Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2527
จากบุญมา วงศ์สวรรค์ สู่...สมหมาย ฮุนตระกูล จนถึง จรัส ชูโต             
 

   
related stories

จากจินตนาการสู่ความเป็นจริง
และแล้วจะถึงคราวใคร

   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
สมหมาย ฮุนตระกูล
Cement
จรัส ชูโต
บุญมา วงศ์สวรรค์




สิ้นสุดธันวาคม 2526 เครือซิเมนต์ไทยมีสินทรัพย์รวม 15,590 ล้านบาท (ยังไม่รวมบริษัทยางสยาม จำกัด ที่ซื้อจากไฟร์สโตน บริษัท ไออีซี จำกัด และบริษัท แพน ซัพพลาย จำกัด) และมียอดขาย 19,626 ล้านบาท

"กำไรปี 2527 ของปูนใหญ่คงจะประมาณพันกว่าล้านบาทได้" นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บอกกับ "ผู้จัดการ"

ถ้านับกำไรเป็นอัตราส่วนต่อทุนจดทะเบียนทั้งหมดแล้วก็จะตกอยู่ราว 40% ของทุน 2,373 ล้านบาทหรือประมาณ 8% ของสินทรัพย์รวม

นี่ถ้าบริษัทนี้อยู่ในสหรัฐฯ ก็คงจะเป็นกรณีศึกษากันเป็นอย่างแน่แท้!

และเบื้องหลังของตัวเลขเมื่อสิ้นสุดธันวาคม 2526 นี้คือ การวางแผนอย่างชาญฉลาดของคณะกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ในการตั้งผู้จัดการใหญ่

จุดเปลี่ยนแปลงของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยเห็นจะเป็นช่วงปี 2515 ที่พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ ได้เข้ามาเป็นประธานกรรมการบริษัท และได้บุญมา วงศ์สวรรค์ เข้ามาเป็นกรรมการด้วย

บุญมา วงศ์สวรรค์ ได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดการใหญ่ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยในปี 2517 ซึ่งพอจะเรียกได้ว่า เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของระบบเศรษฐกิจการเมืองของชาติ

บุญมาอยู่ปูนซิเมนต์ไทยในช่วงปี พ.ศ.2517-2519 ช่วง 3 ปีนี้เป็นปีที่บุญมาได้พยายามประคองปูนซิเมนต์ไทยให้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ตั้งแต่กรณีพิพาทแรงงาน ไปจนถึงการเริ่มวางระบบและหลักเกณฑ์ในการทำงานเพื่อเป็นพื้นฐานขั้นแรกของการก้าวขยายต่อไปในปีข้างหน้าของปูนซิเมนต์ไทย

ในยุคปี พ.ศ.2517-2519 สินค้าปูนกลายเป็นสินค้าการเมืองไปโดยปริยาย เพราะจากแรงกดดันของกลุ่มพลังต่างๆ ประกอบกับกระแสต่อต้านการค้าแบบทุนนิยมและเสรีนิยม ทำให้รัฐบาลในช่วงนั้นต้องโอนอ่อนไปตามกระแสแห่งการเรียกร้องและเป็นผลทำให้ปูนซีเมนต์ต้องกลายเป็นสินค้าที่ถูกควบคุม

ในยุคนั้นสมัยนั้นคำว่ากำไรดูเหมือนจะเป็นวลีที่สกปรกและน่ารังเกียจ แม้แต่สื่อมวลชนเองจะเป็นหนังสือพิมพ์ทั้งยักษ์ใหญ่และยักษ์เล็ก ต่างไม่เข้าใจถึงคำว่ากำไรที่เป็นพื้นฐานของการค้า เพื่อการขยายงานและปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้น และผลงานของการควบคุมราคา ซึ่งถึงแม้จะถูกยกเลิกในปี พ.ศ.2519 ก็ตาม ทำให้ประเทศไทยต้องสั่งปูนจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 ถึง 2523 จนกระทั่งการขยายโรงงานที่ท่าหลวงและทุ่งสงเสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ.2523 จึงทำให้สภาวการณ์ปูนดีขึ้น

บุญมา วงศ์สวรรค์ เข้ามาบริหารปูนซิเมนต์ไทยในจังหวะที่ปูนซิเมนต์ไทยกำลังจะถูกคุมกำเนิดด้วยการควบคุมราคา เลยทำให้บริษัทต้องหันไปสู่ทิศทางใหม่โดยผลิตสินค้าประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้น และช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ปูนซิเมนต์ไทยเริ่มวางรากฐานของการขยายงานไปด้านอื่นๆ ในปีข้างหน้า

บุญมา วงศ์สวรรค์ อาจจะนับได้ว่าเป็นคนค่อนข้างจะอยู่วงนอกแล้วได้เข้ามาบริหารปูนซิเมนต์ไทย โดยเข้ามาเป็นกรรมการก่อนในปี พ.ศ.2515 การที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์และการคลัง คงจะทำให้คณะกรรมการบริษัทคิดว่าจะเป็นผู้ที่สามารถวางรากฐาน และหลักการของบริษัทในระยะเริ่มแรกสืบเนื่องต่อจากฝรั่งได้ อีกประการหนึ่งก็ต้องยอมรับกันว่าในช่วงนั้นปูนซิเมนต์ไทยยังขาดคนที่สามารถจะมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ได้จริงๆ ที่มีประสบการณ์และคอนเนกชั่นขนาดบุญมา วงศ์สวรรค์

