Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
เดอะมอลล์กรุ๊ป24 ธันวาคม 2552
เพาเวอร์มอลล์ เสริมทัพไอที เพิ่มความถี่ สร้างยอดขาย             
 


   
www resources

โฮมเพจ The Mall Group (เดอะมอลล์กรุ๊ป)

   
search resources

เดอะมอลล์กรุ๊ป
Computer
Shopping Centers and Department store
The Mall




เพาเวอร์มอลล์ เดินเกมเอ็ดดูเคต อัปเกรดไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค ทุ่มงบ 50 ล้านบาท ผุดงานบางกอก อิเล็กโทรนิก้า ครั้งที่ 11 อวดเทรนด์ตลาดโลก สร้างภาพลักษณ์ผู้นำเทคโนโลยี พร้อมปรับโฉมสาขา เพิ่มไลน์อัพสินค้าไอที ดึงดูดคอเทคโนโลยี เพิ่มความถี่ในการซื้อ

การแข่งขันในสมรภูมิตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่ากว่า 77,000 ล้านบาท มิได้มีเพียงการแข่งขันเพียงแค่ซัปพลายเออร์หรือผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ต่างๆ เท่านั้น หากยังมีการแข่งขันของบรรดาร้านค้าและช่องทางจำหน่ายต่างๆที่ต้องห้ำหั่นด้วยแคมเปญการตลาด การทำโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าร้านกันอย่างดุเดือด โดยเฉพาะดิสเคานต์สโตร์ที่นอกจากห้ำหั่นด้วยสงครามราคาแล้ว ยังใช้กลยุทธ์ทุกรูปแบบที่จะสู้กับตลาดทุกเซกเมนต์ตั้งแต่ตลาดล่างยันตลาดบน โดยมีการยกระดับภาพลักษณ์ให้มีสินค้าไฮเอนด์มากขึ้น ตลอดจนการทำซีอาร์เอ็มผ่านบัตรสมาชิกที่แต่ละค่ายต่างงัดออกมาสร้างลอยัลตี้กับผู้บริโภค

ทว่ายังคงใช้ราคาและโปรโมชั่นเป็นตัวผลักดันยอดขาย ซึ่งหลายฝ่ายต่างก็มองว่าการใช้กลยุทธ์ด้านราคาไม่ใช่แนวทางการแข่งขันที่ดี เนื่องจากการลดราคามี 2 ปัจจัยคือ การสร้าง Economy of Scale เพื่อให้เกิดปริมาณขายที่มากพอซึ่งช่วยชดเชยกำไรต่อหน่วยที่ลดลงจากการตัดราคาสินค้า และการลดต้นทุนเพื่อทำราคาให้ถูกลงจนสามารถแข่งราคากับคู่แข่งได้ แต่ทว่าความสามารถในการบริหารต้นทุนเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ไม่สามารถลดต่อได้อีก หากดิสเคานต์สโตร์ต้องการขายสินค้าราคาถูกโดยการบีบซัปพลายเออร์ เมื่อถึงจุดหนึ่งซัปพลายเออร์ก็แบกรับภาระไม่ไหว

ปัจจุบันซัปพลายเออร์หลายรายหันมาเน้นสินค้าไฮเอนด์มากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจมากนัก เพียงแต่ว่ายังไม่มีสินค้าที่จะมาตอบสนองความต้องการได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี แม้ดิสเคานต์สโตร์จะเพิ่มสินค้าไฮเอนด์แต่ก็ไม่ใช่สัดส่วนที่มากมาย เนื่องจากอัตราการหมุนเวียนของสินค้าไฮเอนด์ต่ำกว่าสินค้าแมส ดังนั้น ดิสเคานต์สโตร์จึงยังคงโฟกัสสินค้าราคาถูกที่ขายคล่อง ขณะเดียวกันก็มีสินค้าไฮเอนด์บางรุ่นเพื่อพูดได้ว่าตัวเองไม่ได้ทำแต่สงครามราคา จึงยังเป็นช่องว่างให้สเปเชียลตี้สโตร์อย่างเพาเวอร์บาย และเพาเวอร์มอลล์ มีความแตกต่างในเรื่องของสินค้าและบริการที่เหนือกว่าดิสเคานต์สโตร์

