด้วยตนเอง

สาเหตุของการออกมาจากธนาคารกรุงเทพของพรนั้น ผมเคยได้ถามพรหลายครั้งพอสรุปได้ว่า จากอุปนิสัยของพรเองซึ่งเป็นคนอยู่นิ่งไม่เป็น และเป็นคนใจร้อนอยากทำงานต่างๆ ให้มีผลงาน ในสมัยอยู่นิวยอร์กพรไม่ค่อยจะว่างเพราะมี Activity อยู่มาก แต่พอกลับมาเมืองไทยอยู่แบงก์อย่างเก่าก็เกิดปัญหาของความล่าช้าในการทำงาน

พรเองก็คงจะดูแล้วว่าตัวเองเก่งแค่ไหนก็ตามก็คงจะไปได้ไม่ไกลนัก เพราะพรคิดเสมอและเคยพูดกับปิติพี่ชายครั้งหนึ่งว่าถ้าอยู่ธนาคารแล้วไม่มีความสุขก็ออกมาดิ้นรนเองดีกว่า

อีกประการหนึ่ง เราต้องไม่ลืมว่าพรเพิ่งจะได้รับการปลูกฝังเรื่องหลักการบริหารโดยใช้ MBO และพรเองก็คิดว่าตัวเองมี connection ดีพอสมควรแล้วพอที่จะไปได้ ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นดลใจให้พรตัดสินใจกระโดดออกมาจับธุรกิจที่ทำด้วยตนเอง

แต่สำหรับผู้เขียนแล้วคิดว่าเหตุผลใหญ่ที่สุดที่พรตัดสินใจออกมาสู้ด้วยตัวเองนั้น นอกเหนือจากที่อธิบายไปข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุที่พรต้องการพิสูจน์ว่าในที่สุดแล้วถึงแม้ว่าพรจะไม่ได้มีนามสกุลใหญ่ๆ ที่ร่ำรวยมาหนุนแล้ว แต่พรเองก็สามารถประสบความสำเร็จได้ และอันนี้ก็เป็นแรงดลใจที่พรมีความเชื่อมั่นในการดึงเอาคนหนุ่มที่ไม่มีชื่อไม่มีเสียง แต่มีความตั้งใจและมีพื้นฐานการศึกษา ไหวพริบ และปฏิภาณ เข้ามาร่วมทีมงาน พร้อมทั้งการจะให้หุ้นเพื่อเป็นเหตุจูงใจให้ช่วยกันผลักดันให้ถึงเป้า

บางคนบอกว่าพรชอบนักเรียนนอกมากกว่าซึ่งก็อาจจะจริงเพราะพรเป็นคนพูดเร็วมากและคิดเร็ว ฉะนั้นในเมื่อพรพูดภาษาอังกฤษเร็วมากก็คงจะมีแต่นักเรียนนอกที่สามารถโต้ตอบกับพรได้เร็วเช่นกัน เลยเป็นสาเหตุให้พรชอบนักเรียนนอก

พรเป็นคนร่าเริงและชอบพูดตลก เป็นคนที่เข้ากับคนได้ง่าย พรไม่สูบบุหรี่หรือเล่นการพนัน กีฬาที่เขาโปรดปรานมากที่สุดคือการออกทะเลไปตกปลา

อาจจะเรียกได้ว่าพรเป็นนักธุรกิจที่มีวัฒนธรรมสูงคนหนึ่ง เขามีความรอบรู้พอสมควรในเรื่องประวัติศาสตร์และการเมือง ชอบเพลงคลาสสิก และเป็นคนช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เขาเป็นคนไม่พิถีพิถันในเรื่องการแต่งตัว นอกจากนาฬิกาที่เขาใช้เป็นของสวิส ฝังเพชรและเรือนทองอีกเรือนแล้ว พรไม่ใช่คนประเภทที่ต้องมียี่ห้อ Dunhill หรือ Dior หรือ Givanchy ฯลฯ ติดตัวเลย

เขาเป็นมนุษย์เจ้าปัญหาและล้านความคิด ความคิดของพรจะมีมากและเกิดเร็วยิ่งกว่าการสืบพันธุ์ของแบคทีเรียเสียอีก เป็นคนมองช่องทางใหม่ๆ ได้เก่ง แต่มักจะคิดจนเกินความเป็นจริงหรือที่เรียกว่า Overkilled

เขาเป็นนักอ่านที่อ่านหนังสือมากพอสมควรและก็เป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือได้เร้าใจ

สุนทรพจน์ที่พรเขียนให้บุญชูนั้นจะต้องสอดแทรกด้วยปรัชญาทางการเมือง ซึ่งจะหาได้จากหนังสือ Political Philosophy แต่งโดย M.Judd Harmon พรสามารถจะอ้างอิงตั้งแต่ Aristotle ไปจนถึงเจ้าชายสิทธัตถะ

