|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เศรษฐกิจไทยปีวัวอมโรค ทรุดตัวเป็นประวัติการ ติดลบ 3% ขณะที จีดีพี อุตสาหกรรม รูดไปติดลบ 5.8% ขณะที่ เอสเอ็มอี อ่วม รายได้สุทธิลดลง 1 แสนล้านบาท ลอยแพแรงงานกว่า 1 แสนคน ด้านการส่งออกติดลบมากถึง 15% สูงที่สุดในรอบ 20 ปี ส่วนการลงทุนวูบ ปัญหามาบตาพุด ฉุดประเทศชาติสูญเสียกว่า 6 แสนล้านบาท
ในปี 52 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปนี้ นับได้ว่าเป็นปีแห่งวิบากกรรมของการค้า การลงทุนของไทยปีหนึ่งที่เดียว ไล่มาจากต้นปี วิกฤติการเงินโลกได้โหมกระหน่ำเข้าใส่ธุรกิจไทยต่อเนื่องจากปลายปี 2551 ซึ่งเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่บอบช้ำอย่างหนักจากพิษการเมืองที่ยาวนานมากว่า 3 ปี ตามมาในช่วงต้นเดือนสิงหาคมก็เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ไปทั่วโลก ทำให้การเดินทางค้าขายระหว่างประเทศประสบภาวะชะงักงัน ที่สำคัญช่วงปลายปีได้เกิดระเบิดลูกใหญ่เมื่อศาลปกครองกลางได้สั่งระงับโครงการลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงกับเศรษฐกิจไทยมีมูลค่าเกือบ 6 แสนล้านบาท รวมทั้งความเชื่อมั่นของต่างชาติก็ดิ่งเหว
เศรษฐกิจไทยปีวัวติดลบ 3%
โดยข้อมูลวิเคราะห์ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังพบว่า สถานการต่างๆที่กล่าวมาขั้นต้น ทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะถดถอยอยู่ในระดับร้อยละ -3.0 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ -0.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 8.8 ของ GDP เนื่องจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม รวมทั้งสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรงในช่วงต้นไตรมาสที่สาม และผลกระทบสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเดือนเมษายน 2552 โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนหดตัวร้อยละ 1.2 ขณะที่การนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ 22.8 เนื่องจากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวล่าช้ากว่าที่ประมาณการไว้เดิม ส่งผลให้ในปี 2552 ดุลการค้าคาดว่าจะเกินดุล 21.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการคาดว่าจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 22.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 8.8 ของ GDP ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามการปรับประมาณการการส่งออก
จีดีพีอุตสาหกรรมร่วง - 5.8%
ในขณะที่ GDP ภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้งปี 2552 นั้น ศูนย์พยากรเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากการส่งออกของประเทศที่ปรับตัวลดลงในระดับสูงโดยตลอดในปีนี้ ภาคอุตสาหกรรมของไทยที่มีการพึงพาการส่งออกในระดับสูง จึงส่งผลให้ความต้องการสินค้าของไทยในตลาดโลกลดลงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย และส่งผลกระทบมายังภาคอุตสาหกรรมในที่สุด
ส่วนภาคอุตสาหกรรมที่มีทิศทางการปรับตัวของค่าดัชนีในด้านต่าง ๆ ในระดับที่ค่อนข้างดี และแย่นั้น ในที่นี้จะพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้กำลังการผลิตภายในอุตสาหกรรม และการส่งออกในอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมในปี 2552 ถือได้ว่ามีการปรับตัวในภาพรวมในทิศทางที่ไม่ดีนักอันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลก และภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง
อย่างไรก็ตามภาวะอุตสาหกรรมในภาพรวม และในหลาย ๆ อุตสาหกรรมเริ่มมีการส่งสัญญาณของการฟื้นตัวเพิ่มมากขึ้น แม้จะยังคงมีการขยายตัวในทิศทางที่เป็นลบอยู่ โดยอุตสาหกรรมที่ยังคงมีแนวโน้มดีในปี 2552 ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมี อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง และอุตสหากรรมผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ซึ่งแม้หลายอุตสาหกรรมจะมีค่าดัชนีอุตสาหกรรม (MPI) และการใช้กำลังการผลิตในระดับที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่การปรับตัวลดลงอยู่ในระดับที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2552 อย่างชัดเจน
"สิ่งทอ-เครื่องดื่ม -
ยาง-หนังเฟอร์นิเจอร์"ทรุดหนัก
ส่วนอุตสาหกรรมที่ต้องเฝ้าระวังในช่วงปี 2552ประกอบด้วยอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทออุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องหนังอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมเครื่องเรือน ที่ค่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และการใช้กำลังการผลิตมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี
สำหรับอุตสาหกรรมอาหารที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทยสูงสุดนั้น ในปี 2552 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 4.5 โดยการผลิตอุตสาหกรรมอาหารได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อสินค้าทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลกที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ หลายอุตสาหกรรมประสบปัญหาอื่นเข้ามารุมเร้านอกเหนือจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทำให้ผลผลิตหดตัวรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปลาหมึก ปัญหาที่เกิดจากนโยบายของรัฐเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตรวมทั้งมาตรการควบคุมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ ประกอบกับผู้บริโภคกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลทำให้การผลิตเบียร์หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง
โดยการส่งออกอาหารของไทยในปี 2552 มีมูลค่า 737,000 ล้านบาท คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 5.2 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่หดตัวลงตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การส่งออกในปีนี้ที่หดตัวลงถือว่าไม่ได้ย่ำแย่นัก แม้มูลค่าส่งออกจะปรับตัวลดลงแต่ผู้ผลิตเองก็ได้รับประโยชน์จากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าที่เป็นต้นทุนการผลิตต่างๆ เช่นกัน ทำให้ตลอดปีที่ผ่านมาโดยรวมแล้วรายได้จากการส่งออกในภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทยที่หดตัวลงจึงถูกชดเชยด้วยต้นทุนการผลิตที่ลดต่ำลง กำไรที่ผู้ประกอบการได้รับจึงเพิ่มสูงขึ้น
เอสเอ็มอีรายได้วูบ 1 แสนล.