เพาเวอร์บาย ดูจะมีความได้เปรียบเหนือเพาเวอร์มอลล์เนื่องจากมีจำนวนสาขาที่มากถึง 70 กว่าสาขา ในขณะที่เพาเวอร์มอลล์มีสาขาเพียง 8 แห่งในเดอะมอลล์, เอ็มโพเรียม และพารากอน ซึ่งที่ผ่านมาเพาเวอร์มอลล์ไม่เคยมีแผนที่จะขยายสาขาออกนอกห้างเดอะมอลล์ เนื่องจากมองความเป็นศูนย์การค้าที่มีแผนกต่างๆเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดให้ผู้บริโภคเดินทางมาใช้ชีวิตในห้างสรรพสินค้ามากขึ้น

นอกจากนี้เพาเวอร์มอลล์ยังพยายามสร้างความแตกต่างเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ โดยให้ความสำคัญกับตลาด Mid to High มากกว่าตลาดแมส ซึ่งที่ผ่านมาการจัดกิจกรรมการตลาดของเพาเวอร์มอลล์ก็พยายามสร้างภาพลักษณ์ดังกล่าวให้เกิดขึ้น ด้วยการจัดงานแฟร์เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆมาโชว์มากกว่าจะเน้นการทำโปรโมชั่นเพื่อลดราคาเพียงอย่างเดียว ก่อนหน้านี้เพาเวอร์มอลล์มีการจัดงาน Power Mall Big Beat Big Screen เพื่อยกระดับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคให้หันมาใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นโดยเฉพาะทีวีจอใหญ่ เป็นการขยายฐานลูกค้ากลุ่มพรีเมียมมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าที่มีมูลค่าสูง โดยอาศัยการเอ็ดดูเคตให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้าเหล่านั้นอย่างดีเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ และเป็นการอัปเกรดไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลไปถึงสินค้าต่อพ่วงอื่นๆที่จะช่วยสร้างยอดขายแบบโซลูชั่นให้กับเพาเวอร์มอลล์ ที่จะช่วยเพิ่มยอดขาย ชดเชยจำนวนสาขาที่มีน้อยกว่าคู่แข่ง

ล่าสุดทุ่มงบ 50 ล้านบาท จัดงาน บางกอก อิเล็กโทรนิก้า ครั้งที่ 11 ตั้งเป้ามีผู้ร่วมงานไม่ต่ำกว่า 100,000 คน และจะสามารถปิดยอดขายได้ที่ 400 ล้านบาท เพิ่มจากการจัดงานครั้งก่อนที่ทำได้ 380 ล้านบาท พร้อมสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ด้วยการอิงกระแสตลาดโลกที่เริ่มให้ความสนใจในการรับชมภาพในระบบ 3 มิติ DLNA การเชื่อมต่อแบบไร้สาย และการสื่อสารบนโลก 3G โดยมีการนำสินค้าต้นแบบมาโชว์ในงาน เช่น แอลซีดีทีวี 3 มิติ กล้องถ่ายรูป 3 มิติ โน้ตบุ๊ก เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ในการเป็นผู้นำเทคโนโลยี

นอกจากนี้ เพาเวอร์มอลล์มีการโฟกัสมาที่สินค้าไอที โดยมีการปรับพื้นที่ในแผนกเพื่อรองรับสินค้าไอทีมากขึ้น เพื่อสร้างการเติบโตของยอดขายเนื่องจากสามารถหมุนเวียนสินค้าได้รวดเร็วเนื่องจากการพัฒนาดีไซน์และโมเดลใหม่ๆที่อิงกระแสแฟชั่นทำให้ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนสินค้าเร็วขึ้น ไลฟ์ไซเคิลของสินค้าสั้นลงจึงต้องเข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด เพราะหากสินค้าตกรุ่น ราคาก็จะตกตาม ทำให้สูญเสียกำไร