พรเป็นคนมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมากและมักจะคิดว่าตัวรู้เรื่องทุกอย่างไปหมด จนคนที่ไม่รู้จักพรดีจะหมั่นไส้

ในสายตาของผมในปีที่ผมรู้จักพร เขาเป็นคนที่เป็นทั้ง Practical และก็เพ้อฝันมากคนหนึ่ง ในช่วงนั้นเขามักจะพูดอยู่เสมอว่า "I want to make some money because without it you can't do anything worth while, then I'll use money and do something for the society" และเมื่อผมถามพรว่าเขาต้องการมีเงินสักเท่าไรถึงจะหยุดแล้วทำงานให้สังคม พรบอกว่า "around 50 million U.S."

นอกจากนั้นแล้วพรยังคิดว่าเขาได้ทำบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาให้กับสังคมโดยการสร้างคนรุ่นหนุ่มขึ้นมาให้เป็นนักบริหารมืออาชีพ

ความคิดเห็นทางการเมืองของพรนั้นเป็นความคิดเห็นของการที่ประเทศชาติต้องมีเสถียรภาพ พรมีความเห็นว่าประชาธิปไตยเต็มที่จะมีปัญหากับสังคม เขาเชื่อว่าประเทศไทยจะไปได้ดีถ้ามีผู้นำที่เด็ดขาด ถึงแม้เขาเคยช่วยบุญชูในพรรคกิจสังคม แต่พรไม่คิดว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ จะเป็นผู้นำที่ดีได้ คนที่เขาคิดว่าพอจะเป็นผู้นำประเทศได้เข้มแข็งพอสมควรในสายตาของพรคือ สมัคร สุนทรเวช พรถึงกับพูดว่า "I wouldn't mind backing him"

ในช่วงหนึ่งที่มีการต่อต้านการขุดแร่ดีบุกของเท็มโก้ บริษัทข้ามชาติในเครือเชลล์ พรไม่เห็นด้วยกับการต่อต้าน เขาให้เหตุผลเปรียบเทียบว่าถ้าบ้านหลังหนึ่งจน แต่มีเครื่องลายครามอยู่มาก น่าจะเอาเครื่องลายครามนี้ (แร่) ออกไปขายเพื่อเอาเงินมาจับจ่ายใช้สอยแทนที่จะนั่งมองไปมองมาทุกวัน

และนี่เป็นเบื้องหลังของการที่ ดร.ธวัช มกรพงศ์ ถูกย้ายจากพังงามาเข้าประจำ
กระทรวงมหาดไทย เพราะพรคิดว่าการที่ต่อต้านเท็มโก้จะทำให้ต่างชาติไม่กล้ามาลงทุนในประเทศไทยซึ่งบุญชูได้รับความคิดทางนี้จึงบอกไปทาง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในชุด 18 เสียงของกิจสังคมเมื่อปี 2518 และบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ก็ย้าย ดร.ธวัช

เขาเป็นคนมีความคิดทางการเมืองใหม่ๆ และแปลกแหวกแนว

ความคิดในเรื่องเงินผันที่แท้จริงแล้วเริ่มมาจากพรก่อน แล้วจึงถ่ายทอดไปยังบุญชู

ครั้งหนึ่งพรเคยคิดว่าการแก้ปัญหาชาวนาให้มีรายได้ดีขึ้นคือการที่รัฐบาลน่าจะผูกขาดการจำหน่ายปุ๋ย แล้วให้ปุ๋ยกับชาวนาฟรี เพื่อให้ต้นทุนการผลิตชาวนาต่ำแล้วรัฐบาลก็พยุงราคาข้าวให้ขายได้ราคาสูง อำนาจซื้อและการจับจ่ายใช้สอยของชาวนาซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศก็จะมากขึ้น และรัฐบาลก็จะได้เงินคืนมากขึ้นในรูปของภาษีอากร รวมทั้งเศรษฐกิจก็จะหมุนเวียนมากขึ้นกว่าเดิม

พรเคยพูดว่าในส่วนลึกแล้วเขาเป็นนักสังคมนิยม (Socialist) แต่เขาเป็น Practical Socialist มากกว่า

พรเป็นคนไว้ใจคนมากเมื่อร่วมงานกับพรแล้ว เขาจะปล่อยทุกอย่างให้ตัดสินใจกันพอสมควรแต่ถ้ากิจการไหนเป็นกิจการที่พรให้ความสนใจอยู่แล้ว คนบริหารกิจการนั้นจะค่อนข้างโชคร้ายอยู่บ้างเพราะพรจะเข้ามายุ่งเกี่ยวออกความเห็นตลอดเวลา

