Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 ธันวาคม 2552
ดีเดย์ 1 ม.ค. ส.มีเดีย เก็บ Pitching Fee ดัดหลังลูกค้าจอมเลือก ขยันเรียกพิช             
 


   
search resources

Advertising and Public Relations
สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย




ในแวววงโฆษณา การแข่งขันนำเสนอแผนงานเพื่อช่วงชิงงานโฆษณา หรือ Pitching ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นมายาวนาน หากมีลูกค้ารายใหญ่ งบโฆษณาก้อนโต แต่ยังไม่มีความมั่นใจที่จะเลือกให้เอเยนซีใดเอเยนซีหนึ่งรับผิดชอบงาน ก็จะใช้วิธีการเรียกหลายเอเยนซีเข้ามาเสนอแผนงานแข่งขันกัน

แต่ในช่วงเวลาหลายปีมานี้ ลูกค้าเจ้าของแบรนด์เริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียก Pitching ไป ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ยอดขายที่ไม่เป็นไปตามเป้าต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้เม็ดเงินเพื่อลงทุนในการโฆษณาลดลง วางแผนงานสั้นลง แต่กลับมีความคาดหวังสูงขึ้น ส่งผลให้การทำโฆษณาแต่ละครั้งต้องเลือกแล้วเลือกอีก เรียกเอเยนซีโฆษณาหลายแห่งเข้ามาแข่งเสนอแผนงานบ่อยขึ้น ทั้งที่มีงบน้อยลง กลายเป็นภาระการลงทุนที่หนักหนาของเอเยนซีไป โดยเฉพาะเหล่ามีเดียเอเยนซี ผู้ทำหน้าที่ในการวางแผนสื่อ

ในอดีตที่มีเดียเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของบริษัทโฆษณา การวางแผนสื่อแทบไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายนัก เพราะสื่อหลักที่เจ้าของสินค้าต้องการก็มีเพียงช่วงเวลาไพร์มไทม์ ละครหลังข่าว ช่อง 7 และพื้นที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฝ่ายมีเดียของเอเยนซีใดมีศักยภาพในการหาพื้นที่ของ 2 สื่อนี้มาได้มาก หรืออยู่ในตำแหน่งที่ดีก็จะได้งานมาได้ไม่ยาก แต่วันนี้มีเดีย แยกตัวออกมาจากบริษัทโฆษณา เป็นมีเดียเอเยนซี ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคก็มีการแตกตัวออกจากการเป็นแมสที่บริโภค 2 สื่อหลัก กระจายออกไปบริโภคสื่อหลากหลายเป็นกลุ่มย่อยมีเดียเอเยนซีที่เคยนั่งรอผลสำรวจเรตติ้งเพื่อนำไปประกอบการวางแผนสื่อให้กับลูกค้า ต้องเปลี่ยนมาเป็นการลงทุนเพื่อการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคให้เห็นถึงการใช้ชีวิตในแง่มุมต่างๆ ก่อนมาวางแผนการใช้สื่อเพื่อหาทางนำแบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดที่สุด

ดังนั้น การเสนอแผนงานสื่อในแต่ละครั้งจึงต้องใช้การลงทุนที่หนักหนาเอาการ ไตรลุจน์ นวะมะรัตน อุปนายก ฝ่ายวิชาชีพ สมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย เผยว่า เคยมีการลงทุนกันถึง 4-5 แสนบาท เพื่อ Pitching งานวางแผนสื่อจากลูกค้า ซึ่งบางครั้งหากไม่ได้งาน ก็เท่ากับเงินจำนวนนั้นต้องสูญไป

เมื่อการลงทุนเพื่อ Pitching สูงขึ้น ประกอบกับการเรียก Pitching จากลูกค้าก็มีบ่อยครั้งขึ้น เป็นที่มาให้สมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย ต้องออกข้อบังคับว่าด้วยการแข่งขันเสนองานวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา เพื่อใช้บังคับกับบริษัทมีเดียเอเยนซีที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ ซึ่งมีอยู่ราว 80% ของมีเดียเอเยนซีที่เปิดให้บริการในประเทศไทย ให้สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการแข่งขันจากลูกค้าได้ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

“ปัจจุบันเจ้าของสินค้าจำนวนมาก จะเรียกให้มีเดียเอเยนซีหลายๆ แห่งเข้าร่วมเสนอแผนงานวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา หรือ Media Pitching ซึ่งในที่สุดก็จะเลือกใช้บริการจากมีเดียเอเยนซีเพียงแห่งเดียว หรือบางครั้งก็ไม่มีเลือกบริษัทใดเลย ทำให้บรรดามีเดียเอเยนซีจำนวนมากต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายนำการเสนองานเหล่านี้บ่อยครั้งเกินความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยต่างๆ ตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ในขณะที่ค่าตอบแทนของมีเดียเอเยนซีก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ทำให้มีเดียเอเยนซีหลายแห่งต้องประสบปัญหาผลประกอบการตกต่ำ จนถึงขึ้นขาดทุน” ไพจิตร เทียนทอง นายกสมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย กล่าว