'ถึงแม้เราจะมีสาขาที่น้อยกว่าแต่เราก็สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ เพราะเราอยู่ในศูนย์การค้าที่ผู้บริโภคให้ความเชื่อมั่น เรามีฐานข้อมูลลูกค้าจากบัตรเอ็มการ์ดกว่า 1.2 ล้านคน ซึ่งกว่า 80% มีการใช้จ่ายในเพาเวอร์มอลล์สม่ำเสมอ และเราเองก็มีการพัฒนาสาขาไปสู่การเป็นสเปเชียลลิสต์ แอนด์ เอนเตอร์เทน สโตร์ โดยมีบริการก่อนและหลังการขาย การให้คำแนะนำแก่ลูกค้า ตลอดจนการจัดดิสเพลย์ให้ผู้บริโภคได้สัมผัสความบันเทิงก่อนตัดสินใจซื้อ โดยเราจะมีการดำเนินกลยุทธ์ทั้ง อีเวนต์ มาร์เกตติ้ง, ซีซันนัล มาร์เกตติ้ง และสปอร์ต มาร์เกตติ้ง เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายของลูกค้า' จักรกฤษณ์ กีรติโชคชัยกุล ผู้อำนวยการใหญ่สายบริหารสินค้า เพาเวอร์มอลล์ เดอะมอลล์ กรุ๊ป กล่าว

นอกจากการจัดกิจกรรมการตลาดเพื่อกระตุ้นดีมานด์ในตลาดพรีเมียมแล้ว เพาเวอร์มอลล์ยังมีการปรับโฉมสาขาใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ Entertainment Store เพื่อสร้างประสบการณ์ความบันเทิงและให้ผู้บริโภคได้สัมผัสเทคโนโลยีก่อนตัดสินใจซื้อ โดยมีพนักงานให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย

รูปโฉมใหม่ของเพาเวอร์มอลล์ยังคงเป็นแบบ Shop in Shop โดยจะเพิ่มการตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อให้แต่ละแบรนด์สามารถสร้างโซลูชั่นให้ผู้บริโภคได้เห็นลูกเล่นของสินค้าแบรนด์นั้นๆ อย่างเต็มที่ แต่หากแบรนด์ใดมีผลิตภัณฑ์ไม่ครบโซลูชั่น เพาเวอร์มอลล์ก็จะทำหน้าที่เป็น Match Maker เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดให้แต่ละแบรนด์มีความเป็นโซลูชั่นมากขึ้น โดยในปีนี้มีการปรับสาขา ดิ เอ็มโพเรียม งามวงศ์วาน บางแค และบางกะปิ ส่วนในปีหน้าจะมีการปรับปรุงสาขาสยามพารากอน ท่าพระ และโคราช โดยสาขาโคราชจะเป็นการปรับปรุงใหญ่ มีการเพิ่มพื้นที่ขายจาก 2 พันตารางเมตร เพิ่มเป็น 3 พันตารางเมตร เพื่อให้เป็นแม่เหล็กหนึ่งในการดึงดูดผู้บริโภคมาที่เดอะมอลล์ สาขาโคราช หลังจากที่ก่อนหน้านี้ค่ายเซ็นทรัลปูพรมศูนย์การค้าดักลูกค้าทั้งที่ขอนแก่น และอุดรธานี

เพาเวอร์มอลล์ตั้งเป้าว่าจะสามารถปิดยอดขายได้ 7,700 ล้านบาทในปีนี้ เติบโตขึ้น 5% โดยสัดส่วนรายได้หลักมาจากกลุ่มภาพและเสียง 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ พอๆ กับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นกลุ่มไอที โทรศัพท์มือถือ และกล้องถ่ายรูป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us