แต่ก็มีอยู่กิจการเดียวที่พรออกความเห็นได้แต่จะไม่กล้ายุ่งเกี่ยวเลย นั่นคือ บริษัทสยามเครดิต ซึ่ง วนิดา สิทธิอำนวย เป็นผู้บริหารมาตั้งแต่เริ่มแรก

วนิดา สิทธิอำนวย ชื่อเดิมชื่อ เอด้า เป็นคนปีนัง อดีตเคยเป็นบุตรสะใภ้ของถาวร พรประภา มีลูกกับสามีเก่า 2 คน เป็นชายคนหนึ่ง และหญิงคนหนึ่ง

วนิดาเกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2482 ราศีตุลย์ หรือ Scoprio ในราศีสากล ปัจจุบันอายุ 44 จบมัธยมที่รัฐอิโปห์ มาเลเซีย และไปต่อที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ออสเตรเลีย แต่ไม่จบ

เมื่อสมัยเข้าไปอยู่ในสกุลของพรประภานั้น วนิดาเป็นผู้ดูแลแผนกต่างประเทศทั้งหมดของเครือบริษัทสยามกลการ ตั้งแต่ปี 2508-2512 นอกจากนั้นแล้วเธอก็ยังเป็นเลขาส่วนตัวให้กับ ถาวร พรประภา อีกด้วย

วนิดาเป็นคนทำงานเก่งมาก และเป็นคนที่ทำธุรกิจด้วยความเฉียบขาด ความเฉียบขาดของเธอได้รวมไปถึงชีวิตส่วนตัวด้วย เมื่อเธอเห็นสามีคนแรกไม่มีความรับผิดชอบพอ เธอก็ขอหย่าขาดทันที ถึงแม้จะหย่าแล้ว แต่ถาวร พรประภา ก็ยังขอร้องให้เธอช่วยงานสยามกลการต่อไป

จนกระทั่งเธอเจอพร ซึ่งทั้งสองเจอกันครั้งแรกในงานเลี้ยงที่นิวยอร์ก ทั้งวนิดาและพรก็ตัดสินใจจะมาร่วมชีวิตด้วยกันในภายหลัง

ในขณะนั้นสยามเครดิตยังเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือของสยามกลการ พรและวนิดาเห็นว่าธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์จะต้องเจริญเติบโตแน่ๆ ก็เลยขอซื้อมาจากถาวร พรประภา

สยามเครดิตก็มาเริ่มใหม่ในปี 2510 ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทบนตึกอื้อจือเหลียง ซึ่งภายหลังพรได้ดึงเอาธนาคาร First National Chicago เข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วยเพื่อให้ได้รับแหล่งเงินจากต่างประเทศ ธุรกิจเช่าซื้อของสยามเครดิตเริ่มโผผินบินขึ้น

ถ้าจะเรียกว่าพรเป็นอาจารย์สอนหนังสือ วนิดาก็คงเป็นผู้จัดการโรงเรียน เพราะระหว่างพรกับวนิดานั้นมีคุณสมบัติที่ขัดกันมาก แต่เมื่อทำงานร่วมกันแล้วจะสอดคล้องกันจนไปได้ดี

ในบริษัทนั้นพนักงานจะกล้าทักทายพูดเล่นกับพร เพราะพรเป็นคนขี้เล่นคุยสนุก ในขณะที่พนักงานจะกลัววนิดามาก

พรจะเป็นคนตัดสินใจเร็วและง่าย แต่วนิดาจะเป็นคนไม่ยอมใครง่ายๆ และจะเข้มงวด

พรเองอาจจะให้อภัยพนักงานถ้าทำผิด แต่วนิดาจะไม่ปล่อยปละละเว้นแต่จะลงโทษไปทันที แม้แต่ในการเจรจาธุรกิจ พรจะยอม give ตลอด ในขณะที่วนิดาจะ take ตลอด ฉะนั้นเมื่อทั้งสองทำธุรกิจร่วมกันแล้วจึงเป็นคู่สร้างคู่สมที่ทำให้ธุรกิจเดินไปได้ด้วยดี

สยามเครดิตเติบโตขึ้นมาเพราะการควบคุมการทำงานอย่างเข้มงวดของวนิดา สิทธิอำนวย และสยามเครดิตก็เป็นเหมือนลูกรักของวนิดาที่เมื่อพีเอสเอเริ่มขยายใหญ่ขึ้น พรจะไม่กล้าเข้าไปยุ่งหรือเอาบริษัทอื่นเข้าไปเกี่ยวพันด้วยเลย อีกประการหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าในช่วงนั้นสยามเครดิตยังมีหุ้นส่วนเป็นธนาคารแห่งชิคาโก้ด้วยก็ได้

แม้แต่เมื่อขยายพีเอสเอแล้ว วนิดาเองก็แทบจะไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวในบริษัทอื่นๆ ของพีเอสเอ เพราะเธอเป็นห่วงอยู่แต่สยามเครดิตเท่านั้น