ด้านอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก หรือ SMEs นั้น ในปี 2552 จะมีมูลค่าตลาดที่วัดจากรายได้สุทธิลดลงจาก 6.31 ล้านล้านบาทในปี 2551 เป็น 6.21 ล้านล้านบาท หรือหดตัวประมาณ 1 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.67 จากปี 2551 ทั้งนี้การส่งออกมีมูลค่าลดลงจาก 1.68 ล้านล้านบาท เป็น 1.59 ล้านล้านบาท โดยมีอัตราการหดตัวร้อยละ 6.53 นอกจากนี้ กำไรสุทธิ ของ SMEs จากการประกอบการมีทิศทางเดียวกับรายได้สุทธิ มูลค่าการส่งออกและจำนวนการจ้างงานข้างต้น โดยมูลค่าของกำไรสุทธิได้ปรับตัวลดลงจาก 0.26 ล้านล้านบาท เป็น 0.25 ล้านล้านบาท ปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 3.92 จากปี 2551
ทั้งนี้ จากการปรับตัวลดลงของกำไรสุทธิในปี 2552 ตลอดจนผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ข้างต้นได้ส่งผลต่อดัชนี ผลตอบแทนจากการดำเนินงาน ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภาพทุน และความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนจากการดำเนินงานปรับตัวลดลงร้อยละ 2.42 หรือจากผลตอบแทนฯร้อยละ 4.12ในปี 2551 เป็น ร้อยละ 4.02 ในปี 2552 ผลิตภาพแรงงานปรับตัวลดลงร้อยละ 6.03 หรือจากผลิตภาพแรงงานที่ 83,192 บาท/คน/ปี ในปี 2551 เป็น 78,176 บาท/คน/ปี ในปี 2552 ส่วนผลิตภาพทุน ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.55 หรือจากผลิตภาพทุนที่ 0.22 เท่า ในปี 2551 เป็น 0.21 เท่า ในปี 2552 ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.08 หรือจากความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยที่ 2.76 เท่า ในปี 2551 เป็น 2.73 เท่า ในปี 2552 ตามลำดับ
อัตราการหดตัวของจำนวนวิสาหกิจได้ส่งผลจำนวนการจ้างงานในปี 2552 ที่คาดว่าจะลดลงจาก 9.04 ล้านคน เป็น 8.94 ล้านคน หรือประมาณ 1 แสนคน หดตัวประมาณร้อยละ 1.10 จากปี 2551 โดยสาขาที่สำคัญอันได้แก่ สาขาเครื่องอิเล็คทรอนิกส์ เครื่องจักรกล ยานยนต์ฯ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือเฉพาะด้าน สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม หนังและผลิตภัณฑ์หนัง เฟอร์นิเจอร์ แก้วและเซรามิกส์ คาดว่าจะมีอัตราการลดจำนวนแรงงานระหว่างร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 2
ปัญหามาบตาพุดซ้ำ
สูญกว่า 6 แสนล.
ขณะเดียวกันในปี 2552 ถือเป็นปีแห่งความสูญเสียในเรื่องของการลงทุน จากกรณีศาลปกครองกลางสั่งระงับ 65 โครงการในเขตมาบตาพุด ซึ่งจากการประเมินคาดว่าจะมีผลกระทบมูลค่าประมาณ 6 แสนกว่าล้านบาท โดยเป็นผลกระทบทางตรงประมาณ 2.5-2.6 แสนล้านบาท ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่นเรือบรรทุกสินค้าขึ้นท่าไม่ได้ ไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ ประมาณ 4 แสนล้านบาท นอกจากนั้น ยังส่งผลกระทบต่อด้านแรงงานอีกประมาณ 23,000 คน ซึ่งผลจากระเบิดลูกนี้ได้ทำให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติหยุดชะงักการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจนของกฎหมายไทยว่าจะออกมาในรูปแบบใด รวมทั้งภาวะทางการเมืองที่ยังคงมีความคุกรุ่น ทำให้คาดว่าปี 2552 การลงทุนภายในประเทศจะปรับตัวลดลงร้อยละ 10.5
ส่งออก-15%ต่ำสุดในรอบ20ปี
สำหรับตัวเลขการส่งออกในปี 2552 นั้น คาดว่า จะหดตัว -12.0 ถึง -15.0% ซึ่งมากที่สุดนับจากปี 2532 ที่ -37% ส่วนการนำเข้าในปีนี้หดตัว -24.0 ถึง -28.0% ส่วนการส่งออกในไตรมาส 4/52 อาจขยายตัวมากกว่า 7.5% ซึ่งการปรับคาดการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากการส่งออกและการนำเข้าฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้การฟื้นตัวของการส่งออกที่มีอัตราเร่งที่เร็วกว่าการนำเข้า จะทำให้ดุลการค้าของไทยในปี 2552 เกินดุลสูงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในระดับที่เกินกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ และอาจมีแนวโน้มที่จะเกินดุลต่อเนื่องในปี 2553 จากปัจจัยภายในประเทศที่ไทยมีการเกินดุลการค้ามูลค่าสูง
|
|
 |
|
|