โดยรายละเอียดของข้อบังคับว่าด้วยการแข่งขันเสนองานวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการแข่งขันจากลูกค้า ประกอบด้วย การคิดค่าธรรมเนียม(Pitching Fee) จากบริษัทเจ้าของสินค้าที่เรียกให้มีเดียเอเยนซีเสนองานเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งมีเดียเอเยนซี ไม่ว่าจะเป็นการเสนอแผนงานวางแผนสื่อโฆษณา หรือการวางแผนซื้อสื่อโฆษณา หรือทั้ง 2 กรณีรวมกัน โดยสมาคมมีเดียเอเยนซีฯ จะเป็นตัวกลางในการรับเงินค่าธรรมเนียมนี้ก่อนวันเสนองาน และเมื่อบริษัทเจ้าของสินค้าทำการคัดเลือกมีเดียเอเยนซีมใด ก็จะได้รับคืนเงินค่าธรรมเนียมของมีเดียเอเยนซีนั้น ส่วนมีเดียเอเยนซีอื่นที่ไม่ได้รับการคัดเลือกก็จะได้รับค่าธรรมเนียมที่สมาคมมีเดียเอเยนซีเก็บจากลูกค้า จำนวน 80% หรือ 80,000 บาท ส่วนสมาคมฯจะหักไว้ 20% หรือ 20,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ

ขั้นตอนการเก็บค่าธรรมเนียม Pitching Fee เริ่มขึ้นเมื่อบริษัทเจ้าของสินค้ามีการเรียกให้มีเดียเอเยนซีเข้า Pitching มีเดียเอเยนซีที่จะเข้าร่วม Pitching จะต้องแจ้งให้บริษัทเจ้าของสินค้าทราบว่า ต้องมีการจ่าย Pitching Fee ก่อนจะแจ้งให้ทางสมาคมมีเดียเอเยนซีทราบว่า ต้องการเข้า Pitching ซึ่งทางสมาคมมีเดียเอเยนซีจะเข้าไปตรวจสอบรายละเอียด เช็คเงื่อนไขการ Pitching รวมถึงเช็คจำนวนเอเยนซีที่ตกลงเข้าร่วม Pitching จากนั้นสมาคมมีเดียเอเยนซีจะแจ้งให้บริษัทเจ้าของสินค้าที่มีการเรียก Pitching ทราบ พร้อมส่งแบบฟอร์มเพื่อให้อนุมัติในการดำเนินการตามขั้นตอนของสมาคมมีเดียเอเยนซี เมื่อได้รับการอนุมัติ สมาคมมีเดียเอเยนซีจะแจ้งให้กับทุกมีเดียเอเยนซีที่เสนอตัวร่วม Pitching ได้รับทราบว่า มีการอนุมัติให้ Pitching ตามข้อบังคับของสมาคม

อย่างไรก็ตามข้อตกลงนี้มีการยกเว้นให้กับการ Pitching ใน 3 กรณีที่ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม Pitching Fee คือ 1)ลูกค้าที่เป็นภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน แต่ยังไม่มีการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เช่น ทีโอที, แคท ฯลฯ 2)ลูกค้าที่มีการใช้มีเดียเอเยนซีหลายแห่ง และได้เรียกให้เอเยนซีเหล่านั้นมา Pitching กันในสินค้าตัวใหม่ และ 3) มีเดียเอเยนซีที่เป็นเครือข่ายต่างประเทศ ได้รับคำสั่งจากบริษัทแม่ให้ทำการ Pitching สินค้าตามนโยบายทั่วโลก

นายกสมาคมมีเดียเอเยนซีกล่าวว่า การดำเนินการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมมาตรฐานในการเสนองาน และลดปริมาณการแข่งขันที่มากเกินความจำเป็น ทำให้มีเดียเอเยนซีต้องลงทุนสูง โดยเฉลี่ยในแต่ละปีทุกเอเยนซีจะถูกเรียก Pitching อย่างน้อยเดือนละครั้ง ซึ่งในปีนี้มีการ Pitching ถึง 15 ครั้ง โดยกว่าครึ่งเป็นการเรียกที่ไม่สมควร เชื่อมั่นว่าหลังการประกาศใช้ข้อบังคับนี้ การเรียก Pitching จะลดน้อยลง และลูกค้าจะปรับเปลี่ยนเป็นเพียงการขอเรียกดูผลงานของมีเดียเอเยนซีหรือ Credential Presentation เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกแทน ซึ่งจะไม่มีค่าใช้จ่าย โดยขณะนี้ได้แจ้งให้มีเดียเอเยนซีแจ้งให้ลูกค้าของตนทราบ และทางสมาคมมีเดียเอเยนซีก็จะมีการนัดหมายกับสมาคมการตลาดเพื่อแจ้งถึงการใช้ข้อบังคับนี้ คาดว่าจะสามารถพูดคุยกันได้ในช่วงต้นปีหน้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us