พรจึงต้องพึ่ง สุธี นพคุณ ในแง่การทำงาน

สุธี นพคุณ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2481 ปัจจุบันอายุ 45 ปี สุธีเป็นนักเรียนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รุ่นเดียวกับ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ

เมื่อสมัยหนุ่มๆ สุธีเป็น Activist คนหนึ่งซึ่งถูกรัฐบาลเพ่งเล็งอย่างหนักถึงกับต้องหลบไปอยู่สวีเดนพักหนึ่งแล้วค่อยเข้าไปอเมริกา

สุธี จบปริญญาตรีทางด้านเศรษฐศาสตร์รัฐศาสตร์ที่วิทยาลัยเซนต์คลาวด์สเตท (St. Cloud State College) ในรัฐมิเนโซต้า ในปี 2505 หลังจากนั้นก็ไปได้ปริญญาโททางศิลปศาสตร์จากสถาบันการศึกษาต่างประเทศแห่งมอนตเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี 2509

ในระหว่างที่อยู่สหรัฐฯ วุธีได้มีโอกาสเข้าไปทำงานทางด้าน MIS (Management Information System) กับหน่วยงานของอเมริกาหลายหน่วยงาน เช่น U.S. Bureau of Indian Affairs-Urban Institute, U.S. Department of Housing and Urban Housing

ในระหว่างที่อยู่สหรัฐฯ สุธีมีโอกาสได้พบบุญชู โรจนเสถียร ก็เลยถูกชวนมาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะที่ตัวเองมีประสบการณ์อยู่บ้างในด้าน MIS ก็เลยถูกจับเข้าไปอยู่แผนกคอมพิวเตอร์ของธนาคาร ซึ่งภายหลังมีการขัดแย้งกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา สุธีก็เลยถูกย้ายมาเป็นผู้ช่วยพรในด้านการวางแผน

และจากการทำงานร่วมกับพรทำให้พรเห็นว่าสุธีเป็นคนหนึ่งที่ถ้าได้รับโอกาสที่ดีก็คงจะไปได้ไกล

สุธีออกจากธนาคารกรุงเทพหลังจากเข้าไปอยู่ได้ไม่นาน ก็ไปร่วมงานกับเชาว์ เชาว์ขวัญยืน หรือ ซี เค เชาว์ นักธุรกิจชาวไต้หวันซึ่งมาได้ดิบได้ดีด้วยการจับเสือมือเปล่าสมัยจอมพลถนอมและประภาส โดยเป็นผู้ประสานงานในโครงการขุดคอคอดกระ ซึ่งเชาว์ เชาว์ขวัญยืน กรรมการผู้จัดการโรงกลั่นน้ำมันไทย มุ่งมั่นจะทำโครงการนี้ให้ได้ แต่ก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดพรก็ดึงสุธีเข้ามาร่วมด้วยประมาณปี 2515

สุธี นพคุณ ในปี 2519 นั้นต่างกับสุธี นพคุณ ในขณะนี้ (มกราคม 2527) สุธีเป็นมือขวาของพรร นอกจากนั้น เขากำลังจะเป็นคนหนุ่มดาวจรัสแสงคนใหม่ที่พื้นฐานไม่มีอะไรเลย แต่ได้รับโอกาสและช่องทางให้เจริญเติบโตขึ้นมาให้เป็นที่อิจฉาของบรรดาคนหนุ่มรุ่นเดียวกันกับเขา

สุธี เป็นคนที่ชอบแสดงความขรึมและจะรู้จักคุยเล่นกับคนที่ตัวเองเลือกจะคุยเล่น ซึ่งไม่เหมือนพรที่จะเป็นกันเองกับคนทุกคน สุธีชอบสร้างพระคุณให้กับคนที่ตัวเองจะเลี้ยงเอาไว้เป็นพวก ซึ่งก็เป็นของธรรมดาในสังคม

เขาเป็นคนที่มีตรรกวิทยาในด้านขั้นตอนทางความคิดมากพอสมควร จากการที่ได้เคยมีประสบการณ์ในด้านการจัดทำคอมพิวเตอร์

สุธีเป็นคนที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า one sided mind เพราะถ้าลองเขาเชื่อใครแล้วสุธีก็เชื่อไปตลอด ต่อให้ฟ้าผ่า แผ่นดินแยกไปต่อหน้า สุธีก็จะเชื่อคนนั้น เช่นกันถ้าเขามีอคติกับใครแล้วรับประกันได้ว่าคนนั้นคงจะไม่ได้รับการมองอย่างเข้าใจจากสุธีตราบชั่วฟ้าดินสลาย

แต่สุธีมีข้อดีอยู่ตรงที่ว่าถ้าเขามมอบอำนาจให้ใครทำงานแล้ว เขาจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือก้าวก่ายเลย ซึ่งไม่เหหมือนพร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us