ในช่วงปีที่บุญมาเป็นผู้จัดการใหญ่ขณะนั้นจรัส ชูโต เองก็ยังเพิ่งจะทำงานอยู่ที่บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง ในขณะที่อายุส อิศรเสนาฯ ยังอยู่ค้าสากลซิเมนต์ไทย (สมัยนั้นเรียกว่าค้าวัตถุก่อสร้าง) ในขณะที่อายุส อิศรเสนาฯ ก็เพิ่งจะเริ่มเข้าไปในบริษัทเหล็กสยามและอมเรศ ศิลาอ่อน ก็เพิ่งจะเข้าไปจับสยามคราฟท์ที่กำลังร่อแร่

บุญมาจึงเรียกได้ว่าเป็นผู้ซึ่งเข้ามาปูพื้นฐานเพื่อรอให้คนของปูนซิเมนต์ไทยพร้อมมากขึ้นที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน

ถ้าจะให้บุญมา วงศ์สวรรค์ เป็นผู้จัดการองค์กรและวางหลักเกณฑ์แล้ว ก็ต้องให้สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นผู้บุกเบิกทำการค้าขายให้กับปูนซิเมนต์ไทยอย่างเต็มที่ สมหมาย ฮุนตระกูล เข้ามาบริหารปูนซิเมนต์ไทยในปลายปี พ.ศ.2519 จนถึง 2523 จากการที่เป็นญาติสนิทกับพระยาศรีวิศาลวาจา อดีตองคมนตรี และการที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้น และจากประสบการณ์ในการทำงานทั้งธนาคารชาติและอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ทำให้สมหมาย ฮุนตระกูล สามารถได้รับความเห็นชอบจากบอร์ดของปูนซิเมนต์ไทยให้เข้ามานำปูนซิเมนต์ไทยเดินต่อไปในโลกอุตสาหกรรม

ยุคของสมหมาย ฮุนตระกูล เรียกได้ว่าเป็นยุคแตกหน่อของปูนซิเมนต์ไทยจริงๆ นอกเหนือจากการขยับขยายไปในอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ เช่น สยามคูโบต้าดีเซล หรือแยกนวโลหะไทยออกจากเหล็กสยาม หรือเปลี่ยนค้าวัตถุก่อสร้างมาเป็นค้าสากลซิเมนต์ไทย ยุคของสมหมายคือยุคของการบุกเบิกตลาดทั้งส่งเสริมการขาย คงจะจำกันได้ว่ายุคนั้นเป็นยุคที่ค้าวัตถุก่อสร้างบุกตลาดอย่างหนัก มีทั้งโชว์รูมในสยามเซ็นเตอร์ รวมทั้งการขยายโชว์รูมไปทั่วมุมเมือง และยุคนั้นที่อายุส อิศรเสนาฯ ก็แสดงฝีไม้ลายมือในการตลาดอย่างเต็มที่

ในช่วงเวลา 4 ปีที่สมหมาย ฮุนตระกูล กุมบังเหียนอยู่นั้น ยอดขายของกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยขึ้นจาก 5,314 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2519 ปีสุดท้ายของบุญมา วงศ์สวรรค์ มาเป็น 15,201 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี พ.ศ.2523 หรือเพิ่มขึ้น 300%

และแล้วก็มาถึงยุคทองของจรัส ชูโต ลูกหม้อของปูนซิเมนต์ไทยที่ได้ขึ้นมาเป็นผู้จัดการใหญ่คนแรกของปูนซิเมนต์ไทย เมื่อสมหมาย ฮุนตระกูล ต้องจากปูนซิเมนต์ไทยไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

จรัส ชูโต เข้ามาบริหารปูนซิเมนต์ไทยในช่วงเวลาที่ค่อนข้างจะลำบาก เพราะในปี พ.ศ.2523 ภาวการณ์ทางเศรษฐกิจอยู่ในระหว่างตกต่ำอย่างมาก อัตราดอกเบี้ยขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ อุตสาหกรรมการก่อสร้างอยู่ในภาวะใกล้ล้มละลาย ภาวะเงินตึงอย่างหนัก การขยายตัวของเศรษฐกิจแทบจะไม่มี จะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ. 2524 ยอดขายของเครือปูนซิเมนต์ไทยที่เพิ่มขึ้นจากปี 2523 เพียง 11% ในขณะที่ยอดขายปี พ.ศ.2524 เพิ่มขึ้นกว่าปี พ.ศ.2523 ถึง 35% ทีเดียว แต่จรัสก็สามารถจะพาปูนซิเมนต์ไทยผ่านพ้นมาได้จนสิ้นปี พ.ศ.2526 นี้ที่คาดว่าคงจะกำไรร่วมพันล้านบาท

ถ้าจะนับยุคของสมหมายเป็นยุคการตลาดแล้วก็ต้องถือว่ายุคของจรัสคือยุคของการพัฒนาคน

จรัส ชูโต จบวิศวกรรมจากจุฬาฯ ก่อนเข้าร่วมงานกับปูนซิเมนต์ไทยเคยเป็นผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของเอสโซ่และได้ร่วมกับปูนซิเมนต์ไทยในปี พ.ศ.2509 จรัส ชูโต ถูกอายุส อิศรเสนาฯ ซึ่งเป็นผู้จัดการบริษัทค้าวัตถุก่อสร้างชวนเข้ามาทำงาน

จากการที่เคยผ่านงานด้านปฏิบัติการจากบริษัทข้ามชาติเช่นเอสโซ่มาทำให้จรัสค่อนข้างจะเน้นในเรื่องการจัดการธุรกิจ ดร.ทองธัช หงส์ลดารมภ์ แห่งการไฟฟ้านครหลวง เล่าให้ฟังว่า "คุณจรัสสมัยโน้นยังเคยสอนหนังสือผมเลย สอนด้าน Discounted Cash Flow ซึ่งสมัยนั้นถือว่าเป็นวิชาใหม่ที่แยกแยะมาว่า Project ทุกวันนี้จะต้องมา Revise Cash Flow กันใหม่ แกเป็นคนสอนเก่งมากโดยเฉพาะในด้าน Management Science"

จรัส ชูโต ได้มีโอกาสแสดงฝีมือทางด้าน Management Science ในตอนที่เขาได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทและวัตถุก่อสร้าง ซึ่งในปี 2519 ที่เขาได้เข้ารับตำแหน่ง บริษัทได้ขาดทุนติดต่อกันมาหลายปี จรัสแก้ปัญหาด้วยการตัดสินค้าที่ไม่มีอนาคตออกส่งเสริมสินค้าที่ขายดีหรือมีอนาคตไกล ลดคนงาน โดยไม่รับคนเพิ่มมาเป็นเวลา 3 ปี เปลี่ยนแปลงการผลิตให้ทันสมัยโดยใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนพัฒนาพนักงาน

ซึ่งผลงานที่ได้ทำสามารถทำให้บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้างสามารถจะมีกำไรในปีถัดมาทันที

จรัส ชูโต เชื่อว่า "บริษัทต้องการที่จะเติบใหญ่ด้วยคนของเราเองมากกว่า ที่จะนำเอาบุคคลภายนอกมาช่วยเหลือ ยกเว้นเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น"

ยุคของจรัส ชูโต จึงเป็นยุคของการปรับปรุงคุณภาพของคน ซึ่งแม้กระทั่ง "โครงการพัฒนาพนักงานบริหารระดับสูง" ซึ่งปูนซิเมนต์ไทยได้ติดต่อมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เบิร์คเลย์เป็นผู้จัดหลักสูตรด้านการจัดระดับสูงให้ และต่อมามหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้เชิญศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่นๆ เช่น ฮาร์วาร์ด, สแตนฟอร์ด และเพนซิลเวเนียสเตท ร่วมเป็นผู้บรรยายด้วย

โครงการดังกล่าวจัดขึ้นที่เชียงใหม่ติดต่อกันมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว โดยเน้นหนักเรื่องการตลาด การผลิต การเงิน พฤติกรรมมนุษย์และเทคนิคการตัดสินใจ ใช้เวลาในการฝึกอบรมทั้งก่อนและขณะเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นประมาณครึ่งปี

และผลของการประเมินโครงการนี้พบว่าประมาณร้อยละ 30-40 ของพนักงานบริหารระดับสูงเหล่านี้ เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้จิตวิทยาในการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้น

พอจะพูดได้ว่ายุคของจรัส ชูโต นี้ เป็นยุคที่ปูนซิเมนต์ไทยมี depth ของ executive มาก ทั้งนี้เพราะในคำพูดของจรัส ชูโต เองที่ว่า "เราจะขยายงานออกไปสู่ทิศทางใหม่ นอกเหนือไปจากธุรกิจอุตสาหกรรมดั้งเดิมซึ่งเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง...และผลของวงการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องตระเตรียม "คน" ที่จะไปบริหารกิจการนั้นๆ ไว้ให้พร้อมอยู่เสมอด้วย ซึ่งหมายความว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงสุดหรือตำแหน่งสำคัญรองลงมาของบริษัทหรือกิจการนั้นๆ ควรเป็นเจ้าหน้าที่จากเครือซิเมนต์ไทย"

พอจะพูดได้ว่าตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ที่จรัส ชูโต ที่เป็นอยู่นี้ นอกจากจะเป็นตำแหน่งที่มาจากคนของปูนซิเมนต์ไทยเองแล้ว ยังเป็นบทพิสูจน์ให้คณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นของบริษัทได้อย่างต่อเนื่องกันโดยไม่มีการขาดตอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us